ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ตีเหล็ก

โดย : นายหวล อุ่นเรือน วันที่ : 2017-06-07-15:48:30

ที่อยู่ : 71 หมู่ 2 ตำบลศิลาแลง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ

วัตถุประสงค์ ->

เกิดการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

เกิดการลดรายจ่าย

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เหล็ก

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์
                1. ค้อนมี 2 ชนิด คือ ชนิดเล็ก และชนิดใหญ่ เรียกว่า พะเนิน ใช้ตีเหล็กขนาดใหญ่ มีหลายขนาด แบบชนิดหน้าเรียบ หน้าสอบ หน้าแหลม ใช้ตีเหล็กขณะเหล็กร้อนแดงสลับกัน ตีแบนเหล็กตามต้องการ
        2. สูบสำหรับเป่าลม มี 3 ชนิด คือ สูบยืนเป็นสูบคู่ สูบนอนเป็นสูบเดี่ยว สูบพัดลม ใช้พัดลมเข้าเตาให้ถ่านลุกแดงมีความร้อน
        3. ตีจับเหล็ก หรือ คีมจับเหล็ก ใช้คีบจับเหล็กขณะเผาไฟและจับเหล็กวางบนทั่งขณะตีหรือตัด
        4. เหล็กสกัด ใช้ตัดเหล็กให้ได้ขนาดและรูปทรงตามต้องการ
        5. ทั่ง มี 2 ชนิด คือ ทั่งใหญ่สำหรับรองเหล็กที่จะทำมีดใหญ่ๆ และทั่งเล็กสำหรับรองตีมีดเล็ก
        6. รังและทวายสำหรับบ้องมีด ใช้รองตีเหล็กด้ามมีด
        7. เลื่อยตัดเหล็ก มีทั้งเลื่อยไฟฟ้าและเลื่อยมือ ใช้ตัดข้อปลอกด้ามมีด
        8. เครื่องเจียรไฟฟ้ามีหลายแบบ ใช้เจียรคมมีด เจียรด้ามมีด และเจียรตกแต่ง
        9. ตะไบ มี 2 ชนิด คือ ตะไบหยาบ และตะไบละเอียด ใช้ตกแต่งคมมีดให้เรียบและคม
        10. เครื่องสว่านไฟฟ้า หรือ วิน ใช้เจาะรู เพื่อลงหมุดที่ปลอกด้ามมีด
        11. ตราประทับ สำหรับตอกใบมีด เป็นเครื่องหมายการค้า บ่งบอกชื่อช่างตีมีด
        12. เครื่องกลึง ใช้กลึงด้ามมีด
        13. ปั้มสูบลม หรือ พัดลมไฟฟ้าหอยโข่ง ใช้เป่าพัดลมไฟในเตาเผาให้ร้อนแดง
        14. เตาไฟ ทำจากอิฐบล๊อกทนไฟและก่อหุ้มด้วยดินจอมปลวก ใช้ใส่ถ่านเผาเหล็กให้แดง
        15. ถ่านไม้ สำหรับ เผาเหล็กที่จะตีเป็นมีด
        16. เหล็กขูด ทำด้วยเหล็กกล้าแข็ง ปลายบางคม ใช้สำหรับขูดใบมีดให้คม และบางตามต้องการ
        17. เครื่องขัด หรือ ปัดมีด
        18. หินลับมีด มี 2 ชนิด คือ หินหยาบ และหินละเอียด
        19. อ่างน้ำและน้ำชุบ สำหรับชุบคมมีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการตีมีด

การเตรียมการ ในการเตรียมการตีมีดนั้น มีปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ
     1.เตรียมคน ต้องใช้คน 3-4 คนขึ้นไป โดยเฉพาะการตีมีดในขั้นตอนที่ 1 ( การหลาบ ) ต้องใช้คนที่มีพละกำลัง ร่างกายแข็งแกร่ง ตลอดจนต้องมีความสามัคคีและมีประสบการณ์มาก 
     2. เตรียมอุปกรณ์  เป็นอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ สำหรับช่างตีมีดโดยเฉพาะ เช่น ทั่ง ค้อน พะเนิน คีม สูบลม เตาเผาเหล็ก ตะไบ เหล็กขูด เหล็กไช รางน้ำชุบมีด เขื่อนตัดเหล็ก ขอไฟ หินหยาบ-ละเอียด ทั่งขอ เถาวัลย์เปรียง หลักสี่ (ปากกา) กบ และเลื่อย เป็นต้น 
     3. เตรียมวัตถุดิบ วัสดุที่สำคัญในการตีมีดเป็นอันดับแรกได้แก่ เหล็กกล้า อันดับต่อไป คือ ถ่านไม้ไผ่ ซึ่งเป็นถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงในการเผาเหล็ก ต่างจากถ่านจากไม้ทั่ว ๆ ไป และอันดับสุดท้ายคือ ไม้ที่ใช้ทำด้ามมีด  เครื่องมือในการตีมีด

การดำเนินการผลิต จะมีขั้นตอนในการทำโดยสรุป 10 ขั้นตอน ดังนี้
     ขั้นตอนที่ 1 ตัดเหล็กให้ได้ขนาดตามความต้องการ เผาไฟให้แดงแล้วนำออกมาจากเตาให้คนสามคนใช้พะเนินตีจนได้รูปหุ่น หรือกูน ( ชาวบ้านเรียกว่าการ “ หลาบ” เหล็ก ) 

   

     ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้หุ่นหรือกูนมีดแล้ว นำเอาเข้าเตาเผาไฟอีกครั้งหนึ่ง แล้วใช้คน คนเดียวตีด้วยค้อนเพื่อขึ้นรูปมีดให้ได้ตามความต้องการ (ชาวบ้านเรียกว่าการ “ซ้ำ” ) 

 

     ขั้นตอนที่ 3 เมื่อซ้ำได้รูปมีดแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วใช้ค้อนตีจนเนื้อเหล็กเรียบเป็นมันเพื่อให้เนื้อเหล็กเหนียวแน่น คมบาง ตัวมีดตรง (ชาวบ้านเรียกว่าการ “ ลำเรียบ หรือ ไห่” )

  

     ขั้นตอนที่ 4 เมื่อไห่ได้รูปมีดพอสมควรแล้ว นำมาแต่งด้วยตะไบ เพื่อให้ได้รูปเล่มสวยงามขึ้น (เรียกว่าการ “แต่ง” ) 
     ขั้นตอนที่ 5 เมื่อแต่งด้วยตะไบได้รูปแล้ว นำมาขูดคมให้บางโดยใช้เหล็กขูด เพื่อทำให้ตัวมีดขาวและบาง (เรียกว่าการ “ขูด” ) 

  

     ขั้นตอนที่ 6 เมื่อขูดได้คมบางพอสมควรแล้ว ใช้ตะไบหยาบและตะไบละเอียดโสกตามตัวมีด เพื่อให้ตัวมีดขาวเรียบร้อย และคมจะบางยิ่งขึ้น (เรียกว่าการ “ โสก” ) 
     ขั้นตอนที่ 7 เมื่อโสกเรียบร้อยแล้วนำมาพานคม โดยใช้ตะไบละเอียดพานขวางของคมมีดเพื่อให้คมมีดบางเฉียบ (เรียกว่าการ “ พานคมมีด” ) 
     ขั้นตอนที่ 8 เมื่อพานคมแล้วก็นามาชุบ “การชุบ” เป็นเรื่องสำคัญมาก ช่างต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษ โดยนำมีดเข้าเผาไฟในเตาจนร้อนแดงตามความต้องการ แล้วชุบกับน้ำคมของมีดจะกล้าแข็งไม่อ่อนและไม่บิ่น 
     ขั้นตอนที่ 9 เมื่อชุบแล้วนำมาฝนหรือลับ โดยใช้หินหยาบและหินละเอียดให้คมได้ที่ สมัยนี้ใช้หินกากเพชร (เรียกว่าการ “ลับคม” ) 
     ขั้นตอนที่ 10 เมื่อฝนหรือลับคมได้ที่แล้วจึงนำมาเข้าด้ามมีด แล้วใช้น้ำมันทาตัวมีดเพื่อกันสนิม เป็นเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำมีด 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา