ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ภูมิปัญญาด้านการจักสานโครงงอบ

โดย : นายสมาน เปลี่ยนนิยม วันที่ : 2017-06-02-13:45:12

ที่อยู่ : 26/3 หมู่ที่ 4 ตำบลโพธิ์สามต้น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อำเภอบางปะหัน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ถือเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องการทำงอบที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ที่มีอายุยาวนานถึงกว่า 100 ปี  มีหลายตำบลประกอบด้วยตำบลโพธิ์สามต้น  ตำบลบางเดื่อ ตำบลบางนางร้าฯ  ซึ่งความชำนาญในแต่ละชิ้นส่วนต่างกัน  ทำให้นายสมาน  เปลี่ยนนิยม   จึงมีแรงบันดาลใจและมองเห็นว่าการทำโครงงอบสามารถที่จะสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบ และยังริเริ่มให้มีการรวมกลุ่มการทำโครงงอบขึ้น  โดยเริ่มจากในครอบครัวสู่การชักชวนญาติพี่น้องและคนรอบข้างที่เล็งเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม ซึ่งปัจจุบัน มีสมาชิก รวม  10  คน และจากการที่นายสมหวัง  จันทร์หอมไกร เป็นแกนหลักสนับสนุนให้สมาชิกรวมกลุ่มกัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ OTOP  อำเภอบางปะหัน  ผนวกกับการที่ได้ไปศึกษาดูงาน  เช่น   การเพิ่มมูลค่าของสินค้า   การเข้ารับการฝึกอบรมด้านการส่งเสริมการตลาด   การประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ/จังหวัดฯ  อุตสาหกรรม  พาณิชย์  จึงทำให้เกิดการสั่งสมประสบการณ์  สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านการทำโครงงอบ  ตลอดจนการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี 

วัตถุประสงค์ ->

     1  เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้สมาชิกในชุมชน

     2  เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้รวมตัวกันทำกิจกรรมเพิ่มความสามัคคี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

     1  ไม้ไผ่

     2  รอง หรือพิมฑ์

อุปกรณ์ ->

มีด  รอง  และวัสดุตกแต่งสำเร็จ     

กระบวนการ/ขั้นตอน->

               1 จักตอกข้าง ข้างละ 2 เส้น จักเป็น 6 ขา ขาละ 6 เส้นงอบ 1 ใบใช้ 36 เส้น

               2 นำไพรหัวละ 4 วง 4 เส้น ใส่ไล่ตั้งแต่วงเล็กไปหาวงใหญ่

               3 ไพรใหญ่เป็นซีกนำมาทำเป็นวง

               4 ใช้ตอก 6 ขา 6 เส้น นำมาขัด หรือสานให้เป็นหกเหลี่ยมเรียกว่าเก็บหัว สาน 1 รอบและใส่ไพรเล็กรอบที่ 2 ใส่ไพรใหญ่รองลงมา รอบที่ 3 ใส่ไพรใหญ่ขึ้น รอบที่ 4 ใส่ตอกตะแคง

               5. ใส่หัวงอบลงไปในแบบโดยการหงายหัวขึ้น

               6. สานด้วยตอกสาน 10 ตา ตาแต่ละตาจะเป็นหกเหลี่ยม ลูกหนึ่งมี 10-14 ตา สานตามแบบพิมพ์(รอง)จนเสร็จ

                7. ใส่ตอกทึบ 4 เส้น แล้วม้วนริมโดยการสานตอกหักโค้งลง

ข้อพึงระวัง ->

                 การเลือกไม้ไผ่มาจักสานตอก  ควรเลือกไม้ไผ่ที่แก่จัด  เพราะไม้ไผ่ที่แก่จัดนั้นมอดมักจะไม่กิน  เหตุที่มอดชอบกินไม้ไผ่ที่ไม่แก่จัด เพราะไม้ไผ่บางชนิดมีธาตุน้ำตาลมากนั่นเอง  ถ้าหากจะนำมาจักตอกต้องรอให้ไม้แก่จัดเสียก่อน เพราะไม้ไผ่ที่แก่จัดธาตุน้ำตาลแปรสภาพจะแปรสภาพเป็นเนื้อไม้ไผ่  และบำรุงตัวเอง  เมื่อไม่มีธาตุน้ำตาลมอดก็ไม่กิน  แต่อย่างไรก็ดีถ้าไม้ไผ่แก่จัดมากก็เหลาตอกยากเพราะแข็งเกินไป,  เลือกไม้ไผ่ที่มีอายุประมาณ   1  ปี  หรือ  1  ปีครึ่ง, เลือกไม้ไผ่ที่ข้อปล้องของมันว่าแก่อ่อนแค่ไหน  (ถ้าจำอายุไม่ได้)  คือ  ถ้าไม้ไผ่แก่จัดดีแล้ว  คราบที่ข้อปล้องจะค่อยๆ  เรียบเกือบเท่าลำต้นจึงเหมาะกับการจักสานส่วนไม้ไผ่อ่อนที่ไม่เหมาะกับการจักสานข้อปล้องจะสูงกว่าลำต้นมาก

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา