ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงสุกร

โดย : นายโมทย์ ทิศแก้ว วันที่ : 2017-05-02-06:49:30

ที่อยู่ : ๑๖๐ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลอวน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

    การเลี้ยงหมู  สามารถเลี้ยงเป็นฟาร์มเล็กๆจำนวนไม่กี่ตัวก็ได้ เพราะใช้พื้นที่น้อยเลี้ยงง่ายใช้แรงงานน้อย  และสามารถนำเศษอาหารมาใช้เป็นอาหารของสุกรได้    นอกจากนี้มูลสุกรยังสามารถนำมาเป็นปุ๋ยหรืออาหารในบ่อเลี้ยงปลาได้ สุกรเป็นสัตว์เลี้ยงที่ขยายพันธุ์ได้เร็วมีลูกดก   จึงเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก

วัตถุประสงค์ ->

  • สุกรสามารถเลี้ยงได้ในจำนวนน้อย เป็นฟาร์มเล็ก ๆ
  • ในการเลี้ยงสุกรต้องการพื้นที่เพียงเล็กน้อย
  • การเลี้ยงสุกรใช้แรงงานน้อย เลี้ยงง่าย
  • ใช้เศษอาหารและของเหลือต่าง ๆ เป็นอาหารสุกรได้
  • มูลสุกรใช้เป็นปุ๋ยอย่างดี และใช้กับบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มผลผลิตของการเลี้ยงปลา
  • สุกรให้ลูกดก ขยายพันธุ์ได้เร็ว
  • การเลี้ยงสุกรเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี สามารถคืนทุนได้ภายในเวลา 6 เดือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

 1. สถานที่และพื้นที่ต่อตัว : ควรต้องมีคอกหรือโรงเรือนสำหรับเลี้ยงดูจัดการสุกร รุ่น – ขุน แยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะและควรจัดตามรายละเอียด ต่อไปนี้

     1.1 การเตรียมคอกหรือโรงเรือนก่อนรับเข้าเลี้ยง

           - ย้ายสุกรรุ่นเก่าที่ครบอายุขาย แต่น้ำหนักไม่ได้มาตรฐานออกขายหรือย้ายไปรวมคอกเลี้ยงในโรงเรือนใหม่เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด เตรียมโรงเรือนไว้รับเลี้ยงสุกรรุ่นใหม่

            - พ่นล้างทำความสะอาดทุกซอกทุกมุม รวมทั้งอุปกรณ์ให้น้ำและอาหารแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นตรวจเช็คซ่อมแซมคอกและอุปกรณ์ใช้งานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

            - พ่นฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อออกฤทธิ์กว้าง ทำลายเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราได้ดีที่มีคุณสมบัติจับเกาะบนพื้นผิวได้นาน

        1.2 พื้นที่ต่อตัวที่ใช้เลี้ยง หากพิจารณาตามรูปแบบการเลี้ยงสุกรในช่วงรุ่น – ขุน ซึ่งโดยทั่วไปจะแนะนำให้เลี้ยงที่อายุเริ่มต้น 10 สัปดาห์ ไปจนถึงอายุและน้ำหนักขุนขายได้ (100-110 กิโลกรัม) พื้นที่ต่อตัวที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่อย่างน้อย 1.2 ตารางเมตรต่อตัว จำนวนตัวที่ใส่ต่อคอก 20-25 ตัว

        1.3 ช่วงอายุสุกรที่เลี้ยงอยู่ในโรงเรือนสุกรรุ่น – ขุน สุกรที่ย้ายจากโรงเรือนอนุบาลเข้าเลี้ยงในโรงเรือนรุ่นขุน จะอยู่ในโรงเรือนตั้งแต่อายุ 10 สัปดาห์ ไปจนถึงประมาณ 23-24 สัปดาห์

 2. น้ำ : ควรมีการจัดการและดูแล ดังต่อไปนี้

            2.1 ตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์การให้น้ำ อุปกรณ์ดังกล่าวควรอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานสุกรสามารถกินและเล่นได้อย่างสะดวกตลอดช่วงของการเลี้ยงดู

            2.2 คุณภาพน้ำ ต้องตรวจเช็คดูน้ำที่จะให้แก่สุกรต้องมีคุณภาพและความสะอาดอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม

            2.3 อัตราไหลของนํ้าและปริมาณจุ๊บน้ำ แนะนำว่าอัตราไหลของน้ำจากจุ๊บควรจะอยู่ที่ 1-2 ลิตรต่อนาที จำนวนจุ๊บน้ำใช้ 3-4 หัวจุ๊บต่อคอก โดยมีระดับความสูงหลายระดับตามความเหมาะสมของอายุ

            2.4 เทคนิคบางประการในการใช้จุ๊บน้ำ ในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก ของการรับเข้า ควรกดจุ๊บน้ำให้ไหลหรือพุ่งออกมาเพื่อให้สุกรกินและเล่นผ่อนคลายความเครียดจากการย้ายและการรวมคอก

 3.อาหาร :  มีรายละเอียดและขั้นตอนการจัดการดังต่อไปนี้

            3.1คุณค่าอาหาร ควรเลือกให้อาหารที่มีคุณค่าทางพลังงาน โปรตีน กรดอะมิโน ที่สำคัญ รวมถึงไวตามิน แร่ธาตุครบตามความต้องการของสุกรในช่วงรุ่นและขุน

            3.2คุณภาพของอาหาร ต้องสดใหม่ปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค เชื้อรารวมทั้งมีความน่ากินสูง

            3.3รูปแบบของอาหารที่ให้ การใช้อาหารอัดเม็ดจะช่วยเรื่องปริมาณการกินได้ของสุกร และประสิทธิภาพการใช้ อาหารจะดีกว่ารูปแบบอื่น

            3.4อุปกรณ์การให้อาหาร ต้องตรวจซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และผ่านการทำความสะอาดอย่างดีก่อนการนำสุกรเข้าเลี้ยง

 4.อากาศและสภาพแวดล้อม

        แนะนำให้จัดการ ตามหลักการเช่นเดียวกับในสุกรอนุบาล คือ อุณหภูมิเหมาะสม มีอากาศบริสุทธิ์ถ่ายเทได้สะดวก จัดสภาพแวดล้อมไม่ให้อับทึบขัดขวางทางลม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. การให้อาหารสุกร
โดยสุกรนั้นเป็นสัตว์กระเพาะเดียว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อมากๆได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวมชนิดอื่นๆ  ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร จึงควรจะต้องมีโภชนาการที่ครบถ้วน อาหารสำหรับสุกรขุนส่วนใหญ่จะนิยมใช้อาหารแบบสำเร็จรูป หรือ ผู้เพาะเลี้ยง เกษตรกรบางรายอาจผสมอาหารเพื่อใช้เลี้ยงสุกรเอง ซึ่งจะช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้หัวอาหารผสมรวมกับรำ, ปลายข้าว หรือวัสดุอื่น ๆ
ตามสัดส่วนที่เกษตรกรเป็นคนกำหนด และการให้อาหารสุกรแต่ละช่วงนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการบริโภคของสุกร  ในแต่ละช่วงอายุของตัวสุกร
๒. โดยการจัดการเลี้ยงดูแลสุกร
เกษตรกรควรเริ่มเลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ระยะที่สุกรนั้นหย่านม โดยมีน้ำหนักที่ประมาณ 20 กิโลกรัม โดยใช้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และให้สุกรกินเต็มที่ประมาณวันละ 1 – 2 กิโลกรัม จากนั้นเมื่อสุกรขุนมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนอาหารโดยใช้อาหารที่มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์แทน และให้สุกรกินอาหารวันละ 2.5 – 3.5 กิโลกรัม จนถึงระยะที่จะส่งตลาดเมื่อสุกรมีน้ำหนัก ประมาณ 100 กิโลกรัม โดยตลอดระยะเวลาการเลี้ยงสุกรนั้น จะต้องมีน้ำสะอาดให้สุกรกินตลอดทั้งวัน
๓. ด้านความสะอาดของสถานที่เลี้ยงหรือคอก
เกษตรกรควรทำความสะอาดพื้นคอกสุกรอยู่เป็นประจำ เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจจะนำโรคมาสู้ตัวสุกรได้ และอีกทั้งยังป้องกันกลิ่นจากมูลสุกรไปรบกวนชุมชนสถานที่ใกล้เคียงอีกด้วยอีกด้วย และสุกรทุกตัวต้องมีการถ่ายพยาธิ และ จัดฉีดวัคซีนตามกำหนด ที่เราได้ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุกรมีสุขภาพที่ดี

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา