ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานใบลาน

โดย : นางสาวบุษรา ราษดีผิว วันที่ : 2017-10-11-11:34:16

ที่อยู่ : เลขท่ี 748 หมู่ท่ี 1 ตำบลบุพราหมณ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ประวัติกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานใบลานบ้านทับลาน
ในปี 2523 ชาวบ้านจะมีการตัดใบลานไปขาย แต่นางพิณ สายแววที่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจักสานใบลานบ้านทับลานเห็นว่าใบลานจะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน มากกว่าการนำใบลานไปขายเปล่าๆ จึงได้คิดที่จะผลิตผลิตภัณฑ์จากใบลาน ยายพิณจึงได้ติดต่อหน่วยงานราชการเพื่อขอวิทยากรเข้ามาสอนทำหมวก ต่อมาจึงได้มีการปรับปรุง โดยมีการทำกระเป๋าจากใบลานอีกด้วย โดยนางพิณ สายแวว ได้ก่อตั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานบ้านใบลานขึ้นเมื่อปี พ. ศ. 2525 โดยเริ่มแรกมีสมาชิกเพียง 10 คน จากนั้นก็ใช้วิธีการถ่ายทอด โดยการสอนกันเอง หากคนในชุมชนว่างจากงานประจำ ก็สามารถมาทำได้ 
ผู้ก่อตั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์กลุ่มจักสานใบลานบ้านทับลาน
นางพิน สายแวว 
อดีตประธานกลุ่มจักสานบ้านทับลาน

วัตถุประสงค์ ->

คือ การลดราย จ่ายเพิ่มรายได้ สู่ความมั่นคงมั่งคั่งยังยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ใบลาน

ก้านลาน

ต้นลาน

 

อุปกรณ์ ->

 

1. ตลับเมตร  เครื่องมือใช้ในการวัดบ่งชี้บอกระยะหรือขนาดในการกำหนดตำแหน่ง ตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุชิ้นงาน ที่ตัวเครื่องมือวัดมีหน่วยมาตรฐานการวัดมีหน่วยเป็นนิ้ว ฟุตและหน่วยเมตริกกำกับไว้ในเครื่องมือวัดชนิดเดียวกันเพื่อสะดวกในการใช้งานตลับเมตร

2. ฉากเหล็ก  ใช้วัดขีดมุมฉาก ให้วางฉากลงบนไม้ โดยให้ขอบแนบสนิทกับผิวไม้ด้านเรียบ  แล้วจึงขีดเส้นฉากตามต้องการบนอีกด้านหนึ่งใช้ตรวจฉากของการเข้าไม้  โดยจับให้ฉากเข้ากับบริเวณที่เข้าไม้  ถ้าขนกับแนบชนิดแสดงว่า   การเข้าไม้ได้ฉากตามต้องการฉากตาย

3. ขอขีดไม้ ใช้ขีดทำแนวเพื่อการเลื่อย  ผ่า หรือทำรูเดือย ประกอบด้วยส่วนหัวและแขนยึดกันแน่นด้วยสลักหรือลิ่ม  ปลายของแขนข้างหนึ่งจะมีเข็มปลายแหลมลายสลักหรือลิ่มออกแล้ววัดระยะห่างจากปลายเข็มกับด้ามของหัวที่อยู่ทางปลายเข็มให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วล็อกให้แน่น จับขอขีดด้ามที่มีเข็มให้แนบสนิทกับไม้และกดดันไปข้างหน้าโดยให้ปลายเข็มขีดผิวไม้ตลอดเวลาขอขีดไม้

 

4. เลื่อยลันดา  เป็นเลื่อยที่มีมือจับตอนโคนของใบเลื่อย สำหรับชนิดฟันเลื่อยที่ใช้ตัด โดยเฉพาะชนิดของฟันเลื่อยที่ใช้ซอย  ทำมาจากเหล็กสปริง แผ่นบางปลายเรียว โคนใบเรื่อยใหญ่มีมือจับยึดแน่นเลื่อยลันดา

5. กบไสไม้  เครื่องมือสำคัญสำหรับช่างไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ขัดผิวไม้ให้มีผิวที่เรียบและได้รูปทรงตามต้องการ ประโยชน์ใช้สอยหลัก ๆ ของกบคือ ไสให้ผิวหรือหน้าไม้เรียบ การเรียกชื่อกบมักเรียกตามรูปร่างและลักษณะการใช้สอยกบใสไม้

6. สิ่วปากบางหรือสิ่วแต่งใช้แต่ง ขูดผิวไม้หรือปากไม้ให้เรียบสิ่วประกอบด้วยใบและด้าม ส่วนใบเป็นเหล็กกล้า แบนและบางแต่มีความคมมากใช้มือข้างหนึ่งจับด้ามสิ่ว ทำหน้าที่นำสิ่วไปข้างหน้า อีกมือหนึ่งจับตอนปากกลิ่วเพื่อบังคับทิศทางของสิ่วไม่เฉออกจากแนวที่ต้องการสิ่วปากบางหรือสิ่วแต่ง

7. สิ่วเจาะ ใช้เจาะช่องรูเดือย  ตัวสิ่วมีความหนาแต่ความกว้างและความคมน้อยกว่าสิ่วปากบางจึงต้องใช้ค้อนไม้ช่วยใช้มือข้างหนึ่งจับด้ามมืออีกข้องหนึ่งจับคอนไม้ค่อยๆตอกให้สิ่วกินเนื้อไม้ทีละน้อยจนใกล้กับความลึกที่ต้องการแล้วแต่งร่องหรือรูอีกครั้งให้เรียบร้อยสิ่วเจาะ

8. สว่านข้อเสือ  ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่น๊อต สกรู โดยประกอบกับดอกสว่านดอกสว่านมีหลายขนาดและหลายลักษณะ  ส่วนเกลียวจะมีหลายลักษณะใช้ในงานที่แตกต่างกันสอดก้านดอกสว่านลงในชัค  แล้วหมุนให้บีบดอกสว่านให้แน่นใช้มือหนึ่งจับ  แล้วจ่อดอสว่านลงบนตำแหน่งที่ต้องการแล้วจึงหมุนดอกสว่านจะกินเนื้อไม้สว่านข้อเสือ

9. สว่านเฟือง ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่น๊อตสกรูโดยประกอบกับดอกสว่าน ดอกสว่านมีหลายขนาด ดอกสว่านลงบนตำแหน่งที่ต้องการแล้วกดมือที่จับและหมุนมือดอกสว่านจะกินเนื้อไม้ตามต้องการสว่านเฟือง

 

10. ค้อนหงอน เครื่องมือสำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น สำหรับการใช้งาน เช่น การตอกตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป และการทุบทลายวัตถุ ค้อนอาจได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง  แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันคือด้ามจับและหัวค้อน ซึ่งน้ำหนักจะค่อนไปทางหัวค้อนมากกว่า แรงที่กระทบเป้าหมายจะมากเท่าใด ขึ้นอยู่กับมวลของค้อนและความเร่งของการตอกค้อนหงอน

11. เลื่อยฉลุ คือเลื่อยอกขนาดเล็ก หน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับเลื่อยอกแต่โครงเป็นโลหะใบเลื่อยเล็กใช้งานไม่ได้กว้างเท่าเลื่อยอกใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยโดยให้ฟันของเลื่อยออกด้านหน้าและคมของใบเลื่อยพุ่งลงข้างล่างหมุนปรับใบเลื่อยให้ตึง(อย่าให้ตึงหรือหย่อนเกินไปจะทำให้ขาดง่าย)ขณะเลื่อยตัดงานควรบังคับโครงใบเลื่อยให้ตรงและเคลื่อนไหวช้าเลื่อยฉลุ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ของผลิตภัณฑ์จักสานใบลานบ้านทับลาน
1.เลือกตัดยอดลานที่มียังไม่บานมาฉีกออกให้เป็นใบ
2.แล้วนำมาตากแดดประมาณ4-5 วันรอจนแห้ง
3.นำใบลานที่แห้งมาเลียดเป็นเส้นตอกมีขนาดเล็ก-ใหญ่ตามที่ต้องการ
4.นำเส้นตอกไปฟอกขาวด้วยโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ โดยจะใช้โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ ½ กิโลกรัม ต่อ ใบลาน 10 กิโลกรัม แช่ทิ้งไว้ 1 คืน
5. นำไปล้างน้ำให้สะอาดตากให้แห้ง
6. ถ้าไม่ต้องการสีธรรมชาติก็นำไปย้อมสี โดยใช้สีเคมีย้อมกก ปริมาณที่ใช้สี 1 ซอง(5 กรัม) ต่อน้ำ 80 ลิตร จากนั้นนำเส้นลานลงต้มประมาณ 2 ชั่วโมง หมั่นกลับบ่อย ๆ เพื่อให้สีสม่ำเสมอ
7. นำขึ้นล้างน้ำตากแดดให้แห้ง
8. เมื่อได้เส้นลานตามต้องการแล้ว นำไปสานเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตามรูปแบบที่ต้องการ
9. เย็บซับในกระเป๋าใส่ซิป
10. นำสายหนัง ลูกปัด หวาย หรือหูไม้ มาใส่
11. แล้วดึงรีม ตัด รีดให้เรียบ ตบแต่ง พร้อมเคลือบเงาด้วยแลคเกอร์หรือน้ำยารักษาหนัง

ข้อพึงระวัง ->

ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา