ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ไม้ดอกไม้ประดับ

โดย : นายวิโรจน์ แก้สประดิษฐ์ วันที่ : 2017-03-24

ที่อยู่ : 74/9 หมู่ 3 ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปีที่จังหวัดนนทบุรีน้ำท่วมหนัก พื้นที่เกษตรเสียหายไปจำนวนมาก นับแต่นั้นเป็นต้นมา ทุเรียนเมืองนนท์ มะม่วงยายกล่ำ กระท้อนบางกร่างกลายเป็นผลไม้หายากราคาแพง เพราะต้นพันธุ์สำลักน้ำตายหมด

เกษตรกรส่วนใหญ่เอาตัวรอดด้วยการหันมาปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจากเมืองนนท์ค่อนข้างได้เปรียบในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ เพราะมีแม่น้ำลำคลอง มากมาย ลักษณะดินเป็นดินเหนียว มีสีดำ ทุกปีประมาณเดือนเก้าถึงเดือนสิบสองน้ำเหนือหลาก น้ำเหนือจะไหลแรง และท่วมขังพื้นที่จังหวัดนนทบุรีอยู่ระยะหนึ่งทำให้เกิดตะกอนดินทับถม และเอื้อประโยชน์ต่อการเพาะปลูกเป็นอย่างดีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนผลไม้ และเพาะขยายกิ่งพันธุ์ไม้จำหน่าย ไม้ดอกไม้ประดับเป็นหลักทั้งนี้เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูกและไม่มีปัญหาเรื่องน้ำการเกษตร ส่วนตัวปราชญ์เองมีอาชีพในการขยายพันธุ์ไม้ประดับและมีหน้าร้านจำหน่าย  ประชากรตำบลบางกร่างหลายครัวเรือนก็นิยมขยายพันธุ์และปลูกไม้ดอกไม้ประดับและมีกิจกรรมถ่ายทอกองค์ความรู้สู่ประชาชนในหมู่บ้านเพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวสวนอีกทางหนึ่ง

การปลูกพันธุ์ไม้บนพื้นดิน ทั้งนี้หมายถึงการนำพันธุ์ไม้มาปลูกลงในบริเวณสถานที่บนพื้นดิน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเราได้มีการปลูกเป็น 2 ลักษณะด้วยกันคือ

1. สำหรับไม้ยืนต้น เช่น ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้นที่เป็นต้นไม้ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่แล้วเราก็ปลูกเป็นต้น ๆ ไป โดยขุดปลุกปลูกและปลูกในหลุมที่ปลูกแต่ละหลุมหรือแต่ละต้นไป หลุมที่ปลูกต้นหนึ่งนั้นอาจมีระยะห่างกันแล้วแต่ขนาดและความพอใจของผู้ปลูก อาจจะปลูกเป็นกลุ่ม 3 หรือ 5 ต้น ในหลุมที่ห่างกันระยะ 6-8 เมตรก็ได้ หรืออาจจะปลูกเป็นหลุ่ม ๆ เรียงแถวกันโดยมีระยะห่างกันหลุมละ 8 เมตรก็ได้ เช่นปลูกต้นไม้เป็นแถวสองข้างถนน หรือปลูกปาล์มขวดเป็นแถว ระหว่างหลุมที่ปลูกต้นไม้ใหญ่นั้นอาจจะมีหลุมปลูกไม้พุ่มแซมอยู่ระหว่างต้นไม้ใหญ่ก็ได้ เช่น ต้นเข็ม ต้นแก้ว หรือต้นยี่โถ การปลูกพันธุ์ไม้วิธีนี้ ขุดหลุมหนึ่งก็ใช้ปลูกต้นไม้เพียงต้นเดียว

1.1 ปลูกเป็นแปลงหมู่รวม ๆ กันในที่แห่งเดียวกัน การปลูกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับแบบนี้

โดยมากทำเป็นแปลงมีขนาดต่าง ๆ กัน เช่น กว้าง 1 เมตร ยาว 4 หรือ 6 เมตร ตามข้างถนน หรือขอบทางเดิน หรืออาจทำเป็นแปลงมีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ เช่นเป็นวงกลมล้อมรอบโคนต้นไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมหรือรูปลักษณะตามแบบเรขาคณิต หรือแบบธรรมชาติที่มีรูปร่างไม่แน่นอน บนแปลงนั้นก็ปลูกพันธุ์ไม้ดอกหรือไม้ใบ ไม้ประดับต่าง ๆ ให้ขึ้นเต็มแปลง ถ้าเป็นพันธุ์ไม้ประดับมักนิยมตัดให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ แบบต่าง ๆ ให้เข้ากับลักษณะของบริเวณสถานที่ บางครั้งก็มีการปลูกพันธุ์ไม้สลับสีสันกัน โดยเฉพาะแปลงที่ปลูกพันธุ์ไม้ดอกนานาชนิดมีสีสันต่าง ๆ กันน่าดู

2. การปลูกพันธุ์ไม้ในกระถาง หมายถึงการที่นำพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับบางชนิดมาปลูกในกระถางที่มีลักษณะรูปร่างต่าง ๆ กัน ส่วนมากก็เป็นกระถางดิน กระถางเคลือบ ซีเมนต์ หรือไม้ ความประสงค์ส่วนใหญ่ก็เพื่อเคลื่อนย้ายไปประดับในสถานที่ต่าง ๆ ได้ตามความพอใจ และประโยชน์ที่ได้รับอีกประการหนึ่งก็คือสะดวกแก่การดูแลรักษา และเกิดความสวยงามได้ทุกโอกาสที่ความพอใจเปลี่ยนแปลงไปด้วย การใช้ไม้กระถางประดับนั้นอาจจะต้องประดับบนพื้นดิน บนโต๊ะ หรือหลังตู้ภายในห้อง หรือบางโอกาสบางชนิดก็ใช้แขวนประดับเช่นพวกกล้วยไม้ เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาเลือกกระถาง เลือกพันธุ์ไม้ให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย

วัตถุประสงค์ ->

  1. สามารถทำเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ  สามารถทำเป็นอาชีพของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี  สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตปีละจำนวนมาก ๆ
  1. ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เมื่อมีการรวมตัวกันผลิตไม้ดอกไม้ประดับ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

  1. กรรไกรตัดกิ่ง
  2. ดิน และวัสดุเพาะ
  3. กระถางดินเผาหรือพลาสติกหรือวัสดุไม่ได้ใช้ต่างๆ เช่น กะละมัง ถังพลาสติก เป็นต้น
  4. ยาป้องกันเชื้อรา เช่น แคปแทน เบนเลท เป็นต้น
  5. ฮอร์โมนเร่งราก เช่น ออกซิน เป็นต้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. การเตรียมดิน และวัสดุเพาะ

ดินที่ใช้ผสมควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ด้วยการผสมกับวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขุ๋ยมะพร้าว เป็นต้น ในอัตราส่วนดินกับวัสดุ 2:1 หรือ 1:1เมื่อเตรียมวัสดุเพาะเสร็จให้บรรจุใส่กระถางดินเผาหรือพลาสติก หรืออาจก่ออิฐบล็อกกั้นเป็นแปลงเพาะชำหรือทำการยกร่องแปลงสูงด้วยการใส่วัสดุเพาะที่เตรียมไว้ 

  1. วิธีการปักชำ

ก่อนทำการปักชำกิ่งทุกชนิดให้กรีดบริเวณโคนกิ่งยาว 1-2 ซม. ตามแนวยาว 1-2 ด้าน และแช่ฮอร์โมนเร่งราก และยาป้องกันเชื้อราเสียก่อนด้วยการจุ่มโคนกิ่งปักชำตามระยะโคนกิ่งที่ปักชำในดินนาน 10-30 นาที

  • การปักชำกิ่ง จะใช้วิธีการเสียบกิ่งลึกประมาณ 5-10 ซม. ขึ้นอยู่กับความยาวของกิ่ง และชนิดพืช
  • การปักชำราก จะใช้วิธีการชำในลักษณะการปักชำกิ่งหรือการชำโดยการกลบทั้งราก
  • การปักชำใบ จะใช้วิธีปักชำใบบางส่วนหรือการชำก้านใบลงดินโดยมีใบบางส่วนอยู่พื้นเหนือดิน
  • การปักชำใบที่มีตา จะใช้วิธีการปักชำเฉพาะส่วนที่เป็นโคนกิ่งที่มีตาให้ฝังลงดิน โดยส่วนใบหรือตาจะพ้นเหนือดินด้านบน
  1. การดูแลรักษา

การให้น้ำจำเป็นต้องให้น้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เช้า-เย็น อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาความชุ่มชื้น โดยระวังไม่ให้น้ำมากเกินไปจนน้ำท่วมขังหรือดินเปียกมาก เพราะอาจทำให้กิ่งเน่าได้ง่าย ส่วนการใส่ปุ๋ยไม่จำเป็นในระยะแรก แต่อาจใส่ปุ๋ยก่อนระยะย้ายกล้าออกปลูกประมาณ 1-2 อาทิตย์ ด้วยการละลายปุ๋ยหรือใช้ปุ๋ยน้ำ สูตร 16-20-0 

  1. การเกิดราก

การเกิดรากของวิธีการปักชำ พืชจะกระตุ้นให้เกิดรากบริเวณเส้นใยของกิ่ง ก้านใบ และใบ แทงออกมาเป็นรากแทนในสภาวะความชื้น และอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยรากที่เกิดอาจเกิดมากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเส้นใยของกิ่ง และการกระตุ้น เช่น การกรีดโคนกิ่ง การแช่ฮอร์โมน เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

เนื่องจากการปลูกไม้กระถางประดับเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับคน หากสามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้มากเท่าไรหรือไม่ใช้เลยยิ่งดี โดยเฉพาะไม้กระถางที่ใช้ประดับในอาคารบ้านเรือน หากจำเป็นต้องใช้ยากำจัดแมลงควรกระทำอยู่ภายนอกอาคารและหลีกเลี่ยงยาที่มีอันตรายมากๆ มีฤทธิ์ตกค้างนานและมีกลิ่นรุนแรง ก่อนนำพรรณไม้เข้าประดับในอาคารควรงดฉีดยา หรือทิ้งไว้จนหมดกลิ่นและฤทธิ์เสียก่อน สิ่งสำคัญควรเลือกใช้ยาให้ถูกต้องกับแมลงที่ต้องการกำจัด แล้วนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะโดยทั่วไปยาฆ่าแมลงมีอันตรายต่อคนอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีอันตรายก็ยิ่งมากขึ้น

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนนทบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา