ความรู้สัมมาชีพชุมชน

โครงการปลูกผักไร้ดิน

โดย : นางลักษณ์ อิต๊ะเชียว วันที่ : 2017-02-23-13:24:17

ที่อยู่ : 38 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาแต่โบราณ การปลูกพืชในสมัยก่อนจะใช้วิธีการปลูกพืชในดิน ซึ่งการปลูกพืชในดินก็เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ แต่ก็พบปัญหามากเช่นกัน ซึ่งได้แก่

            1.ปัญหาสภาพอากาศ เช่น ในฤดูแล้ง พื้นดินจะแห้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้เป็นอุปสรรคในการเพาะปลูก เพราะการปลูกพืชวิธีนี้ใช้ดินเป็นองค์ประกอบหลัก

            2.ความเสี่ยงในผลผลิต สมัยก่อนการเพาะปลูกนั้นจะทำเพื่อบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือก็นำไปแลกเปลี่ยนกับเครื่องอุปโภค บริโภคแทนการใช้เงินซื้อ การเพาะปลูกระบบนี้จึงเป็นการเพาะปลูกแบบพอเพียง จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช แต่ปัจจุบันจุดประสงค์ของการปลูกเปลี่ยนมาเป็นเพื่อการค้า และใช้ระบบการปลูกแบบขยายวงกว้างซึ่งมีความยากลำบากในการป้องกันปัญหาจากศัตรูพืช ดังนั้นจึงมีการนำยาฆ่าแมลงเข้ามาใช้ เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีความสวยงาม และเมื่อนำออกสู่ตลาดจะขายได้ราคาดี แต่การทำเช่นนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปเป็นเวลานาน สารพิษเหล่านี้ก็จะสะสมและตกค้างอยูในร่างกาย

            3.ข้อจำกัดของสถานที่ ขึ้นชื่อว่าการปลูกพืชในดินก็จะต้องปลูกในสถานที่ที่เป็นดิน ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด เช่น แฟลต หรือ อาคารชุด ไม่สามารถเพาะปลูกได้

            จากปัญหาข้างต้นนี้ทำให้มีผู้นำวิธีการปลูกพืชแบบใหม่เข้ามาใช้เพื่อลดปัญหาข้างต้น ซึ่งวิธีการที่ว่านี้ก็คือ “การปลูกพืชแบบไร้ดิน (Soilless Culture)”

 

ปัจจุบัน การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มีเทคนิคที่คิดค้นใหม่ๆหลากหลายรูปแบบ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการปลูกพืชในน้ำ (water culture) เท่านั้น   บางกรณีมีการใช้วัสดุปลูก (substrate)  ทดแทนดินทั้งหมดและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืช ซึ่งเรามักเรียกว่า ซับส์เทรต คัลเจอร์ (substrate culture)หรือมีเดีย คัลเจอร์ (media culture) หรือแอกกรีเกตไฮโดรโปนิกส์ (aggregate hydroponics)  เทคนิคดังกล่าวนิยมเรียกว่า การปลูกโดยไม่ใช้ดิน หรือ การปลูกพืชไร้ดิน (soilless culture)  ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเทคนิคการปลูกพืชในน้ำก็ดี  หรือ  การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์รูปแบบอื่นๆ ก็ดี   บางครั้งก็อาจเรียกรวมๆ ว่า soilless culture แทนคำว่า hydroponics ก็ได้ 

วัตถุประสงค์ ->

 1. เพื่อเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับสารปลูกพืชไร้ดิน

            2. เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำการเกษตร เช่น การไม่มีพื้นที่ทำกิน ความแห้งสภาพดินไม่สมบูรณ์

            3. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรหันมาลดการใช้สารเคมี และยาปราบศัตรูพืช ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ

            4.เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 1. เมล็ดผัก

2.น้ำ

3.ปุ๋ย

อุปกรณ์ ->

 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำรางปลูกมีดังนี้

1    อลูมิเนี่ยมกลมขนาด 1 นิ้วยาว 75 ซม.                                  12   ท่อน
2    อลูมิเนี่ยมกลมขนาด 1 นิ้วยาว 60 ซม.                                  16    ท่อน
3    อลูมิเนี่ยมกลมขนาด 1 นิ้วยาว 100 ซม.                                 4     ท่อน
4    อลูมิเนี่ยมกลมขนาด 1 นิ้วยาว 120 ซม.                                 1     ท่อน
5    สี่ทาง PVC ขนาด 1 นิ้ว                                                         8     ตัว
6    สามทาง PVC ขนาด 1 นิ้ว                                                    12    ตัว
7    ข้องอฉาก PVC ขนาด 1 นิ้ว                                                   2     ตัว
8    ท่อเหลืองขนาด 3 หุน ยาว 240 ซม.                                     4     ท่อน
9    ท่อเหลืองขนาด 3 หุน ยาว 400 ซม.                                     3     ท่อน
10  ท่อเหลืองขนาด 3 หุน ยาว 100 ซม.                                     2     ท่อน
11  ข้องอฉาก PVC ขนาด 3 หุน                                                 2     ตัว
12  ข้อต่อตรง PVC ขนาด 3 หุน                                                 8     ตัว
13  ท่อ PVC ขนาด 4 หุน (สีฟ้า)                                                1     เส้น
14  ต่อตรงหางไหล PVC ขนาด 4 หุน                                        1    ตัว
15  ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว (สีฟ้า) ยาว 60 ซม.                             3    ท่อน
16  หัวอุด PVC ขนาด 2 นิ้ว                                                        2    อัน
17  แคมป์จับท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว                                              2    ตัว
18  สามทาง PVC ขนาด 2 นิ้ว                                                    1    อัน
19  PE ขนาดหนา 0.25 มม. กว้าง 150 ซม. ยาว 400 ซม.         1    แผ่น
20  มุ้งตาข่ายขาวไนล่อนขนาด 100 ตาราง/นิ้ว 1.5x4 ม.             1    ผืน
21  มุ้งตาข่ายขาวไนล่อนขนาด 100 ตาราง/นิ้ว 2.5x4 ม.             1    ผืน
22  คลิปดำขนาด 4 หุน                                                                8   ตัว
23  ท่อไมโครยาว 30 ซม.                                                            8   เส้น
24  รางน้ำไก่ไข่ขนาด 2 นิ้ว ยาว 3.6 ม.                                       16   ราง
25  หัวปิดรางน้ำไก่ขนาด 2 นิ้ว                                                     8   อัน
26  หัวปิดรางน้ำไก่ + สะดือน้ำขนาด 2 นิ้ว                                   8   อัน
27  สายยางขนาด 4 หุน ยาว 2 ม.                                                1   เส้น
28  เข็มขัดรัดสายขนาด 4 หุน                                                      2    อัน
29  ปั๊มน้ำตู้ปลา YAMANO ขนาด 32W H-MAX 2 M 2000L/H  1   ตัว
30  ถังสี่เหลี่ยม ขนาด 60 ลิตร (40 x 55 x 30 ซม.)                     1    ถัง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วันที 1- 3 --- เพาะเมล็ดผัก อยู่ในถาดเพาะ (เลี้ยงน้ำเปล่า) ควรนำผ้าเปียก คลุมถ้วยปลูก ไม่ให้โดนแสง

 

--- วันที่ 4 - 12 --- เปิดผ้าคลุมออก ผักสลัดเริ่มมีใบเลี้ยง นำถาดเพาะ มาวางรับแสงแดด (ระวังอย่าให้โดนฝน ) หลังจากใบเลี้ยง 2 ใบ ผักสลัดจะมี ใบจริงค่อยๆ งอก ออกมาอีก 2 ใบครับ (ยังคงเลี้ยงน้ำเปล่า)

 

--- วันที่ 13 - 19 --- นำผักสลัด ที่มี 4 ใบ (ใบเลี้ยง 2 ใบจริง 2) ลงแปลงปลูกและเริ่มเลี้ยงด้วยปุ๋ยได้ แล้วนะครับ ช่วงเวลานี้ คอยสังเกต น้ำในถังปุ๋ย โดยปกติจะเติมน้ำเปล่า ลงไป (ช่วงนี้ส่วนใหญ่น้ำจะหายไปอย่างเดียว ปุ๋ยไม่ค่อยหายไปเท่าไหร่ เนื่องจาก ผักยังต้นเล็กๆ อยู่) (ช่วงนี้ ที่ท้ายราง ใส่แหวนยกระดับน้ำอยู่) 

 

--- วันที่ 20- 26--- ผักสลัดเริ่ม มีใบใหญ่ขึ้น และราก ก็จะยาวขึ้น จนสังเกตได้ชัด ถ้าน้ำในถังปุ๋ยลดลง ตอนนี้ต้อง เติมปุ๋ยผสมน้ำ ในสัดส่วน ปุ๋ยอย่างละ 3 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร 

 

--- วันที่ 27- 39 --- รากของผักสลัดเริ่มเยอะ มาก จน ระดับน้ำในรางสูงขึ้น ตอนนี้ นำแหวนยกระดับน้ำออก เพื่อให้ระดับน้ำ ต่ำลง ช่วงนี้เป็นช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของการลงรางปลูก จะต้องดูแลเรื่องน้ำในกล่องปุ๋ยเป็นพิเศษ เพราะระดับน้ำ ในกล่องปุ๋ย จะลดไปค่อนข้างเยอะ มากกว่าช่วง 2 สัปดาห์แรก

 

--- วันที่ 40- 42 --- พอเข้าวันที่ 40 (นับตั้งแต่เพาะเมล็ด) ถึงเวลาที่จะต้องเลี้ยงผักสลัดด้วยน้ำเปล่าแล้ว วิธีการก็คือ นำถ่ายน้ำปุ๋ย ในกล่องปุ๋ย และในรางออกให้หมด อาจจะนำไปรดต้นไม้ นะครับ

จาก นั้นนำ น้ำประปาค้างคืน ใส่ไปแทนในกล่องปุ๋ย โดยระดับน้ำ ให้เท่ากับระดับปุ๋ยปกติ จากนั้นให้เลี้ยงผักสลัดด้วยน้ำเปล่า 3 วัน เพื่อให้ผักสลัดได้ใช้ สารเคมี ในต้นให้หมดไปก่อนนำมารับประทาน  เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง 

ข้อพึงระวัง ->

ระดับน้ำกับปริมาณของปุ๋ย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา