ความรู้สัมมาชีพชุมชน

แปรรูปกระท้อนกวน กล้วยกวน

โดย : นางชูศรี ศรีเกตุ วันที่ : 2017-03-24-16:12:36

ที่อยู่ : บ้านบางนางเกริก 3/1 หมู่ 6 ตำบลบางกร่าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

"กระท้อน" เป็นผลไม้เมืองร้อนซึ่งเชื่อกันว่าถิ่นกำเนิดน่าจะอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีหรือเมืองนนท์มากว่า 100 ปีแล้ว ซึ่งเมืองนนท์นั้นเป็นแหล่งที่ได้ชื่อว่าปลูกผลไม้รสชาติอร่อยล้ำ ทั้งนี้เพราะเมืองนนทบุรีตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีน้ำท่วมถึง ซึ่งมีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ดินเป็นดินตะกอนที่เกิดจากการพัดพามาของน้ำ ผืนดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์มาก เหมาะแก่การทำสวนผลไม้ ชาวเมืองนนท์จึงมีอาชีพการทำสวนผลไม้มาเป็นระยะเวลายาวนานสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ

       ดังที่ปรากฏในจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางของ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส ที่เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความตอนหนึ่งว่า "สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่ง โดยทวนขึ้นสู่เมืองสยามถึง ๔ ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ ทำให้บ้านเมืองเหล่านี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหาร ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันมาก" ซึ่ง "ตลาดขวัญ" ก็คือจังหวัดนนทบุรีนั่นเอง 

       มีเรื่องเล่ากันต่อ ๆ กันมาว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเสวยกระท้อนพันธุ์นิ่มนวล จากสวนในคลองอ้อมเมืองนนทบุรี ทรงโปรดมากถึงกับให้ยกเว้นการเก็บอากรสวนกระท้อนพันธุ์นิ่มนวล และในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสต้นสวนกระท้อนของนายบุตร ในคลองอ้อม ตำบลบางกร่าง ทรงพอพระราชหฤทัย และชมเชยว่าเป็นกระท้อนที่มีรสชาติดี

       กระท้อนที่มีชื่อเสียงจึงต้องมาจากสองแหล่งคือ ในคลองอ้อม ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง เรียกว่า กระท้อนบ้านกร่าง และที่ตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย

       จากช่วงเวลาอันยาวนานนับจากกำเนิดพันธุ์กระท้อนดั้งเดิม ชาวสวนเมืองนนท์ได้พยายามขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ จนทำให้เกิดการกลายพันธุ์ไปจากเดิม และมีการตั้งชื่อขึ้นใหม่อีกมากมายกว่าร้อยพันธุ์ อาทิ ขันทอง อีล่า ตาอยู่ นิ่มนวล เทพสำราญ ทับทิม เทพสำราญไกรทอง ปุยฝ้าย ตระกูลทองก็มี ทองใบใหญ่ ทองหยอด ผอบทอง ตระกูล " อี " เช่น อีล่า อีเมฆ อีท้ายครัว อีแป้น อีจืด เป็นต้น

       ปัจจุบัน ตำบลบางกร่างมีกระท้อนลดน้อยลง เนื่องจาก ภัยทางธรรมชาติ จึงหันมาแปรรูปกล้วยกวน แต่หากฤดูกาลใดมีกระท้อนมากก็จะแปรรูปกระท้อนกวน

วัตถุประสงค์ ->

1.      ทำให้มีอาหารบริโภคตลอดปี และมีอาหารนอกฤดูกาลไว้รับประทาน

2.      ช่วยรักษาคุณค่าและคุณภาพของอาหารให้คงทนอยู่ได้นาน

3.      ช่วยประหยัดรายจ่ายค่าอาหาร เพราะสามารถเก็บรักษาอาหารไว้ได้

4.      ส่งเสริมการผลิตในครอบครัว ให้ช่วยประหยัดรายจ่ายค่าอาหาร และเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย

5.      ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กล้วยกวน

1.      กล้วยน้ำว้าสุกงอม 20 ลูก

2.      น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย

3.      มะพร้าว 500 กรัม

 

กระท้อนกวน

1.      เนื้อกระท้อน          2        ถ้วย

2.      น้ำตาลทราย         1 ½    ถ้วย

3.      เกลือป่น               1 ½   ช้อนชา

4.      น้ำเปล่า               1 ½    ถ้วย

อุปกรณ์ ->

1.      หม้อ

2.      ทัพพี

3.      เตาแก๊ส

4.      กระทะทอง

5.      กระดาษแก้ว

6.      มีด

7.      ถาด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการกล้วยกวน

1.      ปอกเปลือกกล้วย ปั่นให้ละเอียด

2.      คั้นมะพร้าวให้ได้น้ำกะทิ 2 ถ้วย หางกะทิ 2 ถ้วย

3.      นำหัวกะทิ ตั้งไฟอ่อนเคี่ยวให้เป็นน้ำมัน ทิ้งพักไว้

4.      ผสมหางกะทิ กับน้ำตาล ตั้งไฟกลางให้น้ำตาลละลาย ยกลง กรองด้วยผ้าขาวบาง เทลงในกระทะทอง ใส่กล้วย ยกขึ้นตั้งไฟอ่อน กวนด้วยพายกวนขนม ประมาณ 8 – 9 ชั่วโมง จนมีลักษณะข้นเหนียว

ใส่น้ำมันกะทิ ในข้อที่ 3 ทีละน้อย กวนให้เข้ากันจนกล้วยแห้งเหนียวพอปั้นได้ ยกลง ทิ้งไว้ให้อุ่น คลึงเป็นแท่งยาว ตัดเป็นท่อน ๆ ห่อด้วยกระดาษแก้ว เก็บใส่ขวดโหล ไว้รับประทานได้นาน

กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการกระท้อนกวน

 

1.      ปอกเปลือกกระท้อนสับพอหยาบ ๆ แล้วนำไปแช่ในน้ำเกลือ2-3 วัน

2.      นำกระท้อนที่แช่ไว้ขึ้นมาบีบน้ำออกให้แห้ง นำมาสับให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง นำน้ำตาลทราย แบะแซ และกระท้อน ผสมลงในกระทะตั้งไฟความร้อนกลาง ๆ  กวนจนเหนียว แล้วยกลงจากเตาเทใส่ภาชนะทิ้งไว้ให้เย็น แล้วตักบรรจุกล่องหรือห่อกระดาษแก้ว ตามต้องการภูมิปัญญาด้านกระท้อนกวน

ข้อพึงระวัง ->

1.      เมื่อคุณเริ่มกวนผลไม้นั้นก็ควรที่จะให้ใช้ไฟปานกลาง จากนั้นถ้าหากว่าพอ เริ่มงวดก็ให้คุณลดไฟให้อ่อนลง แต่ที่สำคัญคือ คุณต้องคอยคนตลอดเวลา และระวังอย่าให้อาหารที่กวนนั้นไหม้และติดกระทะโดยเด็ดขาด ถ้าหากว่าเกิดการไหม้ก็ต้องเปลี่ยนกระทะในทันทีนั่นเองค่ะ เพราะถ้าไม่เปลี่ยน จะทำให้รสชาติของอาหารที่กวนนั้นออกรสขมและเปลี่ยนรสได้นั่นเองค่ะ

2.      การกวน กับน้ำตาล อย่างเดียว อย่างเช่น การทำมะละกอกวนเส้นก็จะต้องได้อาหารกวนที่ตกผลึก แข็งและไม่ใสจนเกินไปจากนั้นถ้าหากว่าคุณใส่น้ำมะนาวลงไป เป็นส่วนผสมด้วยในขณะที่กวนก็จะได้อาหารกวนใส และมีความเหนียวมากยิ่งขึ้น และวิธีนี้ก็จะไม่ทำให้น้ำตาลไม่ตกผลึกได้นั่น

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนนทบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา