ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ลูกประคบสมุนไพร

โดย : นางภรสิริฌาดา นันทะเภรี วันที่ : 2017-06-25-18:13:47

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 131 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากทรัพยากรในชุมชนที่มีอยู่ มีสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค คลายกล้ามเนื้อสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ โดยมีสมาชิกชุมชนนำวัตถุดิบมาจำหน่าย และช่วยกันปลูกในชุมชนและขึ้นทะเบียนเป็น OTOP ของตำบลท่าน้าว

วัตถุประสงค์ ->

   การศึกษาหาความรู้ด้านสมุนไพรไทย สมาชิกมีรายได้จากการขายสมุนไพรให้กลุ่มและเรียนรู้วิธีรักษาสุขภาพจากมุนไพรต่างๆ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  • ตรียมสมุนไพรให้พร้อมก่อนลงมือปรุงตามสูตรลูกประคบสมุนไพร หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โขลกพอแหลก นำสมุนไพรชั่งน้ำหนักแต่ละชนิดตามสูตรมาตรฐานที่กำหนดไว้
  • นำส่วนผสมทั้งหมดของลูกประคบสมุนไพรมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วให้นำมาทดสอบน้ำหนักรวมกันอีกครั้งหนึ่ง
  • นำส่วนผสมสมุนไพรลูกประคบมาใส่ในผ้า ห่อเป็นลูกประคบสมุนไพร รัดด้วยเชือกให้แน่น พร้อมใช้

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ในการทำลูกประคบสมุนไพร

  1. เขียง 1 อัน และมีด 1 เล่ม
  2. ตัวยาสมุนไพรรวมที่ใช้ทำลูกประคบสมุนไพร
  3. ผ้าดิบสำหรับห่อทำลูกประคบสมุนไพร 2 ผืน และเชือก 2 เส้น ยาว 1 เมตร
  4. หม้อนึ่งลูกประคบสมุนไพร
  5. กะละมัง ถุงมือ ผ้าขนหนู
  6. จานรองลูกประคบสมุนไพร 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สูตรลูกประคบสมุนไพร
แบบสดและแบบแห้ง

หมอพื้นบ้านหรือแพทย์แผนไทยนิยมนำสมุนไพรแบบสดและแบบแห้งมาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของลูกประคบสมุนไพร เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดอาการของโรคทางกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ผิวหนัง สมุนไพรที่คลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและเซลล์ที่อยู่ใต้ผิวหนัง ลดการตึงเครียดทำให้เส้นเอ็นหย่อนคลาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดการอักเสบ แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว บรรเทาอาการคันตามร่างกาย บำรุงผิว ช่วยรักษาเม็ดผดผื่นคันตามผิวหนัง ลูกประคบสมุนไพรสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยของบรรพบุรุษไทยได้อย่างน่าทึ่งยิ่งนัก 

ส่วนผสมสูตรลูกประคบสมุนไพรแบบสด (150 กรัม ต่อ 1 ลูก)

  • ไพล     30 กรัม
  • ขมิ้นชัน     20 กรัม
  • ขมิ้นอ้อย     10 กรัม
  • ใบมะกรูด     10 กรัม
  • ตะไคร้บ้าน     20 กรัม
  • ใบพลับพลึง     10 กรัม
  • ใบส้มป่อย     10 กรัม
  • ใบมะขาม     10 กรัม
  • ใบขี้เหล็ก     5 กรัม
  • พิมเสน     5 กรัม
  • การบูร     10 กรัม
  • เกลือแกง     10 กรัม

ส่วนผสมสูตรลูกประคบสมุนไพรแบบแห้ง (150 กรัม ต่อ 1 ลูก)

  • ผิวมะกรูด     20 กรัม
  • ไพล     20 กรัม
  • ผักเสี้ยนผี     20 กรัม
  • ข้าวคั่ว     20 กรัม
  • พิมเสน     20 กรัม
  • การบูร     40 กรัม
  • เกลือตัวผู้     10 กรัม

สรรพคุณของลูกประคบสมุนไพรแบบสดและแบบแห้ง
ตัวยาสมุนไพรของลูกประคบสมุนไพรส่วนใหญ่มีสรรพคุณในการแก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว ทำให้เส้นเอ็นของกล้ามเนื้อหย่อนเมื่อผสมผสานกับความร้อนจากลูกประคบสมุนไพร ก็เท่ากับเสริมฤทธิ์ในการรักษาซึ่งกันและกัน สมุนไพรที่ใช้ตามตำรานี้ เป็นทั้งสมุนไพรแบบสดและสมุนไพรแบบแห้ง เป็นตัวยาที่มีน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรซึ่งเป็นสารในการออกฤทธิ์ที่สำคัญนอกจากนี้เราอาจจะใช้สมุนไพรชนิดอื่น ๆ มาร่วมอีกก็ได้ เช่น ว่านนางคำ หัวหอม ใบพลับพลึง ขิงสด ว่านน้ำ ดีปลี เปราะหอม ผักบุ้ง เปลือกชะลูด ถ้าหาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ใช้เท่าที่

 

ธีการห่อลูกประคบสมุนไพร

  1. นำส่วนผสมสมุนไพรของลูกประคบมาวางตรงกลางผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้า 2 มุม ขึ้นมาทบกัน โดยจับทีละมุมจนครบทั้ง 4 มุม จากนั้นจะเกิดมุมผ้าขึ้นมาอีก 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุมอีกครั้งหนึ่งจนครบทั้ง 4 มุม
  2. แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียว จากนั้นค่อย ๆ จัดแต่งลูกประคบสมุนไพรให้เป็นรูปทรงกลมที่สวยงาม
  3. เมื่อได้ลูกประคบสมุนไพรที่เป็นรูปทรงกลมที่สวยงามแล้ว ให้นำเชือกมาพับครึ่ง ร้อยเป็นห่วงให้ชายทั้งสองเท่ากัน
  4. จากนั้นพันทบกัน 2 รอบแล้วผูกให้แน่นด้วยเงื่อนตาย 1 รอบ ก็จะทำให้เหลือปลายผ้าที่เท่ากันทั้งสองข้าง ค่อย ๆ จัดระเบียบชายผ้าในส่วนที่จะทำเป็นด้ามจับลูกประคบสมุนไพร
  5. การทำด้ามจับลูกประคบสมุนไพร โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อเก็บชายผ้าทั้งสองด้าน
  6. หลังจากที่เราจัดแต่งและซ่อนชายผ้าของลูกประคบสมุนไพรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้พับลงมาประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เพื่อทำด้ามจับ ใช้ปลายของเชือกเส้นเดิมมาพันทบกันอีก 2 รอบ โดยการผูกเชือกแบบเงื่อนตายให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง
  7. ให้ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ เพื่อให้ลูกประคบสมุนไพรมีความแข็งแรงและสวยงามคงทนต่อการใช้งาน
  8. นำเชือกป่านมาผูกให้แน่นอีกครั้งหนึ่งโดยผูกแบบเงื่อนตาย ปลายด้านหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เสร็จแล้วให้ยกขึ้นมาแนบกับด้ามจับลูกประคบสมุนไพร ใช้ปลายเชือกส่วนที่ยาวกว่าพันขึ้นมา โดยใช้ปลายนิ้วไล่กดเชือกให้แน่น การทำเช่นนี้จะทำให้เชือกเรียงกันดูสวยงามและเป็นระเบียบ
  9. เมื่อพันจนสุดชายเชือกแล้วให้ผูกเงื่อนตายไว้กับปลายเชือกเส้นที่แนบไว้กับด้ามจับในตอนแรก จากนั้นซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าที่เป็นด้ามจับ เพียงเท่านี้ก็จะได้ลูกประคบสมุนไพรที่สวยงามพร้อมสำหรับการใช้งาน

วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร

  1. นำลูกประคบสมุนไพร 2 ลูก ไปนึ่งในหม้อนึ่ง (หม้อดินหรือหม้ออะไรก็ได้) นึ่งประมาณ 15-20 นาที เมื่อลูกประคบสมุนไพรร้อนให้นำลูกแรกไปประคบตามจุดหรือตำแหน่งที่ต้องการรักษา นำลูกประคบสมุนไพรลูกที่ 2 ไปนึ่งในหม้อระหว่างที่ใช้ลูกประคบลูกแรก
  2. เมื่อลูกประคบลูกแรกเย็นลง นำลูกประคบลูกแรกกลับไปนึ่งใหม่อีกครั้ง นำลูกประคบสมุนไพรลูกที่สองมาใช้ประคบต่อไป ทำสลับกันไปมา การประคบต้องให้ลูกประคบร้อนอยู่ตลอดเวลา
  3. โดยทั่วไปใช้เวลาในการประคบประมาณ 15-20 นาที ต่อการประคบ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเคล็ดขัดยอก อาจประคบได้วันละ 2 ครั้ง
  4. วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพร สูตรที่มีการผสมสุราลงไปในลูกประคบสมุนไพรไม่ควรนำลูกประคบสมุนไพรไปนึ่งก่อนนำมาประคบ เพราะสุรามีฤทธิ์ร้อนอยู่แล้ว สามารถลูกประคบสมุนไพรมาประคบได้ทันที
     

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวังในการประคบ ลูกประคบสมุนไพร

  1. ห้ามใช้ลูกประคบสมุนไพร ที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ หรือบริเวณที่เป็นแผลมาก่อน  ถ้าจำเป็นต้องประคบควรมีผ้ารองหรือรอจนกว่าลูกประคบสมุนไพรจะคลายความร้อนลง
  2. ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีการตอบสนองความรู้สึกช้า อาจทำให้ผิวหนังพองได้ ถ้าจำเป็นต้องประคบให้ใช้ลูกประคบสมุนไพรอุ่น ๆ
  3. ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพร กรณีที่มีการอักเสบใน 24 ชั่วโมงแรก เพราะอาจทำให้การอักเสบมากขึ้น ควรประคบด้วยความเย็นก่อน
  4. หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา