ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรผสมผสาน

โดย : นายมาโนชญ์ สูยี วันที่ : 2017-07-24-11:52:25

ที่อยู่ : เลขที่ 74/1 หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืช หรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด โดยอาศัยหลักกำรอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมกำรอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการ วางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชำติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีก ชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นำแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา เลี้ยงปลาในนาข้าว/สวนผลไม้ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เกษตรกรต้องสามารถวางแผนการผลิตภายในฟาร์มของตัวเองได้อย่างถูกต้องในทำนองที่เรียกว่า  ต้องมีความรู้ความเข้าใจจึงจะสามารถทำใหัมีการวางแผนได้ อย่างถูกต้อง โดยองค์ประกอบความรู้เข้าใจและที่สำคัญในการวางแผน ได้แก่

1.1ต้องมีพื้นที่ถือครองของตนเองการเช่าที่ดินจากผู้อื่นมาดำเนินการเกษตรกรจะได้กล้าที่จะวางแผนลงทุน อย่างถาวร เพราะเกรงว่าเมื่อดำเนินการไประยะหนึ่งแล้วอาจจะถูกบอกเลิกเช่าได้

1.2 ต้องทราบข้อมูลพื้นฐานภายในฟาร์มของตัวเองเป็นอย่างดี ข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ ข้อมูลทางด้านลักษณะพื้นที่ ดิน แหล่งน้ำ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญ จะสามารถช่วยในการวางแผนภายในฟาร์มได้อย่างถูกต้อง

1.3 ต้องมีความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชหลายชนิด เช่น ข้าว พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ การปศุสัตว์ และการประมง ถ้ำขาดความรู้ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง

จำเป็นต้องไป ขวนขวาย หำความรู้ โดยการไปศึกษาดูงาน รวมทั้งเข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่สามารถให้ความรู้นั้นได้

1.4 ต้องมีทุนเริ่มต้นและทุนหมุนเวียนภายในฟาร์มพอสมควร ซึ่งการมีทุนสำรองไว้จะสามารถให้การวางแผน ดำเนิน กิจกรรมที่ผสมผสานกันเป็นไปอย่างเหมาะสม

1.5 ต้องเป็นผู้มีความมานะอดทน ขยันขันแข็ง และมีแรงงานที่พอเพียง เหมาะสมกับกิจกรรมภายในฟาร์ม ทั้งนี้ เพราะ การทำการเกษตรจะเห็นผลสำเร็จได้ต้องใช้เวลาและประสบการณ์ในการแก้ปัญหา ซึ่งจะมีอยู่ตลอดเวลา และ สามารถ ปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอดเวลา เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทันเหตุกำรณ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา