ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่

โดย : นางจ๋อม จันต๊ะเปาว์ วันที่ : 2017-05-03-11:06:51

ที่อยู่ : 124 หมู่ที่ 4 ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่  เป็นทางเลือกหนึ่งของครัวเรือนที่จะสร้างงานสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้

2.เพื่อเรียนรู้เทคนิค วิธีการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ที่ถูกวิธี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.ถาดอาหาร

2.รางน้ำ

3.รังไข่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

(1) การให้อาหารไก่ไข่

        1.ไก่ไข่เล็ก – รุ่น  การเลี้ยงลูกไก่ในระยะแรกผู้เลี้ยงควรหมั่นดูแลเอาใจใส่และเติมอาหารในรางให้ลูกไก่มีกินได้ตลอดเวลาเพราะถ้าลูกไก่ ได้รับ อาหารไม่พอจะทำให้อ่อนแอและโตช้า การให้อาหารลูกไก่ในช่วง 2-3 วันแรกควรใช้วิธีโรยอาหารบนกระดาษหรือถาดใต้เครื่องกก เพื่อช่วยให้ลูกไก่กินอาหารได้เร็วขึ้น ในระยะไก่เล็ก-รุ่นนี้ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และเตรียมโครงสร้างของร่างกายให้มีขนาดใหญ่ สามารถเก็บสะสมพลังงานสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น

             2.ไก่ไข่สาว การให้อาหารแก่ไก่ไข่สาวนั้น ไม่ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่ ควรมีการจำกัดอาหารที่ให้โดยเริ่มเมื่อไก่อายุได้ 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสุขภาพความสมบูรณ์ของไก่ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวไก่ให้มีขนาดตามสายพันธุ์ที่บริษัทผู้ผลิตไก่แนะนำหรือได้น้ำหนักตามมาตรฐานที่แสดงไว้ในตาราง 1 โดยสุ่มไก่จากส่วนต่างๆ ของคอก จาก 10% ของฝูงมาชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ ไก่รุ่นก่อนไข่ที่ปล่อยให้อ้วนและมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะให้ไข่เร็วแต่ให้ไข่ไม่ทน ข้อควรระวังในการจำกัดอาหารคือต้องจัดรางอาหารให้มีเพียงพอให้ไก่กินทุกวัน และพยายามกระจายอาหารให้ทั่วถึงภายในเวลาอันรวดเร็วเพื่อให้ไก่ได้กินอาหารเท่าๆ กันและมีขนาดสม่ำเสมอกัน และสิ่งที่สำคัญอีอย่างหนึ่งคือ ถ้าไก่มีน้ำหนักมากเกินไปไม่ควรลดอาหารที่ให้กิน ให้ใช้วิธีชะลอการเพิ่มปริมาณอาหารไว้จนกว่าไก่จะมีน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน

           3.ไก่ไข่ระยะให้ไข่ ปริมาณการกินอาหารของไก่ไข่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ อัตราการไข่ น้ำหนักตัวไก่และอุณหภูมิแวดล้อม เป็นต้น เกษตรกรอาจคิดคำนวณปริมาณอาหารที่ให้กินในแต่ละวันดังนี้
1)ให้อาหารสำหรับการดำรงชีพ วันละ 63 กรัม สำหรับตัวไก่ไข่ที่มีน้ำหนักตัว 2 กก. และเลี้ยงแบบปล่อยพื้นคอกภายในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิแวดล้อม 25  ํC
2)ให้อาหารเพิ่มวันละ 7 กรัม สำหรับอัตราการไข่ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10% โดยเริ่มจากอัตราการไข่ 0%
3) ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.2 กรัม สำหรับน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง ทุกๆ 50 กรัม จากน้ำหนัก 2 กก.
4) ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.4 กรัม เมื่ออุณหภูมิลดลง/สูงขึ้น ทุกๆ 1 ํC จากอุณหภูมิ 25  ํC
5)ให้อาหารลดลง วันละ 5 กรัม ถ้าเป็นการเลี้ยงบนกรงตับ
6) ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1 กรัม สำหรับระดับพลังงานในอาหารที่ลดลง/เพิ่มขึ้น ทุกๆ 50 กิโลแคลอรี่/กก. จากระดับพลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,750 กิโลแคลอรี่/กก. ในสูตรอาหาร

(2) จำกัดปริมาณอาหารที่ให้ไก่กินแต่ละวัน  การควบคุมอาหารวิธีนี้ไก่จะได้รับปริมาณโปรตีนและพลังงาน สูงกว่าความต้องการของสายพันธุ์หรืออายุของไก่ในระยะนั้นเล็กน้อย และ ต้องเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารไปตามสภาพแวดล้อมของทุกฤดูกาล จึงจะให้ผลตอบแทนที่ดี

(3) การทำวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ในการเลี้ยงไก่ระยะไก่รุ่นและระยะไก่สาว นอกจากต้องควบคุมเรื่องอาหารและวัสดุรองพื้น เพื่อให้ไก่รุ่นเจริญเติบโตอย่างปรกติ สุขภาพไก่แข็งแรงสมบูรณ์ การทำวัคซีนป้องกันโรคเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Immunity) ให้อยู่ในระดับสูงตลอด ก็ยังคงมีความสำคัญอย่างมากต่อการเลี้ยงไก่รุ่น - ไก่สาว ทั้งนี้เพราะว่าวัคซีนป้องกันโรคแต่ละชนิดที่ให้ไก่ตั้งแต่เล็กแล้วนั้นย่อมมีอายุการคุ้มกันโรคได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น จึงจำเป็นต้องให้ทำซ้ำอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจะให้วัคซีนแต่ละชนิดเมื่อใดขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน, สภาพพื้นที่และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดังจะกล่าวในบทการทำวัคซีนป้องกันโรคต่อไป

     

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา