ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกฟักทอง

โดย : นายจ่วน อ้นยะ วันที่ : 2017-05-01-15:17:54

ที่อยู่ : 109 ม.1 ตำบลสถาน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การปลูกฟักทอง เป็นอาชีพเสริมของคนในหมู่บ้านศาลา ม.1 ต.สถาน อ.นาน้อย จ.น่าน เป็นพืชที่นิยมปลูกหลังเก็บเกี่ยวในการทำนา  การปลูกฟักทองที่ประสบความสำเร็จในการผลิตฟักทองให้ได้คุณภาพ จึงต้องศึกษาถึงลักษณะนิสัยของพืชชนิดนี้ ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม การเตรียมดินก่อนปลูก การให้น้ำ-ปุ๋ย ตลอดจนปัญหาของโรค-แมลงศัตรู เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันกำจัด และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

                            ใน ปัจจุบันพันธุ์ฟักทองที่นิยมปลูกจะใช้พันธุ์ลูกผสม เนื่องจากให้ผลผลิตสูงและมีเปลือกแบบหนังคางคกหรือลายข้าวตอก  ลักษณะของพันธุ์จะมีเปลือกสีเขียวคล้ำ ร่องผลเป็นพูสม่ำเสมอหรือเปลือกขรุขระแบบหนังคางคก ผลที่แก่จัดขึ้นนวลสีขาวตั้งแต่ขั้วไปทั้งผลและนิยมปลูกพันธุ์ผลใหญ่ มีน้ำหนักมากกว่า 4-5 กิโลกรัม หรือผลเล็กมีน้ำหนักผลระหว่าง ๒ กิโลกรัม

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ฟักทอง เป็นพืชผักที่มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้น เช่นเดียวกับแตงโม เป็นไม้เถาอ่อน มีขนสากมือ มีหนวด สำหรับเกี่ยวพันทอดไปตามพื้นดิน จึงต้องการเนื้อที่ปลูกมากกว่าพืชผักอื่นๆ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีอายุปีเดียว (ฤดูเดียว) เมื่อให้ผลแล้วก็ตายไป  

                   ฟักทอง จัดเป็นพืชที่มีระบบรากลึก การเตรียมแปลงปลูกจึงต้องไถดินให้ลึก ประมาณ 25-30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 5-7 วัน เพื่อเป็นการไล่แมลงศัตรูในดินและฆ่าเชื้อโรคบางชนิด  ในการเตรียมแปลงปลูก ควรมีการตรวจวัดความเป็นกรด-ด่าง ของดิน ให้มีค่า pH 6.0-6.8 หากดินมีสภาพเป็นกรดควรปรับสภาพโดยใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์ ใส่ระหว่างการเตรียมแปลงปลูก การใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์ในการปรับปรุงสภาพดินจะช่วยลดการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ในระดับหนึ่ง ส่วนการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว โดยพิจารณาการใส่ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน

              หลักการเลือกรูปแบบการปลูก

                 การเตรียมแปลงปลูกฟักทองสามารถเลือกปลูกได้หลายรูปแบบ ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกเป็นส่วนสำคัญมาก

             วิธีแรก หากมีพื้นที่ปลูกเพียงเล็กน้อย สามารถปลูกระยะ 1.5x1.5 เมตร วิธีนี้เมื่อฟักทองโตขึ้นจะทำให้ลำบากต่อการจัดการ เนื่องจากเถาจะกระจายเต็มพื้นที่ แต่มีข้อดีคือจะได้ผลผลิตต่อพื้นที่มากขึ้น

             วิธีที่สอง การปลูกแถวเดี่ยว ทำแปลงแถวเดี่ยวความกว้างของแปลง 1.8-2 เมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 1.5 เมตร เมื่อปลูกฟักทองสามารถจัดเถาฟักทองให้เลื้อยไปในแนวแปลงปลูก ทำให้ง่ายต่อการจัดการมากกว่าวิธีแรก

            วิธีที่สาม การปลูกแบบแถวคู่ ยกร่องแปลงเป็น 2 ด้าน ระยะ 3.5-5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 1.5 เมตร เช่นเดียวกับวิธีที่หนึ่งและวิธีที่สอง วิธีนี้สามารถจัดเถาฟักทองให้เลื้อยจรดกัน 2 ด้านพอดี และมีร่องทางเดินทำให้ทำงานได้สะดวกมากขึ้น

การ เลือกเมล็ดพันธุ์ฟักทองที่ใช้ปลูกกันทั่วไปมี 2 แบบ คือ เมล็ดพันธุ์แบบผสมเปิด ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่

สามารถเก็บไว้ขยายพันธุ์ต่อได้เอง ปัจจุบันเมล็ดพันธุ์แบบผสมเปิดหาได้น้อยมาก เนื่องจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรซื้อมาปลูกจะเลือกผลิตเมล็ดพันธุ์แบบ ลูกผสม มีลักษณะเด่นในการให้ผลผลิตสูง ขนาดของต้น ผล และการเจริญเติบโตดี

แต่มีข้อเสียที่ไม่สามารถนำเมล็ดไปปลูกต่อได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายกับเมล็ดพันธุ์ฟักทองในราคาแพงมาก

การปลูกแบบหยอดเมล็ด ก่อนปลูกขุดหลุมปลูก รองก้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว หยอดเมล็ด 3-5 เมล็ด กลบด้วยดินผสมละเอียด หรือขี้เถ้าแกลบดำก็ได้ ลึก 2.5-5 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอทุกวันเช้าและเย็น ประมาณ 3-5 วัน

ต้น กล้าจะงอกพ้นจากดิน ให้สังเกตและช่วยแหวกฟางข้าวที่คลุมแปลงที่หลุมปลูกออก ช่วยไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการงอกของต้นกล้าฟักทอง

เมื่อต้นกล้าฟักทองมีใบจริง 2-3 ใบ ควรถอนเอาต้นที่อ่อนแอ ดูแล้วไม่แข็งแรงทิ้ง เหลือต้นที่สมบูรณ์ที่สุด

ไว้เพียง 1 ต้น ต่อหลุมก่อนหยอดเมล็ดหรือนำกล้าลงปลูก ควรหยอดปุ๋ยสูตรเสมอ 19-19-19 อัตรา 5 กรัม หรือรองก้นหลุม พร้อมกับการหยอดสารป้องกันแมลง

ระยะต้นกล้าของฟักทอง คือช่วงที่ต้นฟักทองทอดยอดยาว ระหว่าง 20-30 เซนติเมตร ฟักทองไม่ถูก

ทำลายจากแมลงปากดูด และสามารถกำจัดด้วงเต่าแตงที่มาทำลายใบได้ดีมาก นอก จากนี้ ยังได้ให้ปุ๋ยต้นฟักทองในระยะกล้าที่มีใบจริง 3-4 ใบ โดยการนำปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 800 กรัม+แคลเซียมไนเตรต อัตรา 100 กรัม+ไฮมิค อัตรา 300 ซีซี+สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น สารเมตาแลกซิล อัตรา 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร 

วิธี ใช้ จะใช้การราดโคนต้นฟักทอง อัตรา 300 ซีซี ต่อต้น จะช่วยให้ต้นฟักทองในระยะกล้าแข็งแรง ต้นกล้าที่ใบเหลือง ไม่สมบูรณ์ ฟื้นตัวได้ดีขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดน่าน
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา