ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การตัดเย็บเสื้อผ้า

โดย : รอปียะห์ หะไร วันที่ : 2017-03-13-11:23:35

ที่อยู่ : ๗๐ หมู่ที่ ๓ ซอย - ถนน - ตำบลรือเสาะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แรกเริ่มได้ศึกษาเรียนรู้และเข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตัดเย็บเสื้อผ้าจนเกิดความชำนาญ เมื่อมีความชำนาญก็ได้รวมเป็นสมาชิกกลุ่มอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าในหมู่บ้านนาดาและรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านจนสามารถสร้างรายได้ จนสามารถเป็นอาชีพหลัก  

 

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

(๑) สายวัดตัว                  

 (๒) ไม้บรรทัด

                    (3) ไม้ฉาก

           (๔) ไม้โค้งส่วนสะโพก  

 (๕) ไม้โค้งเอนกประสงค์

 (๖) กรรไกรตัดผ้า

           (๗) กรรไกรตัดกระดาษ

 (๘) กรรไกรตัดเส้นด้าย

 (๙) ที่เลาะผ้า

(1๐) กระดาษสร้างแบบ

          (๑๑) ดินสอขีดเส้นหรือทำเครื่องหมายบนแบบตัด

          (๑๒) ยางลบดินสอ

(๑3) ชอล์กขีดผ้า

(๑๔) ลูกกลิ้งการใช้งาน ใช้กดรอย

(๑๕) กระดาษกดรอย

          (๑๖) เข็มมือการใช้งาน  ใช้สำหรับ  เนา สอย  เย็บติดเครื่องเกาะเกี่ยว  ถักรังดุม

          (1๗)  เข็มจักรแบบธรรมดา

(๑๘) เข็มจักรแบบอุตสาหกรรม

(๑๙) เข็มจักรพันริม

(๒๐) เข็มหมุดการใช้งาน  ใช้สำหรับกลัดผ้า

(๒๑) หมอนเข็มการใช้งาน ใช้ปักเข็มชนิดต่างๆ

(๒๒) ที่สนเข็ม การใช้งาน ใช้สำหรับสนเข็ม

          (๒๓) ด้ายเนา

(๒๔) ด้ายเย็บ

          (๒๕) เตารีดธรรมดา

          (๒๖) เตารีดไอน้ำ

(๒๗) ที่รองรีด

(๒๘) ที่รองรีดแขนเสื้อ                    

          (๒๙) กระบอกฉีดน้ำ การใช้งาน  ใช้ฉีดน้ำขณะรีดผ้า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

     (1) ขั้นตอนการวัดตัว เป็นการวัดขนาดเพื่อตรวจสอบความกว้าง ความยาว ความหนา ของสัดส่วน ซึ่งการวัดตัวนี้สำคัญมาก เพราะว่าจะส่งผลถึงลักษณะของผลสำเร็จ เช่น ผลงานได้สัดส่วน สวมใส่ได้สวยงามเหมาะสม หรือผลงานตึงรั้งสวมใส่ไม่ได้

                (2) ขั้นตอนการสร้างแบบและแยกแบบ ทำได้โดยการนำสัดส่วนที่ได้วัดขนาดไว้หรือการออกแบบมาสร้างแบบตัดหรือแพ็ทเทิร์น (Pattern) ลงกระดาษสร้างแบบ ตามกระบวนการของการสร้างแบบเสื้อผ้าแต่ละชนิด เช่น สร้างแบบตัดเสื้อ สร้างแบบตัดกระโปรง สร้างแบบตัดกางเกง เป็นต้น

                ต่อเมื่อสร้างเสร็จแล้วควรทำเครื่องหมายป้องกันความผิดพลาด และควรตรวจสอบขนาดให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยทำเครื่องหมายต่างๆ ลงบนแบบตัดและเขียนรายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจน

                (3) ขั้นตอนการคำนวณผ้า เลือกผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นเราควรคำนวณผ้าให้ถูกต้องเพื่อความประหยัดและเลือกผ้าให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของผ้า ซึ่งผลิตจากเส้นใยแต่ละชนิด เช่น ผ้าฝ้าย จะเป็นผ้าที่ได้จากเส้นใยของเมล็ดฝ้าย ซับน้ำได้ดี ทนต่อความร้อนสูง แต่ยับง่าย, ผ้าไนลอน เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ไม่ทนต่อความร้อนและแสงแดด จับจีบได้ คงรูป เป็นต้น

                (4) ขั้นจัดเตรียมผ้า เป็นการจัดเตรียมวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการเย็บทุกชนิด เช่น เข็ม ด้าย กรรไกร ผ้า จักรเย็บผ้าบริเวณปฏิบัติงาน และแสงสว่าง เป็นต้น

                สำหรับผ้าที่ต้องการตัดเย็บ ถ้าไม่แน่ใจว่าจะหดหรือไม่ ควรนำผ้าไปแช่น้ำ ถ้าเป็นผ้าขาวให้แช่ด้วยน้ำเปล่า ถ้าเป็นผ้าสีให้แช่ในน้ำเกลือ โดยแช่ประมาณ 3 ชั่วโมง และนำไปผึ่งให้แห้ง พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการตัดเย็บให้ครบถ้วน

                (5) ขั้นตอนการวางแบบตัดและตัดผ้า ในขั้นตอนนี้ควรระมัดระวัง โดยอ่านรายละเอียดบนแบบตัด การทำเครื่องหมายต่างๆ ที่เขียนไว้ และกดรอยผ้าเส้นเย็บทุกเส้น เพื่อเป็นเครื่องหมายหรือเป็นเส้นแนวในการเย็บ

                (6) ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของงาน ซึ่งในการตรวจสอบคุณภาพของงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่สวยงาม ไม่ผิดพลาด ควรตรวจสอบทั้งขณะทำการเย็บ เช่น เนาลองตัว ตรวจสอบการประกอบการเย็บทุกขั้นตอน ตรวจสอบความเรียบร้อยของตะเข็บ เป็นต้น

                (7) ขั้นตอนการแก้ไขจุดบกพร่อง ในการตัดเย็บผ้าทุกชนิด เมื่อพบข้อบกพร่องไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงามและมีคุณภาพ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา