ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่ไข่

โดย : นางอัมพร พินิจทะ วันที่ : 2017-05-02-06:31:42

ที่อยู่ : ๔๙ หมู่ที่ ๕ ตำบลศิลาเพชร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ถ้าพูดถึงวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร และที่ทุกบ้านต้องมีติดไว้ในครัวหรือตู้เย็น สิ่งนั้นที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ “ไข่ไก่”

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. พันธุ์ไก่ไข่

๒. อาหารไก่ไข่ในแต่ละระยะ

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่

ส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการเลี้ยงไก่ไข่ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเช่น ถาดหรือรางอาหาร รางน้ำ

  1. อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น
  2. อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ
  3. เครื่องกกลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในตอนที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่
  4. รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการออกไข่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น
  5. วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่

โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่

  1. ป้องกันแดด ลม และฝนได้
  2. แข็งแรง ทนทาน ป้องกัน นก หนู แมว หรือสุนัขได้
  3. ทำความสะอาดได้ง่าย
  4. ห่างจากชุมชน และอยู่ใต้ลมของบ้าน เพราะจะได้ไม่มีกลิ่นรบกวน
  5. ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก
  6. ถ้าสร้างหลายหลังควรมีระยะห่างมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(1) การให้อาหารไก่ไข่

        1.ไก่ไข่เล็ก – รุ่น  การเลี้ยงลูกไก่ในระยะแรกผู้เลี้ยงควรหมั่นดูแลเอาใจใส่และเติมอาหารในรางให้ลูกไก่มีกินได้ตลอดเวลาเพราะถ้าลูกไก่ ได้รับ อาหารไม่พอจะทำให้อ่อนแอและโตช้า การให้อาหารลูกไก่ในช่วง 2-3 วันแรกควรใช้วิธีโรยอาหารบนกระดาษหรือถาดใต้เครื่องกก เพื่อช่วยให้ลูกไก่กินอาหารได้เร็วขึ้น ในระยะไก่เล็ก-รุ่นนี้ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และเตรียมโครงสร้างของร่างกายให้มีขนาดใหญ่ สามารถเก็บสะสมพลังงานสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น

             2.ไก่ไข่สาว การให้อาหารแก่ไก่ไข่สาวนั้น ไม่ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่ ควรมีการจำกัดอาหารที่ให้โดยเริ่มเมื่อไก่อายุได้ 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสุขภาพความสมบูรณ์ของไก่ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวไก่ให้มีขนาดตามสายพันธุ์ที่บริษัทผู้ผลิตไก่แนะนำหรือได้น้ำหนักตามมาตรฐานที่แสดงไว้ในตาราง 1 โดยสุ่มไก่จากส่วนต่างๆ ของคอก จาก 10% ของฝูงมาชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ ไก่รุ่นก่อนไข่ที่ปล่อยให้อ้วนและมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะให้ไข่เร็วแต่ให้ไข่ไม่ทน ข้อควรระวังในการจำกัดอาหารคือต้องจัดรางอาหารให้มีเพียงพอให้ไก่กินทุกวัน และพยายามกระจายอาหารให้ทั่วถึงภายในเวลาอันรวดเร็วเพื่อให้ไก่ได้กินอาหารเท่าๆ กันและมีขนาดสม่ำเสมอกัน และสิ่งที่สำคัญอีอย่างหนึ่งคือ ถ้าไก่มีน้ำหนักมากเกินไปไม่ควรลดอาหารที่ให้กิน ให้ใช้วิธีชะลอการเพิ่มปริมาณอาหารไว้จนกว่าไก่จะมีน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน

           3.ไก่ไข่ระยะให้ไข่ ปริมาณการกินอาหารของไก่ไข่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ อัตราการไข่ น้ำหนักตัวไก่และอุณหภูมิแวดล้อม เป็นต้น เกษตรกรอาจคิดคำนวณปริมาณอาหารที่ให้กินในแต่ละวันดังนี้
1)ให้อาหารสำหรับการดำรงชีพ วันละ 63 กรัม สำหรับตัวไก่ไข่ที่มีน้ำหนักตัว 2 กก. และเลี้ยงแบบปล่อยพื้นคอกภายในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิแวดล้อม 25  ํC
2)ให้อาหารเพิ่มวันละ 7 กรัม สำหรับอัตราการไข่ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10% โดยเริ่มจากอัตราการไข่ 0%
3) ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.2 กรัม สำหรับน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง ทุกๆ 50 กรัม จากน้ำหนัก 2 กก.
4) ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.4 กรัม เมื่ออุณหภูมิลดลง/สูงขึ้น ทุกๆ 1 ํC จากอุณหภูมิ 25  ํC
5)ให้อาหารลดลง วันละ 5 กรัม ถ้าเป็นการเลี้ยงบนกรงตับ
6) ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1 กรัม สำหรับระดับพลังงานในอาหารที่ลดลง/เพิ่มขึ้น ทุกๆ 50 กิโลแคลอรี่/กก. จากระดับพลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,750 กิโลแคลอรี่/กก. ในสูตรอาหาร

(2) จำกัดปริมาณอาหารที่ให้ไก่กินแต่ละวัน  การควบคุมอาหารวิธีนี้ไก่จะได้รับปริมาณโปรตีนและพลังงาน สูงกว่าความต้องการของสายพันธุ์หรืออายุของไก่ในระยะนั้นเล็กน้อย และ ต้องเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารไปตามสภาพแวดล้อมของทุกฤดูกาล จึงจะให้ผลตอบแทนที่ดี

(3) การทำวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ในการเลี้ยงไก่ระยะไก่รุ่นและระยะไก่สาว นอกจากต้องควบคุมเรื่องอาหารและวัสดุรองพื้น เพื่อให้ไก่รุ่นเจริญเติบโตอย่างปรกติ สุขภาพไก่แข็งแรงสมบูรณ์ การทำวัคซีนป้องกันโรคเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Immunity) ให้อยู่ในระดับสูงตลอด ก็ยังคงมีความสำคัญอย่างมากต่อการเลี้ยงไก่รุ่น - ไก่สาว ทั้งนี้เพราะว่าวัคซีนป้องกันโรคแต่ละชนิดที่ให้ไก่ตั้งแต่เล็กแล้วนั้นย่อมมีอายุการคุ้มกันโรคได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น จึงจำเป็นต้องให้ทำซ้ำอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจะให้วัคซีนแต่ละชนิดเมื่อใดขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน, สภาพพื้นที่และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดังจะกล่าวในบทการทำวัคซีนป้องกันโรคต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา