ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสาน (หวด)

โดย : นายสุรสิทธิ์ บับภาแก้ว วันที่ : 2017-10-11-15:12:45

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 92 หมู่ที่ 1 ตำบลสะพานหิน อำเภอนาดี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อาชีพหลักมีอาชีพเกษตรกรรม  และเวลาว่างหลังจากการทำการเกษตรก็จะมีเวลาว่าง และมีไม้ไผ่จำนวนมากจึงหัดจักสานต่างๆ เช่น หวด ตระกร้าว กระด้ง เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

คือ การลดราย จ่ายเพิ่มรายได้ สู่ความมั่นคงมั่งคั่งยังยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ไผ่

อุปกรณ์ ->

1.ไม้ไผ่ 2.มีด 3.เลื่อย 4.เชือกในล่อน 5.เข็ม 6.เครื่องขูดเส้นตอก 7.ผ้าขี้ริ้ว
ประโยชน์ ใช้ในการนึ่งข้าว นึ่งปู นึ่งปลา นึ่งเห็ด นึ่งถั่ว เป็นต้น
เวลาในการทำ - 1 วันทำได้ 2-3 ใบ
การขาย ขนาดใหญ่ขนาดเล็กจำหน่ายเท่ากันหมด ใบละ 60 บาท

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.เริ่มจากการตัดไม้ไผ่ โดยเลือกไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ใช้เลื่อยตัดให้เป็นปล้องๆ ความยาวของไม้ไผ่ขึ้นอยู่กับขนาดของหวด ถ้าหวดเล็กจะใช้ไม้ไผ่ขนาด 25 นิ้ว หวดขนาดกลางจะใช้ไม้ไผ่ 30 นิ้ว หวดขนาดใหญ่จะใช้ไม้ไผ่ขนาด 35 นิ้ว เป็นต้น
2.การเหลาตอกคือ การเหลาซีกไม้ไผ่เพื่อลบความคมของซีกไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลางออก และเหลาหัวท้ายของไม้ให้เรียวลง
3.การจักตอก คือ การนำเอาไม้ไผ่ที่เลือกไว้นำมาผ่าออกเป็นซีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ปล้องหนึ่งผ่าออกเป็นซีกแล้วจะได้ประมาณ 14-17 ซีก ซีกหนึ่งจะได้เส้นตอกประมาณ 8-10 เส้น การจักตอกสานหวดควรหาไม่ไผ่ที่ค่อนข้างอ่อนไม่แก่จนเกินไป
4.การก่อหวดใช้ตอกที่เตรียมไว้ สานก่อรวมกันกับตอกธรรมดา วางในแนวตั้ง 4 เส้น แนวนอน 8 เส้น สานขัดเป็นลาย 3 โดนเริ่มจากจุดกึ่งกลาง สานไปข้างจุดกึ่ง สานไปข้างละ 13 ขัด รอบ ก่อก้นหวด นำหวดที่ก่อแล้วมาหักมุมที่จุดกึ่งกลางแล้ว สานลาย 3 ไปรอบๆหวดจนหมดเส้นตอกทั้ง 2ข้าง การสานหวด ถ้าสานความสูงของหวดยังไม่ได้ขนาด ก็สามารถใช้เส้นตอกเพิ่มความสูงได้แล้วสานเพิ่มเข้าไปอีกทั้ง 2 ข้าง
5.การไพหวด เมื่อความสูงได้ตามความต้องการแล้ว จะใช้ตอกไพมาสานขัดหวดเป็น 3 ลาย โดยใช้ตอกไพ 3 เส้น สานลายขัดไล่กันไปให้เรียบร้อย ตัดเส้นตอกที่ยาวเกินไปทิ้ง เพื่อเตรียมม้วนในขั้นตอนสุดท้าย
6.การม้วนปากหวด เริ่มจากด้านล่างของหวด ใช้นิ้วหักม้วนไปตามลาย ม้วนต่อไปเรื่อยๆ จนถึงกึ่งกลางและเหน็บเส้นตอก 2-3 เส้น รอบๆ ปากของหวด
7.การสานที่รองข้าวเหนียว นำตอกที่เตรียมไว้มาสานด้วยลายสองให้ได้แผ่นสี่เหลี่ยม ความยาวตามขนาดของหวดนึ่งข้าวโดยใช้ภาชนะกลมๆเส้นผ่าศูนย์กลางแล้วแต่ขนาดของหวดมาวางทาบลงแล้วใช้สีขีดตามขอบภาชนะแล้วนำมาตัดตามรอยเป็นรูปวงกลมใช้ผ้ายืดสีขาวที่ตัดเป็นผ้าเฉลียงนำมาต่อกันยาวๆมาหุ้มตามริมฝาแตะที่ตัดเป็นวงกลมเย็บให้ติดกันจนรอบถ้าไม่เย็บมือจะใช้จักรเย็บก็ได้ เสร็จแล้วก็จะได้หวดที่สมบูรณ์ทนทานแข็งแรงพร้อมเอาไว้ใช้งานได้

ข้อพึงระวัง ->

ระวังมีดจะบาดมือ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา