ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การออกแบบลายผ้าไหม

โดย : นางสุวิษา นะรานรัมย์ วันที่ : 2017-04-03-16:05:39

ที่อยู่ : 64 ม.8 ต.วังเหนือ อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหมที่สืบทอดกันมาช้านานรุ่นแล้วรุ่นเล่า มีวิถีชีวิตที่คลุกคลีอยู่กับสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่เกิดจนเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นแม่สู่ลูก หรือเพื่อนสู่เพื่อน และการส่งเสริมความรู้จาก โครงการและหน่วยงานทางวิชาการต่าง ๆ ทำให้ชาวบ้าน ทำให้เกิดความตระหนักในการสืบสานประเพณีจึงรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์งานและออกแบบ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างสรรค์งานและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เส้นไหม

2. สีย้อม

3. เชือกฟาง

อุปกรณ์ ->

 ฮูก, โครงเหล็ก ,มีดโกน

1.โครงหูกหรือโครงกี่

2.ฟืม หรือ ฟันหวี

 3.เขาหูก หรือตะกอ

4.กระสวย

 5.ไม้หน้าหูก

 6.ไม้รางหูก

 7.กระดานม้วนหูก

  8.ลูกตุ้ง

 9.ไม้ค้างเขาหรือไม้ค้างตะกอ

 10.คานแขวน

  11.ตีนฟืม หรือตีนเหยียบ หรือคานเหยียบ

   12.ไม้ม้วนผ้า หรือไม้พันผ้า หรือไม้ค้ำพัน

13.บ่ากี่

14.ไม้นั่ง

15.ผัง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การออกแบบลวดลายผ้าไหม

       การออกแบบลวดลายผ้าโดยการใช้กราฟในการเขียน จะกำหนดช่องบนกระดาษกราฟ โดยให้ 1 ช่องบนกระดาษกราฟเท่ากับลายมัดหมี่ 1 ลำ เวลาเขียนลายให้ใช้ดินสอจุดเบา ๆ ลงที่ช่องกราฟให้เห็นโครงสร้าง แล้วค่อยฝนดินสอลงเต็มช่องกราฟ เวลาเขียนจะต้องเขียนลายจากด้านบนลงข้างล่าง ตำแหน่งการเขียนให้เขียนตรงกลางของกระดาษกราฟในการเขียนลายก่อน ถ้าลายเรขาคณิตมุมทุกมุมจะต้องตรงกัน และสามารถแบ่งครึ่งได้เสมอกันหรือเท่ากันทั้ง 2 ด้าน หลังจากทำลายด้านบนแล้ว ค่อยมาทำเชิงผ้านุ่งทีหลัง และลงสีให้สวยงาม

 การออกแบบลวดลายของผ้ามัดหมี่มีหลายรูปแบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

       1. ลายมัดหมี่แบบเรขาคณิต คือ การกำหนดลงกราฟมีมุมจุดกึ่งกลางที่สามารถแบ่งครึ่งได้ เวลามัดลวดลายบนผืนผ้า ในส่วนของเส้นพุ่งให้มัดครึ่งหนึ่งของลาย เริ่มจากครึ่ง พอถอยก็จะเต็มลาย

       2. มัดหมี่แบบอิสระ สร้างสรรค์ คือ จะต้องร่างรูปภาพที่จะมัดหมี่แล้วมาลงกราฟ ให้ทำการคำนวณว่าลายขนาดนี้จะต้องใช้กี่ลำ เพื่อให้ได้ลายบนผ้าไหมเหมือนกับรูปภาพ

       3. มัดหมี่ตรงทอสไลด์ เวลาทอตั้งหมี่ให้ค่อย ๆ ไล่ไปเรื่อย ๆ แต่พอเล็กเกินก็จะตั้งสไลด์ใหม่

       4. มัดหมี่ทางเส้นยืน ซึ่งจากการค้นพบโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะเห็นอยู่ในสมัยก่อน ส่วนใหญ่จะมีแต่ลวดลายแบบทรงเรขาคณิต เป็นลวดลายผ้าไหมที่ห่อคัมภีร์ในตู้พระของวัดโบราณ หรือป้าที่ให้คนเฒ่าคนแก่ใช้มาเป็นเวลานาน

       ที่มา: กรมหม่อนไหม. การออกแบบลายผ้าไหมและการทอผ้าไหมประยุกต์. เอกสารประกอบโครงการส่งเสริมการผลิตหม่อนไหม. กรุงเทพฯ : กรมหม่อนไหม.

การคำนวณเส้นไหม

       เป็นการกำหนดจำนวนลำที่จะใช้ อาจจะคู่หรือคี่ก็ได้สมมุติว่าใช้ 25 ลำ ตามรูปกราฟ ออกแบบลายให้ลงตัวในจำนวน 25 ลำ

 1 ลำ ใช้เส้นไหม 4 เส้น ใช้เส้นไหมทั้งหมด 100 เส้น 

        ในการทอ 1 นิ้ว ใช้เส้นไหม 50 เส้น (โดยประมาณ) 

        เส้นไหม 100 เส้น จะได้ผ้ากว้าง 2 นิ้ว (25 ลำ) 

        ผ้าถุง 1 ผืน กว้าง 72 นิ้ว ใช้เส้นไหม 3600 เส้น 

       ที่มา : ฐานิศวร์ ฐิติกุลภิรมย์. (2553). การสร้างสรรค์ลายมัดหมี่ด้วยเครื่องมือเชิงกราฟิก. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ. 

ข้อพึงระวัง ->

สีย้อมผ้าเป็นสีเคมี ต้องสวมถุงมือทุกครั้ง

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา