ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลา

โดย : กลุ่มเลี้ยงปลา วันที่ : 2017-05-01-16:14:35

ที่อยู่ : ม.4 ต.ขุนน่าน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วิธีการสร้างบ่อ

สร้างได้ 2 แบบคือ

1.บ่อแบบขุดดินออก  พื้นก้นบ่ออยู่ต่ำกว่าระดับดินเดิม  ไม่ต้องทำคันบ่อให้แข็งแรง  เหมาะกับพื้นที่ลุ่ม  เช่น ในนาข้าว  เพียงแต่ขุดดินลงไปแล้วเสริมคันบ่อ

2.บ่อแบบยกคัน         สร้างในที่ราบไม่ต้องขุดดินบริเวณกลางบ่อ  นำดินที่ขุดมาทำเป็นคันดินโดยรอบอย่างแข็งแรง  แบบนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาอย่างยิ่งเพราะสามารถเก็บกักน้ำได้และระบายน้ำได้ดี       

พื้นก้นบ่อ   จะต้องเรียบไม่มีหลุมแอ่ง  ควรจะมีการลาดเทไปทางระบายน้ำออกเพื่อสะดวกแก่การระบาบน้ำ

คันบ่อ       เป้นส่วนสำคัญในการเก็บกักน้ำ  ต้องมีความแข็งแรง  และต้องไม่รั่วซึม  ดินที่ขุดขึ้นจากบ่อเพื่อเสริมให้เป้นคันบ่อ  ควรสุงพอป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝนหรือฤดูที่น้ำมากต้องขุดระยะไม่น้อยกว่า 1.5-2 เมตร  จากเชิงลาดของบ่อด้านในเพื่อป้องกันการทรุดตัวของบ่อ  คันบ่อควรมีเชิงลาด1:2 ด้านนอก1:1  ด้านที่ต้องปะทะกับลมควรทำเชิงลาดให้มากเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน

ทางระบายน้ำเข้าออก  อาจจะใช้การสูบ หรือทำทางระบายน้ำออก   หากทำเป็นท่อระบาย  ควรมีขนาดและอยู่ในจุดที่เหมาะสม  โดยท่อน้ำเข้าจะต้องอยู่สูงจากระดับน้ำในบ่อด้านส่วนกว้างและตื้นของบ่อ  เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาว่ายทวนน้ำ  หรือหนีออกจากบ่อ  ขณะเดียวกันเมื่อน้ำไหลเข้าบ่อ  มวลของน้ำจะไหลจากที่ตื้นไปสู่ที่ลึกทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในทางหมุนเวียน

สำหรับท่อน้ำออก  ควรตั้งอยู่ในตำแหน่งฝั่งตรงข้ามของทางน้ำเข้าในส่วนที่ลึกที่สุด  เพื่อระบายน้ำส่วนที่ต่ำสุดออกไปก่อน  ในกรณีที่ต้องการทำทางน้ำล้น  ก็สามารถทำได้โดยเอียงท่อเป็นมุมที่เปิดจากระดับต่ำสุดในบ่อ  ถึงระดับน้ำที่ต้องการ

  ข้อแนะนำ  ทางน้ำเข้าและน้ำออกนี้จำเป็นจะต้องมีตะแกรงป้องกันปลาในบ่อว่ายออกมา และศัตรูนอกอ่างปลาว่ายเข้ามาด้วย

 

การเตรียมบ่อ

ควรให้พื้นที่บ่อมีโอกาสได้รับแสงแดดและออกซิเจน  ซึ่งเป็นการกำจัดปริมาณเชื้อโรคต่างๆในบ่อปลาให้น้อยลงและปล่อยให้อินทรียสารที่หมักหมม อยู่ในบ่อมีการย่อยสลายตัว

บ่อดินขุดใหม่

ต้องมีการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน(ค่าpH)

บ่อดินเก่า

ควรมีการระบายน้ำออกก่อน  โดยเฉพาะบริเวณก้นบ่อ  ปรับปรุงบ่อส่วนที่ชำรุด

 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หลักการเลี้ยงปลา

1.การเลี้ยงปลาแบบชนิดเดียว  หรือแบบเดียว  หมายถึง  การเลี้ยงปลาชนิดเดียวภายในบ่อเลี้ยง   โดยมุ่งหวังผลผลิตสูง  ซึ่งควรเลือกปลาที่มีราคาดี  หรือมีตลาดรองรับ  เช่น การเลี้ยงปลาดุกอุย   ปลาดุกด้าน  

การเลี้ยงปลาแบบนี้สะดวกต่อการดูแลรักษาคัดปลาจับส่งตลาด  เพราะเป็นปลาชนิดเดียวกัน

2.การเลี้ยงปลาหลายชนิดหรือแบบรวม   คือ การเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมในบ่อเดียวกัน หรือชนิดเดียวแต่มีขนาดต่างกัน  และไม่มีอันตรายต่อกัน   

ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบรวม  สามารถใช้ประโยชน์ได้จากอาหารที่มีในบ่อปลาอย่างเต็มที่   สามารถทยอยจับปลาใหญ่ออกจำหน่ายได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด  ทำให้ขายได้ราคาดี  เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง

3.การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน   ได้แก่  การเลี้ยงปลาผสมกับการปลูกพืช  เช่น  ปลูกข้าวพร้อมกับการเลี้ยงปลา  เลี้ยงปลาในร่องสวนปลูกผลไม้  การเลี้ยงปลาผสมผสานกับการเลี้ยงเป็ดหรือสุกร  การเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน  เช่น เศษอาหารที่ตกหล่นจากการเลี้ยงสัตว์  สามารถนำกลับมาใช้เป็นอาหารปลา

น้ำในบ่อปลาก็ถ่ายลงนาที่ปลุกข้าวแทนที่จะเทลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ  ซึ่งเป็นการใส่ปุ๋ยโดยไม่ต้องลงทุน

ข้อพึงระวัง ->

การคัดเลือกปลาที่จะเลี้ยง    ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ

1.เลี้ยงง่าย  สามารถกินอาหารธรรมชาติได้อย่างเต็มที่

2.โตเร็ว   มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนจากอาหารที่กินมาเป้นเนื้อสูง

3.มีลูกดกและขยายพันธุ์ได้   หาพันธุ์มาเลี้ยงได้ง่าย  การวางไข่หลายครั้ง  เพาะพันธุ์ได้ง่าย

4.อดทน   มีความทนทานสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี

5.สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาอื่นได้   ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน  ควรเป็นปลาที่กินพืชหรือกินแพลงตอน

6.เนื้อมีรสดี  ปลามีเนื้อรสชาติดี ปรุงอาหารได้ง่าย

7.มีตลาดจำหน่าย  เพราะปลาบางชนิดมีตลาดแคบไม่เป็นที่นิยม

8.ได้ราคาดี  ควรจะคุ้มค่าทุนที่เลี้ยงมา

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา