ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การถักสานเชือกร่ม

โดย : นางปราณี เคลื่อนคล้อย วันที่ : 2017-03-24

ที่อยู่ : 27 หมู่ที่ 1 ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

      การจักสานเป็นอาชีพที่ชาวบ้านหารายได้ช่วยจุนเจือครอบครัว คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาด้านการจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รู้จักการนำหวาย ไม้ไผ่ ก้านลานมาทำตะกร้า กระบุง ชะลอม ผลิตใช้สอยในครัวเรือน สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใช้เอง การจักสานสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในถิ่นฐานเดิม มีผู้ทรงภูมิปัญญาถ่ายทอดองค์ความรู้แบบดั่งเดิม ซึ่งยังไม่มีการพัฒนารูปแบบแต่อย่างใด จักสานเป็นผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรือง ประเพณี วัฒนธรรมของพื้นบ้าน มีการสืบทอดเทคนิควิธีการมาหลายช่วงอายุคน ซึ่งมีพื้นฐานการพัฒนาลวดลายในแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นฐานในการออกแบบจากสภาพการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา และธรรมชาติที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัยเดิมสมัยก่อน ในชุมชนมีการปลูกไม้ไผ่ มีกรรมวิธีการจักสานแบบโบราณใช้วัตถุดิบในพื้นที่นำมาจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือน เมื่อก่อนนี้กลุ่มจักสานมีมาก ผลผลิตล้นตลาดราคาผลิตภัณฑ์ถูก แต่วัตถุดิบแพง จึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนจากไม้ไผ่เป็นจักสานพลาสติก ต่อมาเมื่อทางส่วนราชการมาส่งเสริมให้การสนับสนุน ให้มีการจักสานเชิงพาณิชย์ โดยมีชาวบ้านมาเป็นสมาชิกกลุ่ม ทำให้มีอาชีพเสริม มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มีสถานที่ฝึกอบรม ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เกิดจากความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เน้นความสวยงาม ประณีตและเรียบร้อยจากการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการต่างๆ ทำให้กลุ่มมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น จักสานพลาสติก เป็นศิลปะการจักสานที่มีลวดลายสวยงาม การออกแบบ สีสันของเส้นพลาสติก ลวดลายต่าง ๆตามความต้องการของลูกค้า มีความละเอียดประณีต เรียบร้อย ได้มาตรฐาน คงทน สมประโยชน์ ราคาไม่แพง มีการพัฒนารูปแบบทันสมัยอย่างต่อเนื่องและเป็นสากล แต่กระบวนการผลิตยังใช้แบบดั่งเดิม ทำให้มองเห็นคุณค่าและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ เป็นผลงานจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ประสานภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ให้เข้ากันได้อย่างลงตัวและเหมาะสมการส่งเสริมและการอนุรักษ์การจักสาน โดยให้มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนารูปแบบตลอดเวลา จึงมีการถ่ายทอดให้กับผู้ที่ต้องการศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพให้กับแม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างมีคุณภาพและเป็นการอนุรักษ์ และป้องกันภูมิปัญญามิให้สูญหาย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างอาฃีพเสริมให้กับชุมชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

  1. เส้นพลาสติก
  2. แบบซึ่งทำด้วยไม้ ตามรูปร่าง ขนาดที่ต้องการ
  3. ลวด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. ตัดเส้นพลาสติกยาวกว่ากระเป๋าแบบ 20 - 30 ซม. จำนวนความกว้าง 11 เส้น จำนวนความยาว 23 เส้น
  2. นำเส้นพลาสติกที่ตัดไว้โดยนำ ๑๑ เส้นมาเรียงไว้ (ความกว้างของกระเป๋า)
  3. นำเส้นพลาสติกที่เหลือ 23 เส้น นำมาสานที่ละเส้น
  4. เมื่อนำมาสานครบทั้ง 23 เส้นแล้ว หลังจากนั้นจัดเส้นพลาสติกให้แน่นไม่ให้มีช่องว่าง
  5. เมื่อจัดเส้นพลาสติกแล้ว ให้นำเส้นพลาสติกทุกด้านมาขัดกับลาย โดยขัดเว้นเส้น
  6. ขึ้นลายข้างกระเป๋า โดยการสานจะใช้ 3 เส้นในการสาน 1 รอบ
  7. ดึงเส้นพลาสติกที่ขัดไว้มาสานกับ 3 เส้นที่ขึ้นลาย
  8. สานสลับเส้น
  9. เมื่อขัดเส้นที่ขัดไว้กับลายแล้ว ให้สานเส้นถัดไปเหมือนเดิม.๑๐ แล้วพับลงมาขัดกับลาย 
  10. เมื่อสานเสร็จแล้ว ให้บีบตามขอบของกระเป๋า เพื่อทำให้เป็นทรง
  11. ใส่หูถือกระเป๋าและกระดุม ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ข้อพึงระวัง ->

ตอนขึ้นฐานกระเป๋าให้วางเรียงเส้นพลาสติก ติดกัน ๗ เส้น แล้วใช้หนังสือวางทับ เพื่อไม่ให้พลาสติกขยับไปมาแล้วค่อย ๆ เอาพลาสติก ๑๗ เส้น สอดสลับกันจนหมด ก็จะได้ฐานกระเป๋า (ถ้าต้องการให้กว้าง ยาว สูง มากกว่านี้ก็ตามชอบ แต่ต้องเผื่อกว้างยาว สูง ๕ นิ้ว ไว้สำหรับสอดเก็บเสมอ)

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนนทบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา