ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรกรรม ปลูกพืช มะละกอ นาข้าว มันสำปะหลัง

โดย : นางวิลัย น้อยเสน วันที่ : 2017-08-15-09:59:16

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 208 หมู่ 9 ตำบล หัวหว้า อำเภอ ศรีมหาโพธิ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

        เนื่องจากพื้นที่หมู่9 ตำบลหัวหว้า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมทำไร่ ทำสวน และพืชส่วนใหญ่คือ ไร่มันสำปะหลังเป็นส่วนใหญ่พื้นที่ภายในหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ราบสูงส่วนใหญ่ และที่ราบลุ่มเล็กน้อย เหมาะแก่การทำไร่ และทำนา มีสภาพดินฟ้า อากาศ 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูฝน ฤดูร้อน พื้นที่บริเวณรอบบ้านเป็นถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง และลูกรัง มีน้ำจากการทำการเกษตรจากการขุดบ่อคูคลอง จึงมีความคิดริเริ่มในการปลูกมะละกอพันธุ์แขกดำ กินดิบหรือสุขก็อร่อย มีลักษณะเด่นคือต้นเตี้ย ติดดอกติดผลเร็ว ให้ผลดกมีความบริสุทธิ์  ของสายพันธุ์สูงโดยดำเนินการปลูกมะละกอจำนวน 10 ไร่   

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเพิ่มรายได้ และลดความเสี่ยงกับราคาผลผลิตตกตำ่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำ

2.ปุ๋ยคอก

3.ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15

4.ปุ๋ยฟอสเฟส

5.ถุงเพาะ

6.ผ้าขาวห่อเมล็ดพันธุ์

อุปกรณ์ ->

1.จอบ

2.เสียม

3.ถังน้ำ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

        1.ดำเนินการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากต้นที่มีความสมบูรณ์แข็งให้ผลดก 

        2.นำเมล็ดพันธุ์ที่คัดเลือก แล้วแช่ในน้ำอุ่น 1 คืน

        3.นำมาห่อด้วยผ้าขาวบ้านเพื่อให้เกิดความชื้นใส่ในที่ปิดมิดชิดแล้วตากแดดรอจนกว่ารากจะงอก

        4.เตรียมดินโดยใช้ดินร่วนผสมดินเหนียวคลุกให้เข้ากันเตรียมใส่ในถุงเพาะการเตรียมแปลงปลูก ไถพรวนย่อย   

           ดินให้ร่วน ปลูกระยะห่าง 2x2 เมตร หรือ 2x2.5 เมตร ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาว และลึก ด้านละ 50  

           เซนติเมตร นำดินบนผสมกับปุ๋ยคอกแห้ง 5-10 กิโลกรัม ใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต 150-200 กรัม ต่อหลุม และ

           ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ในอัตรา 20 กรัม ต่อหลุม แล้วนำต้นกล้าลงปลูก หลุมละ 2-3 ต้น เมื่อต้นมะละกอ

           แสดงเพศแล้วได้ถอนแยกให้เหลือต้นกะเทยไว้ 1 ต้น ต่อหลุม

       ๕.นำเมล็ดหยอด 5-6 เมล็ดต่อถุง

       6.ต้นจะเริ่มงอก หลักจาก 45 วันนำลงแปลงได้

ข้อพึงระวัง ->

1. ระวังเรื่องโรคของพืช โรคจากไวรัส ไวรัสที่ก่อโรคในมะละกอมีหลายชนิด เช่น ไวรัสในสกุล Potyvirius,    

           PotexvirusและBegomovirus (จากวงศ์ Geminiviridae) แต่ไวรัสที่มีการแพร่ระบาดกว้างขวางทั่วโลก 

           รวมทั้งประเทศไทย และก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าไวรัสชนิดอื่น คือ ไวรัส PRSV (papaya ringspot    

           virus) ในสกุล potyvirus ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไวรัสจุดวงแหวน หรือที่นิยมเรียกว่า “โรคใบด่างจุดวง

           แหวน”

       2.การให้น้ำ หลังปลูกควรให้น้ำพอชุ่มทุกวัน และในช่วงมะละกอออกดอกและติดผล จะต้องให้ได้รับน้ำ

         เพียงพอ เพราะถ้าปล่อยให้ขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงและการพัฒนาของผลได้ไม่สมบูรณ์

       3.การเก็บเกี่ยวในการผลิตมะละกอเป็นการค้านั้น มะละกอที่ตลาดต้องการ มีอยู่ 2 อย่างคือ

          มะละกอดิบ เป็นการเก็บเกี่ยวมะละกอผลอ่อนผลขนาดเล็กอายุ 3-4 เดือน หลังติดผล น้ำหนักผลประมาณ 300-500 กรัม ซึ่งการเก็บเกี่ยวจะเก็บผลดิบหมดทั้งชุดเลย หรือจะเลือกเก็บผลอ่อนบางส่วนและส่วนที่เหลือเก็บไว้ จำหน่ายผลสุกต่อไป

         มะละกอสุก สำหรับการเก็บมะละกอสุกจำหน่ายนั้น โดยจะเลือกเก็บมะละกอที่เริ่มสุกและมีผิวสีเหลืองส้มบนผลประมาณ 5%

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา