ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์ธัญสิริน

โดย : นายจำเนียร กันจนา วันที่ : 2017-06-22-17:10:00

ที่อยู่ : 80 ม. 7 ต.ฝายแก้ว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมที่เป็นเป็นเกษตรกรดีเด่นด้านการเพาะและปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งได้รับการส่งเสริม

และสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอภูเพียง จากประสบการณ์ และความชำนาญด้านการทำนาอินทรีย์ และการเพาะเมล็ดพันธุ์ จึงได้เกิดศูนย์เรียนรู้การเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวขึ้นในหมู่บ้านปัวชัย หมู่ที่ 7 ตำบลฝายแก้ว ที่เป็นศูนย์เรียนรู้ให้แก่ผู้ที่ประกอบอาชีพการทำนาในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงในพื้นต่างอำเภอและต่างจังหวัด ได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อต้องการให้คนในชุมชน ได้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ และสามารถทำให้ผลผลิตมีปริมาณ และคุณภาพที่ดี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์ธัญสิริน

การจัดการเมล็ดพันธุ์ ต้องคำนวณปริมาณเมล็ดพันธุ์ต่อพื้นที่ปลูกอัตรา 5 กิโลกรัม ต่อพื้นที่

ปลูก 1 ไร่ซึ่งเป็นอัตราแนะนำ  และตกกล้าโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 50 กรัมต่อพื้นที่แปลงกล้า 1 ตารางเมตร การตกกล้า  เริ่มจากนำเมล็ดพันธุ์ที่คำนวณไว้นั้นมา  ฝัด  การฝัดเพื่อกำจัดเศษสิ่งเจือปน เมล็ดลีบ เมล็ดที่ถูกแมลงเจาะกัดกินรวมทั้งเพื่อลดปริมาณแมลงพร้อมทำลายไข่แมลงที่อาศัยอยู่ในเมล็ด  จากนั้นนำเมล็ดที่ฝัดแล้วไปตากแดด 2-3 แดด  เพื่อปรับสภาพเมล็ดให้มีอุณหภูมิสม่ำเสมอกันและยังเป็นตัวเร่งอัตราการดูดซับน้ำของเมล็ดให้ดียิ่งขึ้น แล้วจึงนำเมล็ดข้าวไปแช่น้ำและกำจัดเมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง  เนื่องจากการแช่เมล็ดในน้ำเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะลอยอยู่ด้านบน ซึ่งขณะที่ทำการฝัด เมล็ดที่แมลงเพิ่งเจาะกินเล็กน้อยเวลาฝัดจะไม่กระเด็นออกไปแต่เมื่อแช่ในน้ำเมล็ดเหล่านี้จะลอยอยู่ระดับน้ำด้านบน ควรตักทิ้งไป  เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด ทำการแช่น้ำ12–24 ชั่วโมง จากนั้นนำขึ้นมาหุ้มโดยการนำกระสอบข้าววางบนแคร่ที่มีการระบายน้ำและอากาศถ่ายเทได้  ใช้กระสอบป่านชุบน้ำปิดทับทิ้งไว้ 36 - 48 ชั่วโมงหรือเมื่อเมล็ดข้าวเริ่มมีรากยาว 1-2 มิลลิเมตร จึงนำไปหว่านลงแปลงกล้า

ขนาดของแปลงกล้า ควรกว้าง 1-5 เมตรยาวไม่เกิน 20 เมตรให้ความยาวของแปลงขนาน

ตามแนวทางทิศทางลม เว้นระยะห่างระหว่างแปลง 30-50 เซนติเมตรเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นการป้องกันไม่ให้โรคและแมลงระบาดได้ง่ายและสะดวกในการลงไปดูแล

การเตรียมดิน เตรียมดินโดยการไถดะ ไถแปร คราดและปรับพื้นดินให้เป็นโคลนตมหรือที่

เรียกว่า”การทำเทือก”แล้วจึงนำข้าวที่เพาะหรือหุ้มไว้นั้นหว่านลงบนเทือก

การดูแลแปลงกล้า  หลังหว่าน 1 วันควรระบายน้ำออกจากแปลงกล้าให้หมดหลังข้าวงอก

3-5 วันจึงค่อยระบายน้ำเข้า  ในดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-20-0 อัตรา 40 กรัมต่อตารางเมตร หว่านรองพื้นก่อนหว่านข้าว 1 วันหรือใช้มูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกอัตรา 500 กรัมร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 10 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร  หว่านรองพื้นก่อนหว่านข้าว  ไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนช่วง 7 วันก่อนถอนกล้า  เพราะจะทำให้กล้าข้าวมีลำต้นอ่อนและอวบ ลำต้นขาดหรือหักได้ง่ายเวลาถอน

อายุกล้า อายุกล้าที่เหมาะสมคือ 25-30 วัน ถ้าใช้กล้าอายุน้อยเมื่อนำไปปักดำ ข้าวจะตั้งตัว

ได้เร็ว  แตกกอมากแต่ไม่ทนต่อสภาพการการขาดน้ำแต่ถ้าใช้กล้าอายุมาก หน่อข้าวที่แตกออกมาจะโตไม่ทันต้นแม่ ทำให้เกิดปัญหาคือข้าวออกรวงไม่พร้อมกัน เก็บเก็บเกี่ยวลำบาก

 

 

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา