ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงกบ

โดย : นายอินไหล แก้วด้วง วันที่ : 2017-03-13-11:41:59

ที่อยู่ : 80 ม.13 ต.บ่อแก้ว อ.นาหมื่น จ.น่าน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 กบ เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ตามธรรมชาติกบจะหากินอยู่ตามลำห้วย หนอง บึง และท้องนา กบจะกินปลา กุ้ง แมลงและสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่เนื่องจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ในปัจจุบันปริมาณความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติหรือแม้แต่ผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลง ทำให้เกษตรกรต้องขวนขวายหาแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การทำไร่นาสวนผสมการเลี้ยงกบหรือสัตว์น้ำอื่น ๆ แต่สำหรับการเลี้ยงกบนั้น ปัจจุบันเป็นที่สนใจของเกษตรกรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะกบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย และจำหน่ายได้ราคาคุ้มกับการลงทุน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อประกอบเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารกบ 

อุปกรณ์ ->

แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบนา แผ่นกระเบื้องมุงหลังคา ไม้ไผ่ทำแพ แผ่นโฟม ทางมะพร้าว บ่อเพาะเลี้ยง ภาชนะใส่
ลูกกบ  ตาข่าย อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโตเต็มวัย เป็นต้น  

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเลือกสถานที่สร้างคอกกบ หรือ บ่อเลี้ยงกบ ควรเป็นที่ที่อยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา และป้องกันศัตรูได้เป็นที่สูง ที่ดอน เพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ราบเสมอ สะดวกต่อการสร้างคอกและแอ่งน้ำในคอกใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนเต็มทีและโตเร็ว

2. บ่อเลี้ยงกบ สถานที่ที่จะทำบ่อเลี้ยงกบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบ่อปูนหรือคอกเลี้ยง จะต้องไม่ควรอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก เพราะศัตรูของกบมีมากโดยเฉพาะกบนั้นเมื่อตกใจเพราะมีภัยมา มันจะไม่ส่งเสียงร้องให้เจ้าของรู้เหมือนสัตว์อื่นๆ ศัตรูของกบส่วนมากได้แก่ งู นก หนู หมา แมว และที่สำคัญที่สุดได้แก่ คน ดังนั้นถ้าบ่อเลี้ยงหรือคอกเลี้ยงกบ อยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยมาก ก็จะถูกคนขโมยจับกบไปขายหมด นกนั้นมีทั้งกลางวันและกลางคืน นกกลางคืนโดยเฉพาะนกเค้าแมวสามารถลงไปอยู่ปะปนแล้วจับกบกินอย่างง่ายดาย แมวนับว่ามีส่วนทำลายกบมากเพราะถึงแม้มันจะจับกบกินเพียงตัวเดียวแล้วก็อิ่ม แต่เมื่ออิ่มแล้วมันยังจับกบตัวอื่นๆ มาหยอกเล่น และทำให้กบตายในที่สุด

3. พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง กบที่เหมาะสมจะนำมาเพาะเลี้ยงนี้ ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว/ กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร 3.4 กก. ได้เนื้อกบ 1 กก.ทั้งยังเป็นกบที่มีผู้นิยมนำไปประกอบอาหารบริโภคกันมากกว่ากบพันธุ์อื่นๆ ลักษณะของกบนานั้นตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบตัวเมีย และส่วนที่เห็นได้ชัดก็คือ กบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวๆ มุนปากล่างทั้งสองข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง และในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่องเสียงดังกล่าว กบตัวเมียจะร้องเช่นกันแต่เสียงออกเบา ถ้าอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวเมียที่มีไข่แก่ (ท้องแก่)จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปกติ ขณะเดียวกันที่กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องบ่อยครั้งและสีของลำตัวออกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือมีสีเหลืองที่ใต้ขาเห็นชัดกว่าตัวเมีย แต่ถึงอย่างไรก็ตามสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย

4. อาหารและการให้อาหาร  เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวแล้วช่วงระยะ 2 วันยังไม่ต้องให้อาหารเพราะยังใช้ไข่แดง ที่ติดมาเลี้ยงตัวเองอยู่  หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เช่น ไรแดง ไข่ตุ๋น อาหารเม็ด

- อายุ 3 - 7 วัน ให้อาหาร 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน 

- อายุ 7 - 21 วัน ให้อาหาร 10-15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน

- อายุ 21 - 30 วัน ให้อาหาร 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 4 มื้อต่อวัน

- อายุ 1 - 4 เดือน ให้อาหาร 4-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 2 มื้อต่อวัน

5. การเปลี่ยนถ่ายน้ำ  เมื่อลูกอ๊อดฟักออกเป็นตัวจะต้องเพิ่มระดับน้ำในบ่อขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ที่ระดับความลึก 30 ซม. ลูกอ๊อดอายุครบ 4 วัน จะต้องทำาการย้ายบ่อครั้งที่ 1 และระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงควรอยู่ที่ระดับ 30 ซม. เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆ ละ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์  ทุกๆ 3-4 วัน ทำการย้ายบ่อพร้อมกับคัดขนาดลูกอ๊อด  เมื่อลูกอ๊อดเริ่มเข้าที่ขาหน้าเริ่มงอกต้องลดระดับน้ำในบ่อลงมาอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5-10 ซม. และจะต้องใส่วัสดุที่ใช้สำหรับเกาะอาศัยลงไปในบ่อ เช่น ทางมะพร้าว แผ่นโฟม เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

การเลี้ยงกบ มักพบปัญหาโรค โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากความผิดพลาดทางด้านการเลี้ยงและการจัดการ ทำให้มีการหมักหมมของเสียต่างๆ เกิดขึ้นในบ่อ โดยเฉพาะการเลี้ยงกบในปัจจุบันมักจะใช้บ่อซีเมนต์ และเลี้ยงกันอย่างหนาแน่น มีการให้อาหารมาก ประกอบกับการขาดความเอาใจใส่และไม่เข้าใจในเรื่องความสะอาดของบ่อรวมถึงน้ำที่เลี้ยง โอกาสที่กบจะเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีมากขึ้น เท่าที่ได้รวบรวมข้อมูลทางด้านโรคต่างๆ ที่พบจากกบนั้นพอจะแบ่งออกได้ดังนี้

1. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่ทำความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงกบมากที่สุด พบทั้งในกบขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อาการของโรคโดยทั่วไปที่พบได้แก่ การเกิด แผลที่มีลัษณะเป็นจุดแดงๆ ตามขาและผิวหนังตามตัวโดยเฉพาะด้านท้อง จนถึงแผลเน่าเปื่อยบริเวณปาก ลำตัวและขา เป็นต้น เมื่อเปิดช่องท้องเพื่อดูอวัยวะภายในจะพบว่ามีของเหลวในช่องท้อง ตับมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีจุดสีเหลืองซีดๆ กระจายอยู่ทั่วไป ไตขยายใหญ่บางครั้งพบตุ่มสีขาวขุ่นกระจายอยู่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรค คือสภาพบ่อสกปรกมาก ดังนั้นจึงควรจัดการทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ ควบคุมปริมาณอาหารให้พอเหมาะและอย่าปล่อยกบลงเลี้ยงหนาแน่นเกินไป

2. โรคที่เกิดจากโปรโตซัวในทางเดินอาหาร โดยทั่วไปจะพบในกบเล็กมากกว่ากบโต อาการทั่วไปจะพบว่ากบไม่ค่อยกินอาหารผอม ตัวซีด

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา