ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายสมพงษ์ กิตติสุนทโรภาศ วันที่ : 2017-08-22-10:44:46

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ 1 ซอย – ถนน - ตำบลไผ่ชะเลือด อำเภอศรีมโหสภ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นํ้าหมักชีวภาพ คือ น้ำหมักที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นด้วยจุลินทรีย์จำเพาะ ซึ่งอาจหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง กระบวนการหมักของน้ำหมักชีวภาพจะเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้กากน้ำตาล และน้ำตาลจากสารอินทรีย์เป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งน้ำหมักชีวภาพนี้จะช่วยให้การทำการเกษตร หรือการทำนาในปัจจุบัน ลดการใช้สารเคมีที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังช่วยป้องกันแมลงหรือศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ได้ด้วย และช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เศษวัสดุ

2.สารเร่ง พด.2หรือ พด.6

3.น้ำ

4.กากน้ำตาล

4.

อุปกรณ์ ->

1.ถังพลาสติก

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำน้ำหมักชีวภาพนั้นจะเลือกใช้วัสดุใดในการหมัก ควรเลือกใช้วัสดุหมักที่สามารถหาได้ง่ายในครัวเรือน แปลงเกษตรของตนเองหรือหาได้ง่ายในท้องถิ่น ส่วนหัวเชื้อสามารถเลือกใช้สารเร่งพด.2 หรือ พด.6 ตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้เป็นหลัก โดยการหมักนั้นจะมีการหมักอยู่ 2 แบบ คือ

          1. การหมักแบบต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์ การหมักชนิดนี้จะเกิดน้อยใน กระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ และมักเกิดในช่วงแรกของการหมัก แต่เมื่อออกซิเจนในน้ำ และอากาศหมด     จุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจนจะลดน้อยลง และหมดไปจนเหลือเฉพาะการหมักจากจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน

          2. การหมักแบบไม่ต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์ การหมักชนิดนี้จะเกิดเป็นส่วนใหญ่ในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ส่วนพวกเมอเคปเทนและก๊าซซัลไฟด์ปล่อยออกมาเล็กน้อย

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา