ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงสุกรขุน

โดย : นายก๋วน คำปัน วันที่ : 2017-02-23-12:58:50

ที่อยู่ :

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

1.1 เนื้อสุกรเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป สามารถจำหน่ายได้ทั้งตลาดในชุมชนท้องถิ่น และตลาดในเมืองใหญ่

1.2 เกษตรกรสามารถเลี้ยงได้ทั้งฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดใหญ่ เนื่องจากการเลี้ยงใช้พื้นที่น้อยเลี้ยงง่าย

1.3การเลี้ยงสุกรขุนจะลงทุนน้อยกว่าการเลี้ยงสุกรแบบอื่น ๆ แต่ให้ผลตอบแทนเร็วกว่า

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน รวมถึงเป็นแหล่งอาหารให้ครัวเรือนได้ด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1 พันธุ์สุกร

                สุกรที่จะนำมาขุน โดยทั่วไปจะนิยมใช้ผสมสองสายพันธุ์ สามสายพันธุ์ หรือสี่สายพันธุ์ ซึ่งจะมีลักษณะการให้ผลผลิต เช่น การเจริญเติบโต และความแข็งแรง ดีกว่าการให้ผลผลิตจากพ่อและแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิด พันธุ์ที่ใช้ในการผสมข้ามมีหลายพันธุ์ อาทิ พันธุ์ลาร์จไวน์ พันธุ์แลนด์เรช และพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เป็นต้น

                2 โรงเรือนและอุปกรณ์

                โรงเรือนที่เลี้ยงสุกรควรตั้งอยู่ในที่ดอน น้ำไม่ท่วม ระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมชน ตลาดและผู้เลี้ยงสุกรรายอื่น โรงเรือนเลี้ยงสุกรต้อสามารถป้องกันแดด ฝน และลม โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนวัสดุที่ใช้มุงหลังคา ขึ้นอยู่กับงบการลงทุน เช่นกระเบื้อง อลูมิเนียม สังกะสี แฝกและจาก เป็นต้น พื้นคอกควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด ขนาดคอก 4 x 35 เมตร จะสามารถเลี้ยงสุกรขุน ขนาด 60 – 100 กิโลกรัม ประมาณ 8 – 10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนขึ้นอยู่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยง

อุปกรณ์ ->

2 โรงเรือนและอุปกรณ์

                โรงเรือนที่เลี้ยงสุกรควรตั้งอยู่ในที่ดอน น้ำไม่ท่วม ระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมชน ตลาดและผู้เลี้ยงสุกรรายอื่น โรงเรือนเลี้ยงสุกรต้อสามารถป้องกันแดด ฝน และลม โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนวัสดุที่ใช้มุงหลังคา ขึ้นอยู่กับงบการลงทุน เช่นกระเบื้อง อลูมิเนียม สังกะสี แฝกและจาก เป็นต้น พื้นคอกควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด ขนาดคอก 4 x 35 เมตร จะสามารถเลี้ยงสุกรขุน ขนาด 60 – 100 กิโลกรัม ประมาณ 8 – 10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนขึ้นอยู่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

อาหารและการให้อาหาร

สุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดียว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อมากได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวม อาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร จึงต้องมีโภชนาการที่ครบถ้วน อาหารสำหรับสุกรขุนส่วนใหญ่จะนมยมใช้อาหารสำเร็จรูป หรือเกษตรกรบางรายอาจผสมอาหารใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยใช้หัวอาหารผสมรวมกับรำและปลายข้าว หรือวัสดุอื่น ๆ ตามสัดส่วนที่กำหนด ส่วนการให้อาหารสุกรแต่ละระยะนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กับความต้องกรโภชนะของสุกรในแต่ละช่วงอายุ

    การจัดการเลี้ยงดู

ควรเริ่มเลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ระยะหย่านมที่น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม โดยใขช้อาหาร โปรตีน 18 เปอร์เซ็นต์ ให้สุกรกินเต็มที่ประมาณวันละ 1 – 2 กิโลกรัม จากนั้นเมื่อสุกรขุนมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม จะเปลี่ยนอาหารโดยใช้อาหารโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์แทน ให้สุกรกินอาหารวันละ 2.5 – 3.5 กิโลกรัม จนถึงระยะส่งตลาด เมื่อลูกสุกรมีน้ำหนัก ประมาณ 100 กิโลกรัม ซึ่งตลอดระยะเวลาการเลี้ยง จะต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดทั้งวัน

    การสุขาภิบาล

ควรทำความสะอาดพื้นคอกสุกรเป็นประจำ เพื่อลดความหมักหมมของเชื้อโรคต่าง ๆ และป้องกันกลิ่นจากมูลสุกรไปรบกวนเพื่อนบ้านอีกด้วย สุกรทุกตัวต้องมีการถ่ายพยาธิ และจัดทำวัคซีนตามโปรแกรมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

ข้อพึงระวัง ->

     เงื่อนไขความสำเร็จ

2.1           เกษตรกรต้องมีเงินทุนสำรอง เพื่อไว้ใช้ในการเลี้ยงโดยเฉพาะค่าอาหารสุกรอย่างเพียงพอ

2.2           สถานที่สร้างโรงเรือนต้องอยู่ห่างไกลชุมชน และไม่ก่อให้เกิดปัญหากับสภาพแวดล้อม

2.3           ต้องอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาถูก หรือมีแหล่งวัตถุเหลือใช้จากครัวเรือน หรือระบบไร่นาเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรอย่างเพียงพอ

2.4           ต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับตลาดจำหน่ายสุกร ทั้งตลาดสุกรมีชีวิต และตลาดเนื้อสุกรชำแหละ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา