ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนา

โดย : นางเพ็ญศรี อินโป้ วันที่ : 2017-10-11-11:24:33

ที่อยู่ : เลขท่ี 38 หมู่ท่ี 9 ตำบลสะพานหิน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

คือ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต((Way of Life)

วัตถุประสงค์ ->

คือ การลดราย จ่ายเพิ่มรายได้ สู่ความมั่นคงมั่งคั่งยังยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เม็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ย

อุปกรณ์ ->

เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา

เครื่องมือทำนาแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะคล้ายกันในแทบทุกภาค โดยจะแตกต่างกันบ้างในวัสดุที่ทำจากท้องถิ่น การตกแต่งลวดลายชื่อที่เรียกแตกต่างกัน และมีลักษณะเฉพาะที่นิยมใช้แต่ละภูมิภาค  เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องมือพื้นบ้านและเครื่องมือแบบสมัยใหม่เครื่องมือทำนาแบบพื้นบ้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการเตรียมดินคันไถ เครื่องมือที่ใช้พรวนดินก่อนการปลูกข้าว กลับหน้าดินเพื่อทำให้ดินร่วนซุย ไถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไถวัว ซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานวัวและไถควายซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานควายแอก เครื่องมือที่ใช้สำหรับสวมคอควายหรือวัวเพื่อที่จะไถ แอกมี 2 ชนิดคือ แอกวัวควายคู่ กับ แอกวัวควายเดี่ยวคราด เครื่องมือที่ใช้สำหรับคราดดินให้ร่วนซุย คราดมี 2 ชนิดคือ คราดวัวควายคู่ และ คราดวัวควายเดี่ยวก๋วยกล้า เครื่องมือที่ใช้สำหรับใส่กำกล้าหรือขนย้ายสิ่งของ มักใช้ทางภาคเหนือม้าหาบข้าว ใช้ในการเรียงต้นกล้าหรือฟ่อนข้าวในคันหลาวไม้หาบกล้า (บางถิ่นเรียกคันหลาว) ใช้สำหรับหาบต้นกล้าเพื่อนำไปปักดำตอก เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับมัดฟ่อนหรือกำกล้า มีอยู่ 2 ชนิดคือ ตอกมัดฟ่อนข้าว กับ ตอกมัดกำกล้าจอบ เครื่องมือสำหรับดายหญ้า พรวนดิน และเตรียมดิน เครื่องมือเครื่องใช้ในช่วงเก็บเกี่ยวคันไถเคียวไม้หนีบเคียว เครื่องมือเกี่ยวข้าวมีรูปโค้ง เคียวมี 2 ชนิดคือ เคียวงอ กับ เคียวลาแกระ/แกะ เครื่องมือเกี่ยวข้าวที่ใช้เก็บรวงข้าว นิยมใช้ในภาคใต้ไม้หนีบ เป็นไม้คู่หนึ่งใช้หนีบมัดรวงข้าวเพื่อยกข้าวฟาดลงบนลานหรือม้ารองนวดข้าว หัวไม้ผูกติดกันด้วยเชือกม้ารองนวดข้าว เอาไว้ใช้สำหรับรองรับฟ่อนข้าวเพื่อนวดหรือฟาดเพื่อตีเมล็ดข้าวจะได้หลุดร่วงฟอยหนาม ใช้กวาดเศษฝุ่นและเศษฟางออกจากกองข้าวเปลือกขาหมา เป็นเครื่องมือใช้หาบข้าว ประกอบด้วยตัวขาหมาทำจากไม้ไผ่เป็นรูปกากบาท 2 คู่ ขาไม้ทะลุตัวไม้ขึ้นมาทำเป็นกะบะสำหรับใส่รวงข้าวบุด้วยเสื่อรำแพนพัดวี ใช้สำหรับพัดฝุ่นผงและข้าวลีบให้ออกจากกองข้าวเปลือกเครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปข้าว ครกกระเดื่อง ใช้ตำข้าวโดยใช้ปลายเท้าเหยียบกระเดื่องให้สากกระดกขึ้นลง ครกซ้อมมือ ใช้สำหรับตำข้าวเปลือก จากข้าวเปลือกเป็นข้าวกล้อง จากข้าวกล้องเป็นข้าวสาร กระด้ง ใช้ฝัดร่อนข้าวเอาเศษผงฝุ่น แกลบ ออกจากเมล็ดข้าว ตะแกรง ใช้สำหรับร่อนแยกเศษฟางออกจากเมล็ดข้าว

เครื่องมือทำนาแบบสมัยใหม่เครื่องมือเครื่องใช้ในการเตรียมดินรถไถนา ใช้ทั้งเตรียมดินนาหว่าน นาดำ และคราดรถแทรคเตอร์ เครื่องเตรียมดิน ทำนา ทำสวน ทำไร่หรือหักร้างถางพงเครื่องปักดำ ใช้แทนการปักดำด้วยแรงงานคน เครื่องมือชนิดนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักเครื่องสูบน้ำ ใช้สูบน้ำเข้านาโดยใช้เครื่องยนต์หรือไฟฟ้าเป็นแรงหมุนมอเตอร์สูบ จากแม่น้ำ คลองชลประทานเข้ามาใช้ในนาเครื่องมือเครื่องใช้ในช่วงเก็บเกี่ยวรถเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ใช้สำหรับเกี่ยวและนวดข้าวไปพร้อมๆ กันเป็นรถแบบตีนตะขาบวิ่งได้ในนาที่มีพื้นที่เรียบเครื่องนวดข้าว ใช้เครื่องยนต์ในการนวดข้าวให้ย่อยจากรวงเป็นเมล็ดข้าวเปลือก เมื่อต้องการนวดข้าวก็เอาเครื่องยนต์จากรถไถนาเดิมมาหมุนตามเครื่องนวดและ สามารถใช้กระสอบ หรือผืนผ้าใบมารองรับเมล็ดจากเครื่องเครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปข้าวเครื่องสีข้าว ใช้สำหรับสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร ออกมาเป็นแกลบและรำ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำนาดำ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
การเตรียมดิน การเตรียมดินสำหรับการทำนา ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น น้ำ ภูมิอากาศ ลักษณะพื้นที่ ตลอดจนแบบวิธีการทำนา และเครื่องมือการเตรียมดินที่แตกต่างกัน การเตรียมดินแยกได้เป็น 2 ขั้นตอนคือ 
1.การไถดะ และไถแปร คือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้ง ตลอดจนเป็นการคลุกเคล้าฟาง วัชพืช ฯลฯ ลงไปในดิน เครื่องมือที่ใช้ อาจเป็น รถไถเดินตามจนถึง รถแทรกเตอร์

2. การคราดหรือใช้ลูกทุบ คือการกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็นเทือกพร้อมที่จะปักดำได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำต่อจากขั้นตอนที่ 1 และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดินที่เหมาะสมในการคราดหรือการใช้ลูกทุบ ในบางพื้นที่อาจมีการใช้ โรตารี

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวังในการเตรียมดิน
1. ควรปล่อยให้ดินนามีโอกาสแห้งสนิท เป็นระยะเวลานานพอสมควร และถ้าสามารถไถพลิกดินล่างขึ้นมาตากให้แห้งได้ก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าดินเปียกน้ำติดต่อกันโดยไม่มีโอกาสแห้ง จะเกิดการสะสมของสารพิษ เช่นแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) เป็นต้น ซึ่งถ้าแก๊สนี้มีปริมาณมากก็จะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวได้ 
2. ควรจะมีการปล่อยน้ำขังนาอย่างน้อย 2สัปดาห์ เพื่อให้กระบวนการหมักและสลายตัวของอินทรียวัตถุเสร็จสิ้นเสียก่อน ดินจะปรับตัวอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และจะปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นออกมาให้แก่ต้นข้าว 
3. ดินกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถัน เป็นดินที่มีสารที่จะก่อให้เกิดความเป็นกรด (pH ต่ำ) แก่ดินได้มากเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ ดินพวกนี้จึงจำเป็นต้องขังน้ำไว้ตลอด เพื่อไม่ให้สารดังกล่าวได้สัมผัสกับออกซิเจน จึงควรที่จะขังน้ำไว้อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนปักดำข้าว เพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ ตลอดจนความเป็นกรดของดินลดลงสู่สภาวะปกติ และค่อนข้างเป็นกลางเสียก่อน ดินกลุ่มนี้ถ้ามีการขังน้ำตลอดปี หรือมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ก็จะเป็นการลดสภาวะความเป็นกรดของดิน และการเกิดสารพิษลงได้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของข้าวสูงขึ้น

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา