ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำข้าวหลาม

โดย : นายไพสันต์ สอดสี วันที่ : 2017-10-12-09:36:11

ที่อยู่ : เลขท่ี 5/1 หมู่ท่ี 16 ตำบล เมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            ข้าวหลามเป็นภูมิปัญญาในการทำอาหารและถนอมอาหารให้เข้ากับวัสดุธรรมชาติคือ ต้นไผ่ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกและมีอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย การทำข้าวหลามแรกเริ่มเดิมที คือนำข้าวสารหรือข้าวเหนียวมาหุงในกระบอกไม้ไผ่ แต่ที่นิยมมักใช้ข้าวเหนียวมาหุงเป็นข้าวหลามซึ่งต่อมามีการพัฒนาการหุงข้าวหลามเหนียวให้เป็นอาหารหวานที่ปรุงรสด้วยน้ำกะทิ มีรสชาติ หวาน มัน เค็ม

ต้นไผ่ที่นิยมมาหุงข้าวหลามนั้นคือ ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้าง ซึ่งลำต้นจะเป็นปล้องยาว ๓๐-๖๐ เซนติเมตร มีหลายขนาด คุณสมบัติพิเศษของไผ่ข้าวหลามคือเยื่อไผ่จะร่อนออกดีมาก ง่ายต่อการปอกออกจากลำไผ่และคงความหอม อีกทั้งได้รูปทรงกระบอก

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

            ข้าวเหนียวชนิดดำหรือขาว จำนวน ๑ ถัง น้ำตาลทราย ๔ กิโลกรัม น้ำกะทิ ๑๐ กิโลกรัม เกลือ ๒-๓ ขีด

อุปกรณ์ ->

ไม้ไผ่อ่อน  มีดปลอกข้าวหลาม  ราวเหล็ก  ถ่าน   ช้อน  หม้อ   ไม้คีบถ่าน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  ขั้นตอนสำคัญในการทำข้าวหลาม คือการใช้ข้าวเหนียวชนิดดำหรือขาว จำนวน ๑ ถัง น้ำตาลทราย ๔ กิโลกรัม น้ำกะทิ ๑๐ กิโลกรัม เกลือ ๒-๓ ขีด แล้วน้ำข้าวเหนียวไปแช่น้ำช่วงเวลาเย็น เมื่อถึงเช้าก็คั้นกะทิสด จากนั้นซาวข้าวเหนียวที่แช่ไว้นำมาใส่กะทิ น้ำตาลและเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำข้าวเหนียวที่ผสมใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่ ให้น้ำท่วมเมล็ดข้าวเหนียวให้เหลือพื้นที่ปากกระบอกไม้ไผ่ประมาณ ๒ นิ้ว

           ขั้นตอนต่อมาคือ การนำข้าวเหนียวที่ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ไปเผาไฟ บนเตาตะแกรงเหล็กซึ่งทำเป็นรางตะแกรงเหล็กเหมือนจั่วหลังคาบ้านและสุมไฟตรงกลาง เพื่อให้สามารถวางกระบอกข้าวเหนียวให้ตั้งแบบเอียงที่จะไม่ทำให้น้ำในกระบอกไม้ไผ่ไหลออกมาง่าย จากนั้นจึงค่อยสังเกต และค่อยๆ พลิกกลับด้านกระบอกไม้ไผ่เพื่อให้ข้าวหลามในกระบอกไม้ไผ่สุกทั่วกันซึ่งใช้เวลาในการหุงประมาณ ๒ ชั่วโมง

ข้อพึงระวัง ->

งานเผาข้าวหลามจึงเป็นงานที่ใช้เวลามาก และผู้ทำต้องอดทนต่อความร้อน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา