ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำขนมลากรอบ

โดย : นางสาวประภัสสร พิริยะเพียรพรรณ วันที่ : 2017-03-14-08:44:13

ที่อยู่ : ๓๘/๔ หมู่ที่ ๔ ตำบลลำภู

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ขนมลามี ๒ ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกก็พับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ส่วนลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยการเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วพับเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก

ขนมลากรอบ เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่    สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส โดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่       บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลากรอบปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า ปัจจุบันขนมลากรอบมีจำหน่ายตลอด ทั้งปี     ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา

          ส่วนที่บ้านโคกโกที่เลือกทำแต่ขนมลากรอบนั้น เพราะคนในท้องถิ่นที่นี่ชอบลากรอบมากกว่าลาเช็ด เนื่องจากขนมลากรอบจะมีรสชาติ หวาน มัน อร่อย นิ่มเหมือนจะละลายในปาก หอม ทานได้ไม่เบื่อ และเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมากในช่วงประเพณีบุญสารทเดือนสิบ

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- แป้งข้าวเจ้า

- แป้งข้าวเหนียว

- น้ำตาลทราย

- น้ำมันพืช

- เกลือป่น

- น้ำตาลปิ๊บ

อุปกรณ์ ->

- กระทะใบใหญ่   

- หม้อ

- แก๊สปิกนิก

- ไม้หรือช้อนส้อมไว้เขี่ยขนมลาที่ทอดเสร็จแล้ว  

- ผ้าชุบน้ำมันพืชและไข่แดง (ใช้ทากระทะเพื่อป้องกันไม่ให้ขนมติดกระทะ)

- ถาด

- ช้อนตักแป้ง

- กระป๋องสแตนเลส

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เริ่มจากนำแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งมันให้เข้ากันดี ตั้งพักไว้
๒. ผสมน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาด ใส่หม้อยกขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ ให้ส่วนผสมน้ำตาล

ละลายเข้ากันดี เคี่ยวทิ้งไว้สักครู่ พอเป็นน้ำเชื่อมก็เป็นอันใช้ได้ แล้วยกลงตั้งพักไว้ให้เย็น
              ๓.จากนั้นก็นำเอาแป้งที่ผสมเตรียมไว้มาทำการนวด โดยค่อย ๆ ใส่น้ำเชื่อมลงไปในอ่างผสมแป้งเรื่อยๆ ใช้ไม้พายเล็กๆ นวดให้แป้งและน้ำเชื่อมเข้ากันดี ซึ่งการนวดแป้งนี้จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ตัวแป้งที่ได้จะมีลักษณะเหลว เหนียว ๆ ข้น ๆ มีสีน้ำตาลอ่อน (เหลวประมาณว่ายกแป้งแล้วเป็นสายไม่ขาดจากกัน) ตั้งทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้แป้งเซตตัวเต็มที่

                       ๔. ต่อไปเป็นขั้นตอนการทำตัวขนมลา เมื่อแป้งเซตตัวดีแล้ว ตั้งกระทะให้ไฟแรงปานกลาง พอกระทะร้อนได้ที่ดีแล้ว นำไม้หรือแท่งอะลูมิเนียมยาวที่พันผ้าไว้ตรงปลาย ซึ่งจุ่มน้ำมันเตรียมไว้ เช็ดให้ทั่วกระทะ ตักแป้งใส่กระป๋องสเตนเลสที่เจาะรูไว้ แล้วนำมาโรยวนทับไปทับมาให้ทั่วกระทะ 2-3 รอบ ให้เหมือนแพรไหม
เมื่อแป้งเริ่มมีสีเหลืองทอง ใช้ไม้แซะขนมขึ้นมาพับให้เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว เอาขึ้นพักไว้จนเย็น

ลักษณะเนื้อแป้งของลากรอบจะมีลักษณะเนื้อแป้งที่หยาบกว่าลาเช็ด และในการทอดจะใช้น้ำมัน มากกว่า โดยใส่น้ำมันประมาณครึ่งกระทะ  และรูของเครื่องโรยเส้นจะมีขนาดที่ใหญ่กว่ารอยแป้ง ทอดจนสุกเป็นสี น้ำตาลอ่อน จึงใช้ไม้ตีมัน เขี่ยพับเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว  ให้ได้ขนาดพอเหมาะ นำมาวางซ้อนกันในถาด  นอกจาก ลากรอบแล้ว กลุ่มยังมีขนมลาที่มีสีต่างๆมากขึ้น เช่น สีเขียว โดยจะใช้สีผสมอาหาร หรือสีเขียวจากใบเตย นำมา ผสม

เข้ากับแป้งขนมลา จึงทำให้มีสีสันที่น่ากิน สำหรับปริมาณการผลิตขนมลากรอบของนางสาวประภัสสร ในแต่ละวันสามารถผลิต ขนมลากรอบได้ประมาณ ๓๐ กิโลกรัม และหากเป็นช่วงเทศกาลเดือนสิบปริมาณการผลิตจะเพิ่มมากขึ้นเป็นหลายเท่าตัว  

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา