ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกดาวเรือง

โดย : นายประสิทธิ์ เเก้ววิจิตร วันที่ : 2017-08-23-11:00:31

ที่อยู่ : 47/1 ม.3 ต.ทุ่งโพธิ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ดาวเรืองเป็นพืชเศษฐกิจที่มีการปลูกันในปริมาณที่น้อยในพื้นที่ภาคใต้ จึงถือได้ว่าการปลูกดาวเรืองจึงเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้เเก่เกษตรกรในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่สร้างอาชีพเสริมให้เเก่เกษตรกร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.ถาดเพาะ 200 หรือ 288 หลุม

2.พีทมอส (วัสดุเพาะ)

3.คีม                  
4.ตะกร้าสำหรับกลบเมล็ด                  

5.ถังพ่นสารเคมี

6.สารป้องกัน และกำจัดเชื้อรา โพรพาโมคาร์บ หรือ เมทาแลกซิล

7.ถุงมือ (ป้องกันสารเคมี)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการเพาะ

    1.เตรียมน้ำสำหรับผสมวัสดุเพาะ โดยผสมโพรพาโมคาร์บ อัตรา 0.4 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเมทาแลกซิล 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร เพื่อป้องกันโรคเน่าคอดิน

    2.ผสมน้ำที่เตรียมไว้กับพีทมอส โดยค่อยๆเติมน้ำที่ละน้อย คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นลองบีบวัสดุเพาะเพื่อทดสอบว่า น้ำเข้ากับวัสดุเพาะได้ดีหรือไม่  หากบีบแล้วมีน้ำออกมาเล็กน้อยตามร่องมือ และวัสดุเพาะเกาะกันเป็นก้อนดีถือว่าใช้ได้ หากมีน้ำไหลออกมามากเกินไป ให้ผสมวัสดุเพาะเพิ่ม หรือไม่มีน้ำซึมออกมาแสดงว่าน้ำน้อยเกินไป ให้เพิ่มน้ำและบีบทดสอบใหม่

   3.นำวัสดุเพาะที่เตรียมไว้ใส่ถาดเพาะ 200 หรือ 288 ให้เต็มหลุมกระแทกถาดเพาะ 1 ครั้งเพื่อให้วัสดุเพาะลงถึงก้นหลุม เติมวัสดุเพาะให้เต็ม และปาดให้เรียบพอดีกับหลุม

   4.นำถาดเพาะเปล่ามาวางบนถาดเพาะที่ใส่วัสดุเพาะแล้ว จากนั้นกดถาดเปล่าเพื่อทำหลุม โดยหลุมที่กดมีขนาดลึกพอดีกับเมล็ดประมาณ 0.5 ซม.

   5.ทำการหยอดเมล็ด 1 เมล็ดต่อ 1 หลุม (วางนอนได้เลยไม่จำเป็นต้องนำหัวด้านใดด้านหนึ่งปักลงไป)    6.นำวัสดุเพาะที่ยังไม่ได้ผสมน้ำมาใส่ตะกร้าเพื่อร่อนกลบเมล็ด โดยกลบให้มิดเมล็ด เนื่อการดูแลต้

งจากดาวเรืองไม่ต้องการแสงในการงอก และเป็นการรักษาสภาพความชื้นในการงอกของเมล็ด

    7.พ่นสารเคมีโพรพาโมคาร์ อัตรา 1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร พ่นให้ทั่วถาดเพื่อป้องกันโรคเน่าคอดินอีกครั้ง

     8.นำถาดเข้าไปในบริเวณที่พรางแสง 80%-90% และรักษาความชื้นโดยการพ่นน้ำ อย่าให้ถาดเพาะแห้งจนเกินไปเพราะจะทำให้เมล็ดไม่งอก หรือแฉะจนเกินไป อาจทำให้เป็นโรคเน่าคอดินในระยะงอกของเมล็ดได้

 

การดูเเลต้นกล้า

ระยะที่ 1. เป็นระยะที่ต้นกล้าเริ่มงอก หลังจากเพาะเมล็ดแล้ว 3-5 วัน ในระยะนี้ควรรักษาความชื้นโดยการพ่นน้ำ และนำไปในที่พรางแสง 50%

ระยะที่ 2. เป็นระยะใบเลี้ยงเริ่มแผ่ โดยใช้เวลาจากระยะแรก 1-2 วันควรนำออกแดดจัดเพื่อป้องกันต้นกล้ายืดเข้าหาแสง ในช่วง 1-2 วันนี้ควรรักษาความชื้นไว้อยู่เนื่องจากต้นกล้ายังเล็ก เมื่อต้นกล้าแข็งแรงควรปล่อยให้ผิววัสดุปลูกแห้งบ้าง เพื่อป้องกันโรคเน่าคอดิน และจะทำให้ต้นกล้าแข็งแรงกว่าการให้น้ำตลอดเวลา ในระยะนี้ยังไม่ควรให้ปุ๋ยเนื่องจากต้นกล้ายังมีอาหารสะสมอยู่ และในตัววัสดุเพาะเองมีการใส่ธาตุอาหารไว้ในระดับหนึ่งแล้ว

ระยะที่ 3. เป็นระยะที่เริ่มมีใบจริง 1 คู่ เริ่มให้ปุ๋ยทางน้ำโดยผสมปุ๋ยสูตร 15-0-0 (แคลเซียมไนเตรท) หรือปุ๋ยสูตร 20-20-20 อัตรา 3 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ย 46-0-0 หรือยูเรีย เพราะจะทำให้ต้นกล้าอ่อนแอ ความชื้้นควรปล่อยให้ผิวหน้าวัสดุแห้ง แต่ต้นไม่เหี่ยวจึงจะทำการรดน้ำ หรือให้ปุ๋ยจนชุ่ม

ระยะที่ 4. เป็นระยะที่เริ่มมีใบจริง 2 คู่ เพิ่มการให้ปุ๋ย โดยให้ปุ๋ยสูตร 15-0-0 หรือ 20-20-20 อัตรา 6 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร ความชืนเหมือนกันกับระยะที่ 3

 

การเตรียมแปลง 

การไถพรวน ควรไถลึกประมาณ 30-50 ซม. และหว่านปูนขาว หรือโดโลไมท์อัตรา200-400 กก./ไร่ เพื่อปรับสภาพดินตากทิ้งไว้ 4-5 วัน

จากนั้นตีพรวนดินให้ละเอียด และขึ้นแปลงปลูกขนาด 1.20 เมตร สำหรับแปลงคู่ และ 40-50 ซม. สำหรับแปลงเดี่ยว

 

การใส่ปุ๋ยรองพื้น 

      ก่อนปรับแปลงปลูกควรเพิ่มธาตุอาหารให้เป็นไปตามความต้องการของพืช ในปริมาณที่เพียงพอ เช่น หว่านปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25-30 กก./ไร่ 

      ถ้าหากดินที่ทำการปลูกเป็นดินเหนียวควรเพิ่มอินทรีย์วัตถุลงไป เช่น ปุ๋ยคอก ขี้ไก่ ขุ๋ยมะพร้าว และอื่นๆ เมื่อทำการหว่านปุ๋ย หรือเติมอินทรีย์วัตถุลงไปแล้วให้คลุกเคล้า และเกลี่ยแปลงให้เรียบ

 

การย้ายปลูก

           วิธีการย้ายปลูก ควรย้ายต้นกล้าที่มีอายุไม่เกิน 15  วัน หรือมีจำนวนใบจริง 2-3 คู่ ไม่ควรย้ายต้นกล้าที่มีอายุมากเกินไปเพราะระบบรากจะแผ่กระจายได้ช้า เนื่องจากระบบรากนั้้นแก่เกินไป ดังนั้นควรย้ายกล้าระหว่าง 12-15 วัน (ขึ้นอยู่กับสภาพต้นกล้าว่ามีความแข็งแรงและมีใบจริง 2-3 คู่) จะทำให้รากของต้นกล้ามีการพัฒนาได้ดีกว่า การหาอาหารของรากก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
            ช่วงเวลาในการย้ายปลูก ช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การย้ายปลูกคือช่วงเย็น (แดดไม่แรง) เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้นกล้าส่งผลให้ต้นกล้ามีการตั้งตัวได้ดีหลังการย้ายปลูก
            ระยะที่เหมาะสมต่อการปลูก ระยะปลูกในแต่ละฤดูกาลจะมีความแตกต่างกันตามความเหมาะสม ดังนี้
- ฤดูร้อน และฤดูหนาว ระยะ 35-40 ซม. x 35-40 ซม.แนะนำให้ปลูกแถวคู่จะให้ผลดีกว่าแถวเดี่ยว เนื่องจากแถวคู่จะช่วยเก็บความชื้นในดินได้ดีกว่าแถวเดี่ยว
- ฤดูฝน ระยะ 50 ซม. x 50 ซม.แนะนำให้ปลูกแถวเดี่ยว เนื่องจากจะสามารถช่วยลดการเกิดโรคพืชได้ ความลึกของหลุมประมาณ 4-5 ซม. และพยายามปลูกต้นกล้าให้ตั้งตรง
  

การให้น้ำ

              ช่วงหลังการย้ายปลูกควรให้น้ำสม่ำเสมอจนต้นฟื้นตัว ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นควรรักษาความชื้นในดินให้เหมาะสม ไม่แห้งจนต้นเหี่ยว และไม่แฉะ หรือน้ำขังเป็นเวลานานเกินไป หากดินขาดความชื้นจะทำให้แมลงพวกเพลี้ยไฟ ไรแดง ระบาดได้ง่าย และหากดินมีน้ำขัง หรือแฉะจนเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคได้ง่ายเช่นกัน

 

การให้ปุ๋ย

   แนะนำให้ละลายน้ำรดเพราะพืชจะสามารถนำไปใช้ได้เลย อัตรา 1 กก./ น้ำ 100 ลิตร 1 ครั้งต่อสัปดาห์

 

วิธีการดูแลหลังย้ายปลูก

               การกลบโคนต้นถือเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกดาวเรือง เนื่องจากการกลบโคนจะช่วยให้ดาวเรืองแตกรากใหม่ออกมาได้มากขึ้น ทำให้ดาวเรืองสามารถหาอาหารได้มากขึ้น การเจริญเติบโตก็มากขึ้นไปด้วย  ควรกลบโคนอย่างน้อย 2 ครั้ง ในช่วงหลังเด็ดยอด และก่อนออกดอก โดยการโรยปุ๋ยเม็ดสูตร 15-15-15 และทำการกลบโคนให้ชิดกับข้อใบคู่ล่างสุด

                การเด็ดยอด ควรทำการเด็ดยอดหลังการย้ายปลูกประมาณ 10-15 วัน ต้องมีใบจริงอย่างน้อย 3 คู่ เด็ดยอดออก 1 คู่โดยใช้มือด้านหนึ่งจับข้อที่ต้องการเด็ด   และโน้มกิ่งด้านบนลงจนหักชิดข้อที่จับ ช่วยในการแตกทรงพุ่มของลำต้น และความสูงให้สม่ำเสมอกัน แต่ดาวเรืองที่ทำการเด็ดยอดจะทำให้การออกดอกช้าลงประมาณ 1 สัปดาห์
(ในช่วงวันสั้น หรือฤดูหนาว แนะนำให้เด็ดยอดเพื่อให้ลำต้นสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ออกดอกเร็วจนเกินไป)
 

การจัดการเพื่อให้ออกดอกต่อเนื่อง

-    ตัดดอกที่เสียออกจากแปลงปลูก
-    ให้ความชื้นสม่ำเสมอ
-    ให้ธาตุอาหารรอง เช่น แคลเซียม, โบรอน, แมกนีเซียม, สังกะสี หรือธาตุอาหารอื่นที่จำเป็น

ข้อพึงระวัง ->

การเก็บเกี่ยวควรใช้กรรไกรตัดเพื่อไม่ให้กิ่งช้ำ

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา