ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

โดย : นายประเสริฐ นรินทร์วงษ์ วันที่ : 2017-09-13-19:27:55

ที่อยู่ : 12/1 ม.13 ตำบลบ้านพระ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มา คือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดต้นทุนการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.รำละเอียด   2.ปุ๋ยอินทรีย์   3.ปลายข้าว ข้าวหัก หรือข้าวสาร

อุปกรณ์ ->

1.หม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ            2. แก้วน้ำ หรือถ้วยตวง    3.ทัพพีตักข้าว   4.ถุงพลาสติกใสทนร้อน ( ใหม่ ) ขนาด 8 X 12 นิ้ว

5.ยางวง    6.เข็มเย็บผ้า หรือเข็มหมุด หรือเข็มกลัด   7. หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาบริสุทธิ์ชนิดผงแห้ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.ใช้บัญชีครัวเรือนมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลตนเอง

2.เข้ารับการอบรมความรู้จากหน่วยงานต่างๆเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง

3.ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค้า โดยยึดหลักปลูกเพื่อกินเหลือแจกจ่าย และขาย

ข้อพึงระวัง ->

 1. ควรหุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติเท่านั้น เพราะการใช้หม้อหุงข้าวชนิดที่ใช้แก๊ส อาจทำให้ข้าวไหม้ หรือการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ มักได้ข้าวที่แฉะเกินไป ปลายข้าวที่หุงจนสุกด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าจะมีลักษณะเป็นไตขาวอยู่บ้าง จัดเป็นลักษณะที่ดี
     2. ต้องตักปลายข้าวที่หุงแล้วใส่ถุงพลาสติก ขณะที่ข้างกำลังร้อน เพื่อให้ความร้อนในถุงข้าวทำลายจุลินทรีย์จากอากาศที่อาจปนเปื้อนอยู่ในถุงข้าว
     3. การใช้เข็มแทงรอบบริเวณปากถุงที่รัดยางไว้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรแทงไม่น้อยกว่า 15 
จุด / ถุง เพราะถ้าอากาศไม่สามารถระบายถ่ายเทได้ดี เชื้อจะเจริญไม่ทั่วทั้งถุง ( ก้นถุงยังเห็นข้าวเป็นสีขาว )
     4. ควรบ่มเชื้อไว้ในบริเวณที่ร่มและเย็น ( 25-30 องศาเซลเซียส ) ไม่ถูกแสงแดด และให้เชื้อได้รับแสงสว่างอย่างพอเพียงอย่างน้อย 10 -12 ชั่วโมง / วัน หรือตลอด 24 ชั่วโมง แสงจะช่วยกระตุ้นการสร้าง
สปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา บริเวณที่วางเชื้อมีแสงไม่พอเพียง อาจใช้แสงไฟจากหลอดฟลูโอเรสเซนต์ 
( นีออน ) ช่วยได้

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา