ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เพาะเห็ดโคนน้อย

โดย : น.ส.ศรัญญา ไชยะ วันที่ : 2017-05-03-11:34:47

ที่อยู่ : 58 หมู่ 11 ตำบลภูคา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้รับการฝึกอบรมจากกศน.ปัว

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1ก้อนเชื้อเห็ด

2.ปุ่ยยูเรีย

3.กากน้ำตาล

4.ฟางข้าว

5.แป้งข้าวเหนียว

 

อุปกรณ์ ->

ถังต้มน้ำ200 ลิตร

แบบไม้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.จุ่มวัสดุเพาะ (ฟางแห้ง) ในน้ำปุ๋ยที่กำลังร้อนให้ฟางเปียกชุ่มทั่วฟอน นานประมาณ ๓ นาที แล้วกองทิ้งไว้ให้เย็น

 

๒.วางแบบพิมพ์ไม้ ( ขนาด ๓๐x๓๐x๖๐ เซนติเมตร ) บนพื้นสะอาด ปูพลาสติกรองพื้นก่อน

๓.วางเชือกหรือลวดที่จะมัดไว้ในแบบพิมพ์ไม้ ๒ แนว

๔.อัดฟางในแบบพิมพ์ไม้เป็นชั้น ๆ ชั้นล่างสุดหนาประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร โรยเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ให้ทั่วผิวหน้าฟาง

๕.อัดฟางชั้นที่ ๒ หนาประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร โรยเชื้อเห็ดเฉพาะบริเวณริมขอบชิดข้างแบบพิมพ์ไม้โดยรอบ

๖.อัดฟางชั้นที่ ๒ และ ๔ และโรยเชื้อเหมือนชั้นที่ ๒

๗.ชั้นสุดท้ายโรยเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าฟางแล้วทับด้วยฟางหนาประมาณ ๓-๕ เซนติเมตรมัดให้แน่นจะได้ก้อนวัสดุเพาะขนาดประมาณ ๓๐x๓๐x๖๐ เซนติเมตร

๘.กองก้อนฟางวัสดุเพาะบนพื้นที่พลาสติกปูรองไว้ในที่ร่ม รดซ้ำด้วยน้ำปุ๋ยที่เย็นแล้ว (ใช้ฝักบัวรดผ่านไปมาพอเปียก) แล้วคลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ ๓-๕ วัน

๙.เมื่อมีเส้นใยเห็ดเกิดขึ้นก้อนฟางหรือเริ่มเกิดดอกเล็ก ๆ ให้ย้ายก้อนฟางไปเปิดดอกในโรงเรือน โดยกก่อนย้ายเข้าให้พ่นน้ำในโรงเรือนให้มีความชื้นเสียก่อน

๑๐.ใน ๑-๒ วันแรกที่ย้ายวัสดุเพาะเข้าโรงเรือน ให้รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้ได้ประมาณ ๓๕-๓๘ องศาเซลเซียส และรักษาความชื้นให้ได้ ๘๐-๙๐ %

เห็ดโคนน้อยจะเริ่มเก็บผลผลิตได้ภายใน ๓-๕ วัน หลังจากย้ายเข้าโรงเรือนและจะเก็บได้ทุกวันเป็นระยะเวลา ๓-๔ สัปดาห์ ปริมาณผลผลิตต่อก้อนประมาณ ๑-๒ กิโลกรัม

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา