ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การก่อสร้าง

โดย : นายมะสูเด็ง สามะแอ วันที่ : 2017-03-10-10:17:07

ที่อยู่ : 64 หมู่ที่ 1 ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

  การก่อสร้าง เป็นกิจกรรมหรือการกระทำที่ทำให้เกิด การประกอบหรือการติดตั้ง ให้เกิดเป็นอาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือส่วนประกอบของสิ่งที่กล่าวข้างต้น และมักจะหมายถึงงานทางด้านโยธาเป็นส่วนใหญ่

การก่อสร้างเป็นการปฏิบัติวิชาชีพแขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยงานไม้ งานคอนกรีต งานปูนก่อฉาบ งานเหล็ก ช่างซึ่งปฏิบัติงานในงานแขนงนั้นๆ ก็จะเรียกตามประเภทของงานนั้นๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ คำที่เรียกโดยรวมก็คือ ช่างก่อสร้าง ซึ่งต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ในการทำงานเป็นอย่างสูง เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้ครัวเรือนอีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อ

          2. เกียงใบโพธิ์ หรือเกียงก่อ
          3. อุปกรณ์ผสมปูน
          - กระบะผสมปูน เมื่อใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท และ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่อทั่วไป โดยใช้ จอบ ในการผสม
          - ถังผสมปูน เมื่อใช้ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่ออิฐมวลเบา โดยใช้ สว่านติดใบกวน ในการผสม
          4. ถังปูน
          5. อิฐมอญ, อิฐบล็อค, อิฐมวลเบา, อิฐมวลเบาเทียม ขึ้นกับความต้องการของเจ้าของบ้าน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ทำความสะอาดพื้นที่ที่ต้องการก่อ ไม่ควรมีเศษขยะ ฝุ่น หรือวัสดุชนิดอื่นอยู่บริเวณที่ทำงาน

          2. ตรวจสอบระยะและแนวที่จะก่อว่าตรงตามแบบทางวิศวกรรม ได้แนวดิ่งและฉาก
          3. ขึงเอ็นแนวนอนและแนวดิง เพื่อเป็นการหมายระยะในการก่อ ให้ผนังที่ได้ออกมาตรง ได้ฉาก

          4. รดน้ำอิฐ หรือแช่น้ำอิฐก่อนการก่อ เพื่อให้อิฐมีการดูดน้ำระดับหนึ่ง ป้องกันการแย่งน้ำจากเนื้อปูนเมื่อนำไปก่อ ข้อควรระวังคือ... ไม่ควรใช้อิฐที่เปียกชุ่มมาก่อโดยทันที ให้ทิ้งไว้ให้ผิวอิฐหมาด แต่มีความชื้นอยู่ด้านใน หากเป็นอิฐบล็อกให้ระวังน้ำขังในร่องรูพิมพ์ด้วย

          5. เริ่มก่อจากมุมเสาด้านล่าง ด้านใดด้านหนึ่งก่อน โดยที่ชั้นแรกของการก่อ ให้รองด้วยปูนหนาประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร สลับเป็นขั้นบันใดขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยชั้นปูนก่อทุกชั้นให้มีความหนาประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร ยกเว้นอิฐมวลเบา ที่ต้องใช้เกียงมือเสือ ในการปาดปูนบาง ๆ เพียง 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น และควรกระทุ้งก้อนอิฐเบา ๆ ให้มีการยึดเกาะระหว่างอิฐแต่ละก้อน และปาดเนื้อปูนที่ล้นออกด้านข้าง นำกลับไปใช้ก่อต่อไปได้

          6. ตรวจสอบระดับตามระนาบและดิ่งทุก ๆ 3-5 ชั้น ด้วยเส้นเอ็นที่ขึงไว้ และการวัดระดับน้ำ การก่อที่เอนเอียงจะส่งผลต่อความแข็งแรง และสิ้นเปลืองปูนเมื่อฉาบ
          7. เสียบเหล็กหนวดกุ้งขนาด 6 มิลลิเมตรยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เข้ากับเสา ให้มีส่วนยื่นออกมา 30-40 เซนติเมตรทุก ๆ ความสูงที่ก่อประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรงของผนัง
สำหรับอิฐบล็อคนั้น อาจใช้เหล็กเส้นกลมแต่ควรมีการเสริมแรงทั้งแนวดิงและนวราบ โดยเหล็กเสริมแนวดิ่งอาจไม่สูงไปกว่า 1.2 เมตร เพื่อสะดวกในการทำงาน
สำหรับอิฐมวลเบา จะมีแผ่นเหล็กสำหรับยึดอิฐกับเสา สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากผู้จำหน่ายอิฐมวลเบา

          8. การทำเสาเอ็นและคานทับหลัง ควรทำเมื่อก่อได้ความยาวและสูงตามที่แสดงในภาพ เพื่อเป็นการรับน้ำหนักของผนังส่วนถัดไป ด้วยการหล่อขึ้นจากคอนกรีต เสริมเหล็กเพื่อความแข็งแรง
ทั้งนี้หากเจาะช่องหน้าต่างหรือประตู ก็ควรมีการหล่อเอ็นเช่นเดียวกัน โดยสามารถจัดวางวงกบประตูก่อนวางแบบหล่อได้

          9. ไม่ก่อจนชนท้องคาน เนื่องจากปูนก่อจะมีการยุบตัวหลังก่อไปแล้ว 1 – 2 วัน เมื่อปูนรับน้ำหนักของอิฐด้านบนไปแล้วระยะหนึ่ง ทั้งนี้เว้นช่องไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร ก่อนอุดด้วยอิฐเรียงตามลักษณะดังภาพ

          10. บ่มผนังให้ชื้นเพียงพอ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เนื่องจากความแข็งแรงของงานปูนจะขึ้นอยู่กับการเลี้ยงน้ำไม่ให้เนื้อปูนเสียน้ำเร็วจนเกินไป ช่วยลดปัญหาแตกร้าวได้โดยตรง
          เมื่อก่ออิฐไปแล้ว 24 ชั่วโมง ให้กลับมาบ่มน้ำ ด้วยการรดน้ำสะอาดบนผิวผนังให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ต่อไปอีก 3 – 7 วัน โดยหากอากาศแห้ง มีลมพัด หรือสัมผัสแดดแรงจ้า ให้เพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และเพิ่มระยะเวลาการรดน้ำออกไปจนครบ 1 สัปดาห์

 

ข้อพึงระวัง ->

เทคนิคเพิ่มเติมหากมีการก่ออิฐในบริเวณแดดลมแรง จะต้องมีการขึงผ้าใบเพื่อลดการสัมผัสกับอากาศที่จะพัดความชื้นออกจากผนังเร็วเกินไป เพื่อให้ผนังที่ได้แข็งแรงทนทานไม่แตกร้าวโดยง่าย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา