ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายชรินทร์ อินต๊ะเหล็ก วันที่ : 2017-03-16-10:48:14

ที่อยู่ : 8 ม.10 ต.ปิงหลวง อ.นาหมื่น จ.น่าน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เกษตรกรประสบปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ประสบปัญหาภัยแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มยาวนาน ส่งผลให้เกิดภาระหนี้สิน รายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย  จึงได้หันมาประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ โดยการเลี้ยงไก่พื้นเมือง  ซึ่งเป็นไก่ที่มีคุณสมบัติทนโรค ทนแล้ง เนื้อไก่พื้นเมืองแน่นดี  ไม่เละ  เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในชุมชนและนอกชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารไก่  ปลายข้าว รำละเอียด ข้าโพดบด พืชผัก

อุปกรณ์ ->

รางอาหาร รางน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(1) การดูแลแม่ไก่ฟัก

- ทำรังให้แม่ไก่ฟักไข่  โดยใช้ลังกระดาษ  ตะกร้าไม้ไผ่สานหรือวัสดุอื่นที่หาได้

- ทำความสะอาดเล้าไก่  และโรยปูนขาวกำจัดไรและแมลงรบกวน

- แม่ไก่จะฟักไข่ออกเป็นตัวประมาณ  ๔  อาทิตย์ (สูตร คือ ๓  วันพระ  ๔  อาทิตย์)

- แม่ไก่ ๑  ตัว จะออกไข่ประมาณ  ๑๕  ฟอง

 

(2) การส่องไข่

- เมื่อแม่ไก่เริ่มฟักไข่  ภายใน ๑  อาทิตย์  ผู้เลี้ยงต้องทำการส่องไข่เพื่อให้มั่นใจว่าไข่จะฟักออกเป็นตัว  หรือเป็นไข่ลม (ไข่ไม่มีเชื้อ)

- การส่องไข่จะใช้วิธีง่ายๆ  คือส่องด้วยไฟฉาย  โดยหากระดาษแข็งที่มีความยาวประมาณ ๑ ฟุต  นำมาม้วนเป็นทรงกลม  ปลายกระดาษข้างหนึ่งให้มีความกว้างพอดีกับฟองไข่

- ให้ผู้เลี้ยงสังเกตดูว่าไข่ฟองใดมีเชื้อจะมีลักษณะเป็นเส้นเลือดในฟองไข่  หากไข่ฟองใดไม่มีเส้นเลือดในฟองไข่ดังกล่าว  แสดงว่าเป็นไข่ลม (ไข่ไม่มีเชื้อ)

 

          (3) การดูแลลูกเจี๊ยบ (ลูกไก่ที่ฟักใหม่ๆ) 

- เมื่อครบกำหนดได้  ๔  อาทิตย์  ให้ผู้เลี้ยงนำลูกไก่ที่ฟักออกเป็นตัวแล้ว  ออกมาจากแม่ไก่

- หาวัสดุใส่ลูกเจี๊ยบ อาจเป็นลังไม้  หรือลังกระดาษแข็งที่มีขนาดใหญ่พอสมควร  โดยให้มีเนื้อที่เพื่อจะวางภาชนะอาหาร(ปลายข้าวผสมรำอ่อนกับข้าวโพดบด)  และภาชนะใส่น้ำด้วย

- กกลูกเจี๊ยบด้วยหลอดไฟทรงกลม  ขนาด  ๖๐  แรงเทียน  ประมาณ  ๑  อาทิตย์

- เมื่อครบกำหนดได้  ๑  อาทิตย์  ให้ผู้เลี้ยงนำลูกไก่ออกมาเพื่อให้ ไปหาอาหารกินเองตามธรรมชาติของ               ไก่พื้นเมือง

 

          (4) การให้อาหารแบบธรรมชาติ 

                   - ขุดดินให้เป็นหลุมลึกประมาณ  ๕๐  เซนติเมตร  กว้างประมาณ  ๘๐- ๑๐๐  เซนติเมตร

- ใส่เศษวัชพืช (ใบไม้แห้ง   กิ่งไม้แห้ง)  รดน้ำให้ชุ่ม  ปิดปากหลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ประมาณ                 ๔  อาทิตย์ 

- เมื่อครบกำหนดได้  ๔  อาทิตย์  ให้ผู้เลี้ยงนำกระสอบป่านออก  จะเห็นมีดินปลวกและตัวปลวกอยู่เต็มหลุม  ปล่อยให้ลูกไก่และแม่ไก่มาคุ้ยเขี่ยหากินเอง

 

(5) การดูแลแม่ไก่ก่อนจะเป็นแม่ไก่ฟัก 

- จับแม่ไก่มาอาบน้ำ  ทำความสะอาดขนและร่างกายพร้อมถ่ายพยาธิ

- ปล่อยแม่ไก่เข้าฝูงตัวผู้  ประมาณ  ๒  อาทิตย์  แม่ไก่ก็จะเริมไข่อีกครั้ง

- ให้ผู้เลี้ยงสังเกตอาการแม่ไก่  คือ  แม่ไก่จะหาที่ฟักไข่และส่งเสียงร้องกะต๊ากๆๆๆ

- ผู้เลี้ยงไก่ก็เริ่มทำความสะอาดเล้าไก่และเตรียมรังไก่อีกครั้ง

ข้อพึงระวัง ->

หากสังเกตเห็นไก่ที่เราเลี้ยงมีอาการเหงา  ซึม  ไม่กินอาหาร  ให้นำสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาละลายน้ำให้ไก่กิน  หรือจะใช้ข้าวสารแช่เหล้าขาวให้กินก็ได้  ประมาณ ๒  ถึง  ๓  วัน ก็หายเป็นปกติ

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา