ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ฝักบัว

โดย : นางสาวกาตีนา สุหลง วันที่ : 2017-03-22-13:57:50

ที่อยู่ : 12 หมู่ที่ 7 ตำบลมบูกิต

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 ขนมฝักบัว เป็น ขนมไทย ที่ยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน มีขายตามตลาดนัด ด้วยความหอม กรอบนอกขอบใบบัว นุ่มตรงกลาง เรียกว่าหวานกรอบมัน เวลากัดชิมแล้วหนึบติดลิ้น ตามด้วยหวาน ยิ่งถ้าทอดเสร็จใหม่แล้วได้ลองแบบขอบใบบัวแบบกรอบๆ ก็จะอร่อยมากขนมฝักบัวมีลักษณะเป็นวงกลม สีเขียว(เกิดจากสีของใบเตย) เป็นการนำแป้ง แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลปี๊บ หรือน้ำตาลมะพร้าวและกะทิ ผสมให้เข้ากัน สูตรเดิมแต่โบราณ ความข้นของแป้งขนาดนมข้น ปัจจุบันนี้จะมีส่วนผสมของแป้งข้าวเหนียว และจะเปลี่ยนจากน้ำตาลปี๊บเป็นน้ำตาลทราย ก็แล้วแต่สูตร บางก็ดัดแปลงใส่กล้วยหอม ใส่น้ำใบเตยแทนน้ำเปล่า ลักษณะที่ดีของขนมฝักบัว คือแป้งต้องนุ่ม ขอบขนมต้องกระดกขึ้นมาตรงกลางนูนและนุ่ม มีรสชาติหวาน และด้านล่างของขนมเป็นใยเหมือนสายบัว บริเวณรอบๆ กรอบ ขนมฝักบัวมักจะใช้ในพิธีแต่งงานโดยใส่ในขันหมากและจะชิ้นใหญ่ๆไม่ได้ทำเป็นชิ้นเล็กๆพอคำ หรืออย่างที่เราๆเห็นกัน ความหมายที่ทำให้ใหญ่และนำขนมฝักบัวใส่ในขันหมาก สันนิษฐานไว้ว่า หมายถึง ความเจริญเติบโตของบัวในสระ ที่เป็นไปอย่างง่ายๆและรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้การดูแลมากมาย จากเหตุนี้เลยทำให้คิดกันไปว่าง่ายๆ และรวดเร็วนี่แหละจะเป็นจุดเด่นของการทำขนมฝักบัวมาในขันหมาก เพื่อหวังให้คู่สมรสเจริญรุ่งเรืองและรวดเร็วอย่างง่ายๆเช่นกัน

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

     • แป้งข้าวเจ้า 3 ถ้วย

     • แป้งข้าวเหนียว 1 ถ้วย

     • น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย

     • กล้วยหอมสุก 1 ลูก (บดละเอียด)

     • ใบเตย 20 ใบ

     • สีผสมอาหารสีเขียว 1 ช้อนชา

     • น้ำมันพืช (สำหรับทอด)

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

     • 1. ล้างใบเตยให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในเครื่องปั่น เติมน้ำเปล่าลงไปพอท่วม ปั่นจนละเอียด จากนั้นกรองและคั้นเอาแต่น้ำ เตรียมไว้

     • 2. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และกล้วยหอม ค่อย ๆ เทน้ำใบเตยลงไปนวดให้เข้ากัน ใส่สีผสมอาหารสีเขียวลงไป

     • 3. ใส่น้ำตาลปี๊บลงไปนวดกับแป้งให้ละลายจนมีลักษณะข้นเหนียว (เหมือนนมข้นหวาน) พักแป้งทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที

     • 4. ใส่น้ำมันพืชลงในกระทะขนาดเล็กสูงประมาณ 1/2 ของกระทะ นำขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ พอน้ำมันร้อน กวนแป้งให้เข้ากันแล้วตักหยอดลงตรงกลางกระทะ (ระวังอย่าให้แป้งใต้กระบวยหยดลงในกระทะ) ขนมจะค่อย ๆ พองจากด้านนอกเข้าสู่ด้านในจนปิดสนิท รอจนขนมเหลืองและลอยขึ้นจากน้ำมันแล้วพลิกกลับด้าน จากนั้นตักน้ำมันราดตรงกลางของขนมเพื่อให้ตรงกลางขนมปูดขึ้น ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน พร้อมเสิร์ฟ

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา