ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

องค์ความรู้เฟอร์นิเจอร์บ้านทุ่งน้อย

โดย : นายมาฮาซาบูเลาะ สะแลแม วันที่ : 2017-04-03-11:06:37

ที่อยู่ : บ้านเลขที่.....70.... หมู่ที่..1...... ตำบลละหาร.......... อำเภอสายบุรี....... จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์............-............... หมายเลขโทรศัพท์.....081-092-0222

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ความคิดเกิดจากในชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ป่าไม้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งจาก การถางหัวไร่ปลายนาทำให้มีรากไม้ที่คนส่วนใหญ่คิดว่า ไม่มีประโยชน์และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติในชุมชนมาปรับใช้ และผสมผสานตกแต่งให้เกิดมูลค่า จึงได้ ปรึกษาหน่วยงานราชการเพื่อ ขอรับความรู้และฝึกอบรมเพิ่มเติม พร้อมได้ปฏิบัติเรื่อยมาและได้จัดเป็นจุดเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนและผู้สนใจที่ศึกษาดูงาน

วัตถุประสงค์ ->

1) เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ แก่เยาวชน และประชาชนในชุมชน

2) เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่เยาวชน และประชาชนในชุมชน

3) เพื่อเป็นการฝึกทักษะ อาชีพด้านช่างไม้แก่เยาวชน และประชาชนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1)  ไม้

อุปกรณ์ ->

1) เลื่อย

2) ฆ้อน              

3) สิ่ว

4) กบไสไม้

5) สว่าน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนที่ 1 จะต้องเลือกวัสดุให้ถูกกับชิ้นงาน เช่น ไม้เนื้อแข็งชนิดต่าง ๆ

ขั้นตอนที่ 2 - การไสไม้การไสไม้ ควรไสให้ได้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะทุกครั้งที่ ยกกบไสไม้ออก จะเกิดเป็น รอยต่อบนพื้นไม้เสมอ การออกแรงกด กบไสไม้ควรให้แรงมีความสม่ำเสมอกันตลอดระยะ จะทำให้พื้นที่ไสราบเรียบ

ไม่เป็นคลื่น กรณีที่ไสไม้เนื้ออ่อน และบาง ให้ไสจากปลายด้านหนึ่งไปเพียงครึ่งเดียว (ครึ่งทางของไม้ชิ้นนั้น) เมื่อเรียบด้านหนึ่งแล้ว จึงกลับไม้ไปไสอีกด้านหนึ่งไปชน กันกับที่ไสทิ้งไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้แตกตรงปลาย

ขั้นตอนที่ 3 ขึ้นรูปไม้ การเซาะร่อง

          เจาะรู วิธีการเจาะชิ้นงานตามแนวตั้งที่ลึกมาก ๆ เพื่อให้ได้รูเจาะที่ตรงไม่เอียง ไปด้านใดด้านหนึ่ง ควรจะใช้ฉากเหล็กมาทาบเพื่อช่วยเป็นแนวทางในการเจาะรู ให้ตรงตลอด ในการทาบกับฉากนั้นไม่จำเป็นต้องให้ฉากขนานกับดอกสว่านแต่ ควรสังเกตให้ตัวสว่านขนานกับฉากก็พอ การเจาะให้รูมีความลึกเท่ากันทุกรู ควรนำกระดาษกาวหรือเทปกาวปิดพันรอบดอกสว่านในระยะความลึกที่ต้องการ โดยวัดจากปลายดอกสว่านเข้ามา เวลาเจาะให้เจาะถึงแนวกระดาษกาวเท่านั้น สำหรับการเจาะวัสดุให้ทะลุทั้งไม้หรือโลหะ ควรนำเศษวัสดุที่เรียบมาวางรอง ด้านล่างที่เจาะทะลุให้สว่านเจาะผ่านออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเศษครีบจาก การเจาะ หรือ ป้องกัน ไม้ฉีกแตกไม่เรียบ

                ขัดกระดาษทราย กระดาษทรายขัด มีเบอร์ตั้งแต่ 0-5 เบอร์น้อยยิ่งมีความละเอียดมาก

ขั้นตอนที่ 4 การนำไม้ที่ขึ้นรูปเรียบร้อยแล้วมาประกอบเป็น ชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ เมื่อชิ้นส่วนแล้วนำมาประกอบตามต้องการ อาจใช้แรงงานคน หรือเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติและอาจใช้เครื่องช่วยประกอบ โดยมีเทคนิคการประกอบ ชิ้น ส่วนที่หลากหลายตั้งแต่การใช้ตะปูหรือสกรูโลหะการใช้แผ่นประกอบ การใช้ ลิ้นและเดือยไม้/โลหะ การต่อแบบเข้าลิ่มและอัดกาวชนิดพิเศษ และการต่อแบบ ผสมผสานเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ชิ้นสว่านต่าง ๆ ประกอบได้ขนาดและรูปแบบตามที่ ต้องการ มีความแข็งแรงได้ตามมาตรฐาน และมีความคงทน

ขั้นตอนที่ 5 การทำสี นำชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์มาพ่น แลคเกอร์เพื่อรองพื้น /ขัดชิ้น งานด้วยกระดาษทราย และพ่นแลคเกอร์ทับหน้าอีกครั้ง/ การลงสีต้องคำนึงด้วยว่าเฟอร์ นิเจอร์ชิ้นงานนั้นใช้ภายในหรือภายนอก

ข้อพึงระวัง ->

ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ มีอันตรายในการทำงาน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปัตตานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา