ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกมะระจีน

โดย : นายอำพร เรืองคำไฮ วันที่ : 2017-05-09-15:08:15

ที่อยู่ : 100/4 ม.3 บ้านหนองสรวง ต.แสลงพัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวบ้านหนองสรวงเป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพหรือทักษะทางด้านการเกษตร เมื่อว่างจากฤดูทำนา ก็จะปลูกพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อย เพ่ือเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน โดยการปลูกแคนตาลูป แตงกวา ดอกดาวเรือง ซึ่งผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับจากตลาด ผู้้ใหญ่บ้านจึงมีแนวความคิดที่จะปลูกพืชฤดูแล้งนเพิ่มเพ่ือให้มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างหลากหลาย จึงได้ปลูกมะระจีน มะระเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับแตง จึงมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน การผสมละอองเกสรเพื่อให้เกิดผลต้องการแมลงเป็นตัวช่วย มะระมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน โดยจะแตกต่างกันไปตามสีของเมล็ดและสีของผล และเนื่องจากอาจมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นได้จากการผสมข้ามหรือผู้ปลูกอาจได้คัดเลือกเก็บไว้ จึงทำให้เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมาข้อควรระวังในการใช้ยากำจัดศัตรูพืช
จากการสังเกต ยากำจัดศัตรูพืชของชาวสวนมะระบางแห่งพบว่า เกษตรกรใช้ยาแบบครอบจักรวาล คือน้ำยากำจัดโรคและแมลง ศัตรูพืชหลายๆ ชนิดมาผสมกัน ฉีดพ่นต้นมะระทุกๆ 3 วัน หรือฉีดวันเว้นวัน เมื่อมะระเริ่มติดผล ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองเงินมากโดยไม่จำเป็น เพราะศัตรูส่วน ใหญ่ของมะระคือ เพลี้ยและแมลงต่างๆ ที่วางไข่ตามเถาและผลอ่อน หากไม่ปรากฎอาการของโรคอื่น เมื่อมะระเริ่มผลิดอกตูมก็ฉีดยาป้องกันกำจัดแมลงพวกมาลาไธออน ไดเมครอน หรือไดเมทโธเอท ตามอัตราส่วนดังกล่าวข้างต้น และปกติยาพวกนี้มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ในต้นพืชประมาณ 10-15 วัน เพราะฉะนั้นควรฉีดยาป้องกันไว้ทุกๆ 10-15 วัน และต้องหยุดพ่นยาฆ่าแมลงพวกดูดซึมนี้ก่อนเก็บผลมะระขายอย่างน้อย 15 วัน เนื่องจากยามีฤทธิ์ตกค้างอยู่ในผลได้หลายวัน หากเก็บผลมะระไปขายในขณะที่ยังไม่หมดฤทธิ์ จะเป็นอันตรายต่อผู้ซื้อไปรับประทานอาจถึงตายได้

วัตถุประสงค์ ->

1. เพ่ือเป็นการสร้างรายได้

2. เพ่ือเพ่ิมผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธุ์มะระจีน

อุปกรณ์ ->

1. ถาดเพาะเมล็ดพันธ์ุ

2. สายน้ำ PE

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมปลูกและการปลูกระมะ

มะระเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อน ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาวประมาณ 2-3 เมตร ปลูกได้ตลอดปี แต่เป็นพืชปีเดียว และจะได้ผลดีในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดแต่ดินจะต้องมีความชื้นเพียงพอและต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน อุณหภูมิที่พอเหมาะอยู่ที่ 18-25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิเย็นจัด จะทำให้การเจริญเติบโตของต้นมะระช้าลง ชาวสวนมักนิยมปลูกมะระหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว

การเตรียมแปลงปลูกนั้นสามารถทำได้โดยการขุดไถดินให้ลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร เพราะมะระเป็นพืชที่มีระบบรากลึกปานกลาง หลังจากนั้นปรับสภาพดินให้มีการระบายน้ำให้ดีโดยใส่ปุ๋ยคอกและปูนขาว (กรณีดินเป็นกรด) ทำการยกร่องและหยอดเมล็ดพันธุ์เป็นหลุมๆ โดยหยอดหลุมละ 3-4 เมล็ด แล้วให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเมื่อผ่านไป 2  สัปดาห์ มะระจะเริ่มงอกพร้อมทั้งมีจริง ก็ทำให้ทำการถอนต้นที่อ่อนแอทิ้งไปให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม ระยะปลูกระหว่างหลุมประมาณ 50-75 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร (การปลูกมะระนั้นไม่นิยมปลูกโดยการย้ายกล้า เพราะมีอายุสั้นและเมล็ดพันธุ์มีขนาดใหญ่) โดยขนาดพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 2-4 ลิตร

การดูแลมะระ

ในการดูแลมะระนั้นควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงออกดอกและติดผลต้องไม่ให้ขาดน้ำ ส่วนการพรวนดินนั้นให้ทำในระยะแรกหลังจากมะระเริ่มงอกและควรทำบ่อยๆ พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชไปด้วย เพราะหากปล่อยวัชพืชขึ้นในระยะแรกนี้ จะทำให้มะระขาดน้ำเพราะวัชพืชจะแย่งน้ำแย่งปุ๋ยและในการพรวนดินต้องระวังไม่ให้กระทบกระเทือนรากของมะระ

เนื่องจากมะระเป็นผักที่ต้องการผล ดังนั้นสัดส่วนของปุ๋ยของ N:P:K = 1:1:1-1.5 เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัม / ไร่ ซึ่งปุ๋ยสูตรผสมนี้ควรให้เมื่อมะระมีอายุได้ 1 เดือน ซึ่งในระยะนี้จะเป็นระยะที่ทำค้าง เมื่อมะระงอกได้ 15 วัน ควรใส่ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟต โดยให้ใส่ไปที่โคนหลุมประมาณ 1 ช้อนแดงต่อหลุมแล้วพรวนดินรอบๆ โดยจะใช้ปุ๋ยทั้งหมดประมาณ 20 กิโลกรัม / ไร่

เมื่อมะระเริ่มเลื้อยเมื่ออายุได้ 15 วัน ควรทำการปักไม้ค้าง โดยสามารถทำการปักค้างได้ 2 แบบ คือ ปักไม้ค้างยาวประมาณ 2-2.5 เมตร ทุกหลุมแล้วเอนปลายเข้าหากัน แล้ววางไม้พาดตามแนวนอน 2 ช่วง อีกวิธีคือ ปักไม้ค้างยาว 2 เมตร ทุกๆ ระยะ 1.5-2 เมตร ขนานกับแถวปลูกแล้วใช้เชือกผูกขวางทุกระยะ 30 เซนติเมตร และผูกทะแยง

ข้อพึงระวัง ->

เมื่อมะระอายุได้ประมาณ 45 วัน จะเริ่มเก็บผลได้ การเก็บผลควรเก็บทุกๆ วัน ถ้าปล่อยให้ผลแก่ติดกับต้นจะทำให้ผลไม่ตกและผลจะร่วงมากขึ้น มักนิยมเก็บในขณะที่ผลยังอ่อนอยู่ ผลมีสีเขียว ถ้าผลเปลี่ยนเป็นสีครีมและแตกแสดงว่าแก่เกินไป ซึ่งในผลแก่นี้จะมีเมือกสีแดงหุ้มเมล็ด แสดงว่าเมล็ดนี้แก่เต็มที่ สามารถเอาไปปลูกแล้วงอกได้

การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์นั้นควรเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นแม่ที่แข็งแรง ผลใหญ่และขนาดสม่ำเสมอ มีลายหยักที่ผิวของผลเป็นทางตรง ต้องควบคุมการผสมละอองเกสร เพื่อป้องกันการกลายพันธุ์ โดยวิธีคือเอาถุงมาสวมดอกตัวเมียที่เพิ่งออกมาแต่ยังไม่บาน และคอยสังเกตดูเมื่อวันที่ดอกบาน เอาเกสรตัวผู้จากดอกในต้นเดียวกันมาจิ้มลงบนเกสรตัวเมีย และสวมถุงกระดาษไว้อย่างเดิม ควรทำเครื่องหมายหรือผูกป้างไว้ด้วย เพื่อให้รู้ว่าผลนี้เพื่อจะเก็บไว้เอาเมล็ดไปทำพันธุ์ เมื่อผลสุกจะแกะเอาเมล็ดออกจากผลล้างน้ำให้สะอาดแล้วเอาไปผึ่งให้แห้ง ไม่ควรโดนแดดจัดมากเกินไป เก็บเมล็ดไว้ในที่แห้งและเห็นเพื่อนำไปปลูกต่อไป

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา