ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทำการเกษตรกรรมปลูกชะอม

โดย : นายยุทธนา บางกุ้ง วันที่ : 2017-08-24-09:48:22

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 1/2 หมู่ 3 ซอย ตำบล รอกสมบูรณ์ อำเภอ ศรีมหาโพธิ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพ ปลูกผัก ทำสวน ทำไร่  ค้าขาย รับจ้างทั่วไป หนุ่มสาววัยแรงงานก็ทำงานในโรงงานนิคมอุตสาหกรรม ๓๐๔ ผู้สูงวัยก็จักสาน บางบ้านก็เลี้ยงหมู ไก่ เป็ด วัว ควายราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา  ทำสวน (พืชผักสวนครัว) ทำไร่มันสำปะหลัง ค้าขาย  การประมง  ปศุสัตว์และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม  โดยมีเพียงไม่กี่ครัวเรือนที่ทำการเกษตรอย่างเห็นได้เด่นชัดโดยดำเนินการทำสวนกระท้อน ฝรั่งและพืชผักสวนครัวรวมถึงชะอม ปลูกภายในครัวเรือนสร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.กิ่งพันธุ์ชะอม(กิ่งตอน)

2.ปุ๋ยเคมีสูตร 16:16:16 หรือ 19:19:19(ปุ๋ยรองพื้น)

3.ปุ๋ยยูเรีย

4.ฟูราดาน

 

 

อุปกรณ์ ->

1.จอบ เสียม

2.กรรไกตัดแต่งกิ่ง

3.ถังนำ้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2.1. เตรียมพื้นที่ปลูกโดยการไถพรวน ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ หลังจากนั้นขุดหลุมปลูกให้มีความกว้าง ยาวและลึกประมาณ 20 เซนติเมตร โดยทั่วไปชะอมไร้หนามสามารถปลูกได้กับดินทุกประเภท แต่หากเป็นดินเหนียว ในช่วงแรกควรทำให้ดินละเอียดก่อนเพื่อให้รากเดินได้สะดวกพอ ต้นเริ่มโตรากก็จะเดินได้ดี จะทำให้ต้นชะอมแข็งแรงขึ้น

2.2. ผสมดินที่ขุดมาจากหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 2 กำมือ และคลุกเคล้าปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 16-16-16, 19-19-19 ฯลฯ ลงไปอัตรา 1 ช้อนแกง ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 1 คูณ 1  เมตร ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่ จะปลุกต้นชะอมไร้หนามได้ประมาณ 1,600 ต้น

2.3. หลังจากที่ขุดหลุมปลูกและผสมปุ๋ยเสร็จเรียบร้อย นำกิ่งตอนชะอมไร้หนามที่เตรียมไว้แช่น้ำพอชุ่มแล้วแกะถุงพลาสติกที่หุ้มรากออก จากนั้นรองก้นหลุมด้วยฟูราดาน เพื่อป้องกันปลวก โดยใช้โรยที่ก้นหลุมเพียงเล็กน้อยไม่เกินครึ่งช้อนชาค่ะ (ไม่ควรใส่เยอะเกินไป) แล้วโรยดินกลบฟูราดานอีกเพียงเล็กน้อย

2.4. ปักกิ่งชะอมให้อยู่ส่วนกลางของหลุม หลบดินและอักแน่น รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2 อาทิตย์ ก็จะเริ่มแตกยอด

ข้อพึงระวัง ->

-เมื่อกิ่งพันธุ์แตกยอดอ่อนๆ ในระยะแรกๆ ควรทำร่มเงา เพื่อบังแดดให้กับยอดอ่อน ให้ได้รับแสงแดดรำไร ไม่ควรให้ยอดอ่อนอยู่กลางแดดจัดโดยตรง เพราะอาจทำให้ยอดแห้งหรือเหี่ยวตายได้

- เมื่อยอดอ่อนมีสีเหลืองให้สังเกตว่าอาจขาดสารอาหารหรือขาดน้ำค่ะ ให้ใส่ปุ๋ยยูเรียเพื่อเพิ่มสารอาหารให้กับต้นและหมั่นให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อให้ชะอมได้รับสารอาหารและน้ำเพียงพอ

3. หากปลูกแล้วต้นชะอมมีดอก ให้ตัดดอกออกทันที เพราะจะทำให้ต้นไม่เจริญเติบโตหรือทำให้ชะอมมไม่แตกยอด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บยอดชะอมมักใช้กรรไกรแทนการใช้มือเด็ด นอกจากจะทำให้สะดวกแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลอีกด้วย

เนื่องจากการปลูกชะอมไร้หนามจะต้องมีการเก็บยอดเป็นประจำ ระบบการให้น้ำจึงจำเป็นต้องมี เพื่อการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ที่แปลงปลูกชะอมไร้หนามของที่สวนจะใช้ระบบน้ำแบบสปิงเกอร์ที่ยกสูงมาจากพื้นดินประมาณ 1.50 เมตร และการควบคุมทรงพุ่มของต้นชะอมไร้หนามก็เป็นอีกเรื่องที่มีความสำคัญ ควรหมั่นเล็มยอดเพื่อควบคุมทรงพุ่มต้นชะอมให้โตเป็นพุ่มสูงขึ้น เปรียบเหมือนการตัดแต่งทรงพุ่มต้นไม้นะคะ เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยวยอดและไม่ปวดหลังในขณะเก็บเกี่ยว โดยควบคุมให้ต้นชะอมมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา