ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงกบในกระชัง

โดย : นายประเสริฐ โพธิ์สร้อย วันที่ : 2017-03-24

ที่อยู่ : 19 หมู่ที่ 4 ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เหตุผลที่ทำคือ ต้องการหารายได้ เพื่อเลี้ยงชีพ และที่บ้านมีบ่อน้ำอยู่แล้ว และมองว่ากบเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งตลาดนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สเปน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ และกบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย และจำหน่ายได้ราคาคุ้มกับการลงทุน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างรายได้ไว้สำหรับใช้จ่ายในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารกบ

อุปกรณ์ ->

กระชัง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ในบริเวณพื้นที่ที่มีบ่อน้ำหรือมีสระน้ำขนาดใหญ่หรือมีร่องน้ำไหลผ่านสามารถเลี้ยงกบในกระชังได้ ขนาดของกระชังไม่ควรเล็กกว่า 1 x 2 x 1 ม. หรือใหญ่กว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ที่ลอยกระชังได้ ด้านบนกระชังต้องมีฝาปิดเพื่อป้องกันศัตรู พื้นที่ใต้กระชังใช้แผ่นกระดานหรือแผ่นโฟมสอดด้านล่าง เพื่อให้เกิดส่วนนูนในกระชังและกบได้ขึ้นไปอยู่อาศัยส่วนรอบๆ ภายนอกกระชังใช้วัสดุ เช่น แฝกหญ้าคาหรือทางมะพร้าว เพื่อไม่ให้กบมองเห็นทิวทัศน์นอกกระชัง มิฉะนั้นกบจะหาหนทางหลบหนีออกโดยกระโดดและชนผืนอวนกระชังเป็นเหตุให้ปาก เป็นบาดแผลและเจ็บปวดจนกินอาหารไม่ได้ ควรหมั่นตรวจดูรอยรั่วหรือขาดของกระชังอย่างสม่ำเสมอ กระชังสามารถใช้ในการเลี้ยงได้ดีตั้งแต่การอนุบาลลูกอ๊อด ลูกกบเล็กไปจนถึงใหญ่ และเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะในการอนุบาลลูกอ๊อดกบบลูฟร๊อกจะทำให้ลูกอ๊อดโตเร็วและสมบูรณ์

ข้อพึงระวัง ->

กบเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย ซึ่งเมื่อเกิดการตกใจ กบจะเกิดอาการชัก เป็นตะคริวและถึงกับช็อกตายได้ หรือเมื่อเกิดตกใจก็จะกระโดดเต้นไปมาในบ่อและจะเกิดอาการกระทบกระแทก เป็นแผลฟกช้ำ จุกแน่น จุกเสียด เมื่อเป็นมาก ๆ ก็มีโอกาสถึงตายได้เช่นกัน ดังนั้น การทำความสะอาดภายในบ่อเลี้ยงกบจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้
           1. งดให้อาหารกบ เพราะถ้ากบกินอาหารแล้วต้องกระโดดเต้นไปมาเพราะตกใจเนื่องจากคนลงไปรบกวนที่อยู่อาศัย โอกาสจุกเสียดแน่นถึงตายมีมาก
           2. ควรหาวัสดุที่โปร่งเป็นโพรง เช่น ทางมะพร้าวสุมทุม เพื่อให้กบเข้าไปหลบซ่อนตัว เมื่อเข้าไปทำความสะอาด กบจะเข้าไปหลบตัวในสุมทุมนั้น จะไม่ออกมากระโดดเต้นจนเป็นเหตุให้เจ็บป่วย
           3. หลังจากทำความสะอาดแล้ว อาหารมื้อต่อไปควรผสมยาลงไปด้วยทุกครั้งเพื่อบรรเทาการอักเสบลงได้ อนึ่ง ลักษณะการงดให้อาหารเช่นนี้จะต้องกระทำทุกครั้งที่มีการลำเลียงเคลื่อนย้ายกบ ไม่ว่าจะเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือลูกกบก็ตาม ยาที่ผสมในอาหารให้กบกินนั้น ถ้ามีอาการไม่รุนแรงนักก็ใช้ออกซีเตต้าซัยคลิน 1 ช้อนแกง ผสมลงในอาหาร 3 กก. เช่นกัน ทั้งนี้เพราะตัวยาแรงผิดกันและให้กบกินมื้อเดียวแล้วหยุดไปประมาณ 5-6 วัน (เฉพาะอาหารที่ผสมยา) เพื่อสังเกตดูอาการของกบว่าทุเลาลงแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่มีอาการดีขึ้นก็ให้อาหารผสมยาขนาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 1 มื้อ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนนทบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา