ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรผสมผสาน

โดย : นางสาวนงค์สิน เศษฐนันต์ วันที่ : 2017-10-11-15:27:51

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 8 ตำบลสะพานหิน อำเภอนาดี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ก่อนที่จะทำแปลงเกษตรผสมผสาน  มีอาชีพเลี้ยงสุกรอย่างเดียว เมื่อเลี้ยงสุกรจำนวนมากก็มีมูลเป็นจำนวนมากทำให้หันมาปลูกพืช เช่น มะนาว กล้วย ผลไม้ต่างๆ ทำให้มีผลผลิตไว้กินและจำหน่าย ทำให้มีรายได้เพิ่มมากกขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้

คือ การลดราย จ่ายเพิ่มรายได้ สู่ความมั่นคงมั่งคั่งยังยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ต้นกล้าพันธุ์ไม้ต่างๆ

อุปกรณ์ ->

เครื่องมือใช้กับงานดิน  เครื่องมือประเภทนี้ใช้สำหรับการทำงานเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับงานดินต่าง ๆ เช่น การเตรียมพื้นที่ การปรับปรุงดิน การผสมดิน เช่น

1.1  ช้อนปลูก    

  

  

 

การ ใช้  

ใช้สำหรับขุดย้ายต้นกล้าไปปลูก  ขุดหลุมปลูก หรือใช้ขุดและตักต้นกล้า เพื่อนำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้การใช้ช้อนปลูกจะช่วยให้ต้นกล้าไม่ได้รับความกระทบกระเทือน

ความ ปลอดภัยในการใช้

  ช้อนปลูกตอนปลายมีลักษณะแหลมและค่อนข้างคม ถ้าผู้ใช้ ไม่ระมัดระวังอาจเกิดอันตรายได้

การ ทำความสะอาดและเก็บรักษา

 ภาย หลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด  เช็ดให้แห้ง  ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

  

1.2  ส้อมพรวน

 

การใช้    

 ใช้สำหรับพรวนดินรอบ ๆ ต้นพืช  ไม่ควรใช้พรวนในดิน  แข็ง  เพราะจะหักและงอง่าย

ความปลอดภัยในการใช้

ไม่ควรเล่นกันในขณะทำงาน  เพราะ    ส้อมพรวนมีความแหลมคม อาจจะได้รับอันตรายจากการใช้ได้  ถ้าผู้ใช้ขาด     ความระมัดระวัง

การทำความสะอาดและเก็บรักษา

        ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง  ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 

1.3 คราด

 

การใช้
        ใช้สำหรับย่อยดินและเก็บเศษหญ้า  แต่งแปลงปลูก  การ จับคราดใช้มือทั้งสองจับด้ามคราดให้ห่างกันพอสมควร แล้วถึงเข้าหาตัว
ความปลอดภัยในการใช้
        ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าคราดอยู่ในสภาพที่      ใช้ได้หรือไม่  ขณะใช้ควรระมัดระวังไม่ให้ด้ามคราดไปถูกคนใกล้เคียง
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
        หลังจากใช้แล้วล้างทำความสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง  ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
 

1.4  เสียม

 

 

การใช้
        ใช้สำหรับขุดหลุมปลูกต้นไม้  ส่วนมากนิยมใช้ขุดหลุมขนาด    เล็กลึก  หรือใช้ในบริเวณแคบไม่เหมาะกับการใช้จอบ  เวลาขุด   ใช้มือทั้งสองข้างจับด้ามเสียมให้มือยู่ห่างกันพอสมควร  แล้วกด    ปลายเสียมลงไปในดิน

ความปลอดภัยในการใช้
        ก่อนใช้ควรตรวจสภาพของเสียมเสียก่อน  ขณะปฏิบัติงานให้   ระมัดระวังไม่ให้ด้ามเสียมไปโดนคนข้างเคียงที่ยืนอยู่ได้
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
        ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด  เช็ดให้แห้ง  ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

1.5  จอบ

 

การใช
        ใช้สำหรับขุดดิน  ถากหญ้าขุดแปลง หรือใช้สำหรับขุดหลุม ใหญ่ ๆ  กรณีที่ใช้เสียมอาจจะทำให้ล่าช้าหรือไม่สามารถจะใช้   เสียมขุดได้เพราะดินแข็งเกินไป (จอบจะใช้งานค่อนข้างหนัก  โดยเฉพาะจอบขุด)
ความปลอดภัยในการใช
        ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าจอบเข้าด้ามแน่นหนาหรือไม่  ขณะที่ ใช้จอบต้องระวังเพื่อนที่อยู่ข้างเคียงและเท้าของผู้ใช้ด้วย
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
        หลังจากใช้แล้วล้างทำความสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง   ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
 

2. เครื่องมือใช้ในการให้น้ำ เครื่องมือประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการดูแลรักษาพืช เช่น การให้น้ำพืช การให้ปุ๋ยบางชนิด การให้สารเคมีรวมทั้งการให้ฮอร์โมนบางชนิดแก่พืช

2.1 บัวรดน้ำ

 

การใช้
        ใช้สำหรับรดน้ำพืช  น้ำที่ออกจากฝักบัวจะเป็นฝอยกระจายทั่วต้นพืช    ทำให้พืชได้รับน้ำอย่างทั่วถึง  และส่วนต่าง ๆ ของพืชไม่หักง่าย  การใช้     บัว รดน้ำ  ถ้าไม่ระมัดระวังจะเสียหายง่ายที่ส่วนคอของ     ฝักบัวจึงควรจับที่หูหิ้วหรือที่มือจับเท่านั้น
ความปลอดภัยในการใช้
        ก่อนใช้ควรตรวจดูสภาพของบัวรดน้ำตรงที่มือจับหรือหูหิ้วเสียก่อน    ถ้าชำรุดควรซ่อมให้เรียบร้อยก่อนนำไปใช้  และขณะที่ใช้ต้องจับถือให้  แน่นเพื่อไม่ให้ตกลงเท้า 
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
        ภายหลังการใช้แล้ว  ควรล้างทำความสะอาดถังตัวถังและฝักบัว      อย่าให้เศษหญ้าหรืออย่างอื่นอุดตัน  แล้วคว่ำเก็บเข้าที่

2.2  ถังน้ำ

 

 

 

การใช้
        ใช้สำหรับตักน้ำจากบ่อหรือสระใส่บัวรดน้ำ หรือใช้สำหรับรด   ต้นไม้  โดยใช้มือวักน้ำก็ได้ ถ้าไม่มีบัว
ความปลอดภัยในการใช้
        ก่อนใช้ควรสำรวจดูตรงหูหิ้วและเชือก(ถ้าต้องหาบ)  เมื่อเห็น ว่าไม่ปลอดภัยควรซ่อมแซมก่อนนำไปใช้  และขณะที่ใช้ต้องจับหรือหิ้วให้แน่น  เพื่อไม่ให้ตกลงเท้า
การทำความสะอาดและเก็บรักษา
        ภายหลังการใช้ควรทำความสะอาดเช็ดให้แห้ง  เก็บคว่ำ เข้าที่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-เตรียมพื้นที่ที่จะดำเนินการ/ตรวจสภาพดิน

          - เตรียมพันธุ์พืช/สัตว์ที่จะดำเนินการ

          - ปลูกพืชต่างๆทำโรงเรือนและเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด

          - ค่อยดูแลสม่ำเสมอ และค่อเอาใจใส่

         -ใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอน

ข้อพึงระวัง ->

วัชพืช/โรคระบาด เพลีย แมลงวันทอง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา