ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำการเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นายสุกฤษฎ์ คงขวัญ วันที่ : 2017-03-21-14:14:28

ที่อยู่ : 28/32 หมู่ 4 ตำบลกาหลง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายสุกฤษฎ์   คงขวัญ   เป็นเกษตรกรที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ชีวิตประจำวัน เป็นเกษตรกรที่นำระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  เศรษฐกิจ  สังคม  มีการใช้แรงงาน  เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่ง มาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในสวนแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรม   เช่น การเลี้ยงไก่บนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การปลูกกล้วยรอบบ่อเลี้ยงปลา  การปลูกข่าในสวนยาง  เป็นต้น


 

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ก่อนเริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสาน

ก่อนอื่นต้องดูสภาพดินก่อน ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร สภาพดินเหมาะกับการปลูกพืชอะไรได้บ้าง การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เมื่อรู้แล้วว่าจะปลูกพืชอะไร ก็ดูว่า สัตว์ที่จะเลี้ยงนั้น เอื้อประโยชน์กับพืชที่ปลูกอย่างไรบ้าง ใช้เป็นอาหารหรือใช้ประโยชน์อะไรจากพืชและสัตว์ มีการเอื้อประโยชน์ต่อกันอย่างไร

หลักการพื้นฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสาน

ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นการผสมผสานที่ดี โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมการเกษตรควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามอาจสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันก็ได้ ในการจัดการกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร ให้มีการผสมผสานเกื้อกูลกัน อย่างได้ประโยชน์สูงสุดนั้นควรจะมีกิจกรรมหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะมีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ร่วมกันไปด้วย เนื่องจากพืชและสัตว์ มีการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน และมีห่วงโซ่ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันอยู่ พืชโดยทั่วไปมีหน้าที่และบทบาทในการดึงเอาแร่ธาตุในดิน อากาศ และพลังงานจากแสงแดดมาสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปของอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ ที่สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ สำหรับสัตว์นั้น สัตว์ไม่สามารถบริโภคอากาศและแร่ธาตุที่จำเป็นโดยตรง แต่จะต้องบริโภคอาหารจากพืชอีกต่อหนึ่ง เมื่อสัตว์นั้นขับถ่ายของเสีย หรือตายลงก็จะเน่าเปื่อยย่อยสลายกลายเป็นแร่ธาตุต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับพืช วงจรความสัมพันธ์เช่นนี้ จะหมุนเวียนไปรอบแล้วรอบเล่า จนกลายเป็นห่างโซ่ความสัมพันธ์ของสัตว์ ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ระบบกิจกรรมปัจจุบันที่เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอย่างเดียวในพื้นที่กว้างขวาง จึงสร้างผลกระทบต่อสมดุลระหว่างพืชกับสัตว์ และก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศในที่สุด การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระบบเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกิดขึ้นทั้งจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมทั้งอากาศและพลังงาน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา