ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

โดย : นางอำภา หนักทอง วันที่ : 2017-04-02-22:26:28

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 3/1 หมู่ที่ 7 ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94110 หมายเลขโทรศัพท์ 084-8590324

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากครอบครัวของข้าพเจ้าประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำนา ทำสวนทุเรียน จึงประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชอยู่เสมอ เมื่อสำนักงานเกษตรอำเภอสายบุรีจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเพาะเชื้อราไตรโครเดอร์มาจึงมาความสนใจในการทำ เนื่องจากเชื้อราไตรโคเดอร์มามีต้นทุนในการผลิตต่ำ สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาโรคพืชได้หลายอย่าง และยังเป็นเชื้อราที่มาจากธรรมชาติ ปราศจากสารตกค้าง ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ ->

1)  เพื่อใช้เชื้อราที่มาจากธรรมชาติแก้ปัญหาโรคพืช ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม

2) ลดการใช้สารเคมี

3) ลดต้นทุนในการผลิต

4) สร้างอาชีพและรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) ข้าวสาร

2) น้ำ

3) หัวเชื้อราไตรโครเดอร์มา

อุปกรณ์ ->

1) หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

2) แก้วน้ำหรือถ้วยตวง

3) ทัพพีตักข้าว

4) ยางวง

5) เข็มหมุด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) ใส่ข้าวสาร 3 แก้ว ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า เติมน้ำสะอาด 2 แก้ว แล้วกดสวิทซ์

2) เมื่อข้าวสุกตักข้าวสุกในขณะที่ข้าวยังร้อนใส่ถุงพลาสติก ปริมาณ 250 กรัมต่อถุง รีดอากาศออกจากถุง ลัวพับปากถุงลงด้านล่าง ปล่อยทิ้งไว้ให้ข้าวอุ่น เกือบเย็น

3) เมื่อข้าวเกือบเย็นแล้ให้หยดหัวเชื้อไตรโคเดอร์มาลงบนข้าวในถุง แล้วมัดยางตรงปลายปากถุงให้แน่น

4) เขย่าหรือขยำข้าวในถุงเบาๆ เพื่อให้หัวเชื้อกระจายอย่างทั่วถึง

5) .รวบถุงให้มีลมพองบริเวณตรงปากถุงแล้วเข็มหมุดแทงรอบๆ บริเวณปากถุงที่รักยางไว้ โดยแทง 12 – 20 ครั้ง

6) กดข้าวในถุงให้แผ่กระจายทั่วถุงในลักษณะแบนราบมากที่สุด

7) วางถุงข้าวในบริเวณที่ได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติหรือหลอดไฟที่ใช้ในบ้าน และอย่าให้ถูกแสงแดด

8) เมื่อบ่มครบ 2 วัน ขยำข้าวในถุงเบาๆทให้ข้าวเกิดการคลุกเคล้าอีกครั้ง เพื่อช่วยให้เส้นใยกระจายตัว กดข้าวให้แผ่แบนราบเช่นเดิม แล้วดึงกลางถุงให้โป่งขึ้น

9) บ่มเชื้อต่ออีก 4-5 วันจะเห็นเชื้อสีเขียวปกคลุมเมล็ดข้าวสามารถนำไปใช้ได้ทันที หรือหากใช้ไม่หยดสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ไม่เกิน 15 วัน

ข้อพึงระวัง ->

1)  เมื่อครบกำหนด 6-7 วันของการบ่มเชื้อ โดยปกติจะเห็นสปอร์สีเขียวเข้ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาขึ้นปกคลุมข้าวในถุงอย่างหนาแน่นจนอาจมองไม่เห็นสีขาวของข้าว แต่ถ้าเกิดความผิดพลาด เช่น ขยำเชื้อไม่กระจายทั่วทั้งถุง หรือเจาะรู้ให้อากาศเข้าถุงน้อยไปอาจพบว่าข้าวบริเวณก้นถุงยังคงเป็นสีขาว ให้แก้ไขโดยการใช้เข็มเจาะรูปลายปากถุงเพิ่มแล้วบ่มเชื้อต่ออีก 2-3 วัน

2) ควรหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเท่านั้น เพราะการหุงด้วยหม้อหุงข้าวที่ใช้แก๊ส หรือการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำมักได้ข้าวที่แฉะเกินไป ซึ่งข้าวที่จะต้องใช้ควรหุงให้ดิบ

3) ต้องตักข้าวใส่ถุงพลาสติกขณะที่ข้าวกำลังร้อน เพื่อให้ความร้อนในถุงข้าวทำลายจุลินทรีย์จากอากาศ

4) การใช้เข็มแทงรอบปากถุง ควรแทงไม่น้อยกว่า 15 จุด เพราะถ้าอากาศไม่สามารถระบายถ่ายเทได้ดีเชื้อจะเจริญไม่ทั่วทั้งถุง

5) ป้องกันอย่าให้มด แมลง หรือสัตว์กัดแทะถุงข้าว

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปัตตานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา