ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายต่วนยะโกะ กูเง๊าะ วันที่ : 2017-04-20-16:02:28

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 43/2 หมู่ที่ 3 ตำบลกระเสาะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94140 หมายเลขโทรศัพท์ 08-9299-7876

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

     เนื่องด้วยข้าพเจ้าประกอบอาชีพทำสวนยางพารา  และที่ผ่านตนเองได้มีการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีในการทำสวนในปริมาณที่มาก ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพตนเอง และสิ่งแวดล้อม และทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก ประกอบกับราคายางพาราตกลงอย่างมาก จึงได้หันมาเรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และวิธีการอื่นๆ ที่สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต เช่น เชื้อราไตรโคโดมา การทำปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรต่างๆ เป็นต้น  อีกทั้งหมู่บ้านของเรายังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จึงได้มีโอกาสได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และได้ปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ โดยเริ่มต้นจากการผลิตปัจจัยการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต และแบ่งปันความรู้ให้กับคนในหมู่บ้านที่สนใจได้ทดลองนำไปใช้

วัตถุประสงค์ ->

1) เพื่อลดต้นทุนการผลิต

2) เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

3) ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) มูลสัตว์แห้งละเอียด 3 ส่วน

2) แกลบดำ 1 ส่วน 

3) แกลบ ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง หรือขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน3 ส่วน

4) รำละเอียด 1 ส่วน

5) น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน หรือ EM + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 10 ส่วน คนจนละลายเข้ากันดี

อุปกรณ์ ->

1) พลั่วหรือจอบ

2) บัวรดน้ำ

3) กระสอบใส่ปุ๋ย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี

2) เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพหรือ EM ผสมกากน้ำตาล ผสมน้ำ ใส่บัวรดน้ำราดบนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นเกินไป

4) วิธีหมักทำได้ 2 วิธีคือ

                   4.1) เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์ หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจต้องเอากระสอบที่คลุมออก แล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลง นำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป

                   4.2) บรรจุปุ๋ยหมักที่คลุกเข้ากันดีแล้ว ลงในกระสอบปุ๋ยไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้หรือไม่กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ 5-7 วัน

ข้อพึงระวัง ->

     ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกันเป็นก้อน ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อนเลยแสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าเราได้ความชื้นสูงเกินไปจะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื่นที่ให้ต้องพอดีประมาณ 30% ปุ๋ยหมักชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปัตตานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา