ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำขนมเบเกอรี่

โดย : นายซีแรนอ อาลี วันที่ : 2017-03-21-13:42:44

ที่อยู่ : 188 หมู่ที่ 1 ตำบลจวบ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เบเกอรี่เริ่มมีขึ้นในตอนแรก โดยชาวเจาะไอร้องได้คิดค้น นำเมล็ดข้าวสาลีมาบดให้แตก ผสมน้ำ ทำให้สุกบนกะทะ ได้อาหารเป็นแผ่น ซึ่งข้างในเหนียวเหนอะหนะ และต่อมา ได้พัฒนาจากขนมปังที่เป็นแผ่น ให้มาเป็นรูปต่างๆตามต้องการ และเรียกกันว่า “เบเกอรี่”

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการร่วมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพ และสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- แป้งสาลี 

- น้ำตาล  

- สารช่วยฟู  

- ไข่ไก่  

- เนย   

- นม

- เกลือ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.   แป้งสาลี มีด้วยกันหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อก็ใช้แตกต่างกัน การทำเค้กจะใช้แป้ง ดังต่อไปนี้
 แป้งสาลีโปรตีนต่ำ     เพื่อให้เนื้อเค้กมีความเบาฟู เช่น เค้กจำพวกสปองจ์เค้ก ซิฟฟอนเค้ก 
 แป้งสาลีโปรตีนปานกลาง   เหมาะสำหรับทำพาย พัฟ เพื่อให้เนื้อแป้งมีความเหนียวเล็กน้อยหรือกรอบร่วน 
 แป้งสาลีโปรตีนค่อนข้างสูง   นั้นดีสำหรับการทำคุกกี้ เพราะเนื้อคุกกี้มีความกรอบร่วนแบบนุ่ม ๆ 
 แป้งสาลีโปรตีนสูงมาก ๆ   นิยมมาทำขนมปัง เพื่อให้ได้แป้งที่มีโครงสร้างเส้นใบจับตัวกัน เนื้อขนมปังจึงจะเหนียวและนุ่ม
2.   น้ำตาล   น้ำตาลในการทำเค้ก คุกกี้ มีหลายชนิด เช่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลไอซิ่ง การใช้น้ำตาลแต่ละ
ชนิดขึ้นอยู่กับวิธีการผสม เช่น กาคนด้วยตะกร้อมือ ควรใช้น้ำตาลทรายป่น เพื่อให้น้ำตาลละลายได้ดีเป็นเนื้อเดียวกันกับเนย ถ้าใช้เครื่องตีไฟฟ้าก็เป็นน้ำตาลทรายธรรมดาชนิดเม็ดละเอียด น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลอ้อย ซึ่งก่อนนำมาใช้ต้องร่อนให้ได้เนื้อน้ำตาลที่ละเอียดเสียก่อน เมื่อนำมาผสมจะได้ไม่มีเม็ดน้ำตาลอยู่ ซึ่งจะทำให้ชิ้นขนมไม่สวยและเห็นเป็นจุดสีน้ำตาล
3.   สารช่วยฟู   มีมากมายหลายชนิด ดังนี้
 -   ผงฟู   เป็นสารเสริมที่ช่วยให้ขนมมีความฟูนุ่ม นอกจากการตีให้ขึ้นฟู ผงฟูต้องใช้ชนิดการทำงานสองครั้งคือ ครั้งแรกทำงานระหว่างการผสมและครั้งที่สองทำงานในขณะที่ขนมกำลังจะสุก
 -   เบกกิ้งโซดา   เป็นสารเสริมอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เนื้อขนมขึ้นฟูและส่วนผสมไม่ตกตะกอน ใช้ใส่ในส่วนผสมที่มีส่วนผสมของของหนักและมีน้ำตาลในตัว เช่น ผงโกโก้ เนื้อกล้วยหอม
 -   ยีสต์   ช่วยเพิ่มปริมาณของเนื้อขนมปัง ทำให้มีลักษณะเนื้อและโครงสร้างที่ดี มีกลิ่นรสเฉพาะตัว ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการหมัก ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากสารประกอบต่าง ๆ ในแป้ง จึงทำให้แป้งขยายตัวใหญ่ขึ้น 
ยีสต์มี 3 ชนิด คือ 
ยีสต์สด    ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและมีอายุการเก็บสั้น
ยีสต์แห้ง   ไม่ต้องเก็บในตู้เย็น เป็นแบบละลายน้ำก่อนใช้ โดยให้ละลายในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 38 องศษเซลเซียส ใช้น้ำ 5 เท่าของยีสต์ ใส่น้ำตาล 10% ของน้ำหนักยีสต์ เช่น ใช้ยีสต์ 10 กรัม น้ำ 50 กรัม น้ำตาล 1 กรัม
ยีสต์สำเร็จรูปหรือยีสต์ผง   ช่วยลดเวลาในการผสมแป้ง ซึ่งไม่ต้องเก็บในตู้เย็น เพราะสามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิห้องธรรมดา เมื่อเปิดใช้แล้วเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
4.   ไข่ไก่   มีทั้งฟองขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ในการทำเค้กและคุกกี้มักใช้ไข่ไก่ขนาดกลาง แต่ถ้ามีไข่ไก่ขนาดเล็กก็ให้เพิ่มอีก 1 ฟอง เช่น ในตำรับใช้ไข่ไก่ 3 ฟองขนาดกลาง ถ้าเป็นฟองเล็กก็ใช้ 4 ฟอง ฟองใหญ่ก็ใช้ 2 ฟอง และต้องเป็นไข่ใหม่จึงจะมีความข้นหนืดสูง เพราะไข่เก่าจะมีน้ำมาก การสังเกตไข่ใหม่ให้ดูนวลที่เปลือกไข่ ผิวเปลือกจับแล้วขรุขระ ถ้าส่องกับแสงจะเห็นโพรงอากาศเล็กน้อย
5.   เนย    มีทั้งเนยสด เนยเทียมหรือมาการีน และเนยขาว
 -   เนยสด   ทำจากน้ำนมวัวชนิดเข้มข้น สีเหลืองอ่อน จึงต้องแช่เย็นไว้เสมอ ก่อนนำมาใช้ต้องทิ้งให้อ่อนตัวเล็กน้อยจึงจะผสมเข้ากันได้ดี
 -   เนยเทียมหรือมาการีน   มีสีเหลืองเข้มเกือบส้ม อยู่ในอุณหภูมิปกติได้โดยไม่ละลาย จึงไม่ต้องแช่ตู้เย็น
 -   เนยขาว   มีสีขาวตามชื่อเรียก นิยมมาทาถาด พิมพ์สำหรับอบกันขนมติดพิมพ์ หรือผสมกับเนยสดเพื่อตีเป็นครีมแต่งหน้าเค้ก
 -   เพสตรีมาการีน เป็นมาการีนที่ใช้ในการพับให้เกิดชั้นของพายชั้น มีความเหนียวและรีดคลึงได้ง่าย และทำให้ชั้นของแป้งสูงขึ้น
6.   นม   นิยมใช้นมสด หรือผสมนมข้นจืดกับน้ำเปล่าในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 คือนมข้นจืด 1 ส่วนผสมกับน้ำ 1 ส่วนให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ
 

7.   เกลือ   ช่วยปรุงแต่งรสชาติให้ขนมมีรสกลมกล่อม

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนราธิวาส
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา