ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทอผ้า

โดย : นางเพลิน ทีฆาวงค์ วันที่ : 2017-06-07-13:44:12

ที่อยู่ : 65 หมู่ 3 ตำบลศิลาแลง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้าทอลายขิด หรือลายโบราณ เป็นผ้าทอลายดั้งเดิมที่ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ หลายชั่วอายุคน เดิมมักจะทอเป็นผ้าลบ หรือผ้าปูที่นอน ซึ่งจะมีขนาดผ้าแคบ ประมาณ 30 เซนติเมตร  ลักษณะเด่นของลายผ้าจะมีลายขอ ลายกาบ ลายเขี้ยวปลา ลายแมงมุม ลายมุก และลายบัวลอย อยู่ด้วยกัน การใช้สีจะเป็นสีดำ สีแดง และสีขาว

ต่อมาได้มีการประยุกต์การทอให้มีขนาดผ้ากว้าง และยาวขึ้น เหมาะสำหรับเป็นของใช้ที่ใช้ประโยชน์ได้หลายๆ อย่าง  เป็นของประดับ ตกแต่ง อาคาร บ้านเรือน เช่น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้าม่าน ผ้าคลุมตู้เย็น ผ้าคลุมไหล่ เป็นต้น และยังคงเอกลักษณ์เดิมไว้จนถึงปัจจุบัน  

วัตถุประสงค์ ->

1. ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สุูญหาย

2. อนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม

3.ส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มรายได้

4.ส่งเสริม สนับสนุนลดรายจ่าย

5. ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ สร้างกลุ่มอาชีพในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

    -   ฝ้ายสีต่าง ๆ(เส้นด้าย)

-          ไหมประดิษฐ์

-          ด้ายโทเร

 

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ประกอบด้วย

-          กี่ทอผ้าพื้นเมือง

-          กระสวย

-          ไม้ผลัด

-          ไม้หวี

-          เขาไม้มุกสำหรับเก็บลายผ้า

-          ฟืม,จขัด

-          ไม้ม้า

-          ลวดลาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1.เตรียมเส้นด้าย  กำหนดสีที่จะใช้ทอ   

   2.นำด้ายมาปั่นหลอดสำหรับทอ

   3.นำด้ายยืนมาปั่นหลอด(กวัก) เตรียมเข็น

   4.นำด้ายที่ปั่นหลอดแล้วมาเข้าก้าง  แล้วเข็น

   5.นำด้ายที่เข็นแล้วมาสืบขึ้นกี่ ต่อเส้นด้าย

   6.ทอตามลวดลาย (เก็บดอก)

                         เทคนิคการย้อมสีธรรมชาติ

                         เป็นการนำเส้นด้ายมาย้อมด้วยวัสดุจากธรรมชาติ คือส่วนประกอบของพืชชนิดต่างๆ  ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการติดแน่นกับเส้นด้าย  ทำให้สีไม่ตก หรือหลุดออกง่ายเมื่อนำไปซัก  เช่น

                    1.  เปลือกประดู่                             ให้สีชมพู  สีน้ำตาลแดง

                   2.  เปลือกสะเดา                              ให้สีกะปิ 

                   3.  เปลือกติ้ว                                 ให้สีส้มอ่อน 

                   4.  เปลือกค้ำ                                 ให้สีกะปิ

                   5.  เปลือกมะกอก                            ให้สีเทา

                   6.  เปลือกเพกา  (มะลิ้นไม้)                  ให้สีเหลืองทอง

                   7.  เปลือกเงาะ และเปลือกมังคุด            ให้สีชมพูอ่อน

                   8.  ใบหูกวางและโคลน                       ให้สีเทาดำ

                   9.  ใบสัก                                      ให้สีน้ำตาลทอง

                   10. ใบมะม่วง                                 ให้สีเขียวอมเหลือง

                   11. ใบสาบเสือ                                ให้สีเขียวตองอ่อน

                   12. ดอกอัญชัน                               ให้สีน้ำเงิน  สีม่วง

                   13. ขมิ้น                                      ให้สีทอง  สีเหลือง

                   14. ดอกดาวเรือง                             ให้สีเหลือง

                   15. มะเกลือ                                  ให้สีดำ  สีเทา

                   16. เมล็ดคำเงาะ                             ให้สีส้ม

                    นอกจากวัสดุธรรมชาติแล้วยังจะมีวัสดุที่มีคุณสมบัติที่เป็นสารกระตุ้น ทำให้เกิดสีอย่างเป็นธรรมชาติ มีความสวยงาม สีติดแน่นคงทน  เช่น 

                     1.สารส้ม และขมิ้น                            ให้สีเหลืองทอง

                     2.จุลสีและใบสาบเสือ                         ให้สีเขียวเพกา

                     3.ปูนขาวและเปลือกประดู่                   ให้สีน้ำตาล

                     4.น้ำขี้เถ้าและใบหูกวาง                      ให้สีเทาอ่อน

                     5.น้ำด่างและขมิ้น                             ให้สีน้ำตาล

                     6.น้ำสนิมและใบมะม่วง                      ให้สีครีม

                     7.น้ำโคลนและใบหูกวาง                     ให้สีโคลนอมดำ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา