ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำขนมเจาะหู

โดย : นาง มายีดะ สะรี วันที่ : 2017-03-21-13:54:59

ที่อยู่ : ๙๑/๑ หมู่ที่ 6 ตำบลวงศรีสาคร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ขนมเจาะหู หรือ ขนมเจาะรู ในบางท้องถิ่นเรียกว่า ขนมดีซำ ขนมชนิดนี้รูปร่างหน้าตาจะเหมือนโดนัทอันเล็ก ใช้ในงานบุญสารทเดือนสิบ (ชิงเปรต) ของภาคใต้เป็นสัญลักษณ์แทนเงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย ถือเสมือนเป็นเครื่องประดับจำพวกตุ้มหูหรือต่างหู หรือเงินรูสมัยโบราณ เหตุเพราะรูปทรงของขนมคล้ายเบี้ยหอย

ขนมเจาะหูนี้จะใช้ในช่วงใช้ในการทำบุญสารท­เดือนสิบหรือที่รู้จักกันดีว่าคืองานทำบุญ­ชิงเปรตชื่อว่าขนมนี้เป็นเหมือนเงินที่จะนำไปใช้­ในนรก ฟังเรื่องราวแล้วอาจน่ากลัวสักหน่อย แต่เป็นเรื่องของพิธีกรรมและความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นที่จะแตกต่างกันไป สะท้อนออกมาผ่านวัฒนธรรมการกิน
 

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. แป้งข้าวเหนียว 1 ช้อนโต๊ะ

2. แป้งข้าวเจ้า 250 กรัม

3. น้ำตาลโตนด 80 กรัม

4. น้ำตาลทราย 200 กรัม

5. น้ำเปล่า ½ ถ้วย

หมายเหตุ : บางพื้นถิ่น นิยมใส่ไข่ไก่ หรือ หัวมันต้ม (หัวมันหลาต้ม) หรือ ฟักทองต้ม และ งาคั่ว เพิ่มเติมลงไปเพื่อเพิ่มสีสันและรสชาติ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. แป้งข้าวเจ้ากับแป้งข้าวเหนียวผสมกันพักไว้

2. ผสมน้ำตาลทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ เติมน้ำเปล่าลงไป เคี่ยวให้น้ำที่ได้มีลักษณะเหนียวข้น ระวังอย่าให้ตกทราย

3. น้ำตาลที่เคี่ยวได้ทิ้งไว้ให้เริ่มอุ่น ใส่แป้งที่ผสมรวมกันไว้ลงไปนวด นวดประมาณ 30 นาที ให้มีลักษณะขึ้นเงา ทิ้งแป้งไว้ 1 คืน

4. นำแป้งที่ได้ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ให้มีขนาดเท่าๆกัน เตรียมใบตอง (วิธีแบบดั้งเดิม) ทาน้ำมันลงไปเล็กน้อยบนใบตอง

5. ปั้นแป้งที่ได้จนหมด คลึงบนใบตองกดให้แบน แล้วทำเป็นรูตรงกลาง ลักษณะจะคล้ายการเจาะหู

6. เทน้ำมันพืชใส่กระทะตั้งไฟปานกลางค่อนข้างอ่อน พอน้ำมันร้อนดี ใส่แป้งที่ปั้นไว้ลงไปทอด ทอดจนเหลืองทองทั้งสองด้าน ตักออกซับน้ำมันออก จัดใส่จานได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา