ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายประสิทธิ์ อ่อนเกตุผล วันที่ : 2017-07-02-20:53:52

ที่อยู่ : 30 ม.9 ต.ท่าซอม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สภาพพื้นที่เคยเป็นบ่อกุ้งร้าง  ต้องการพลิกฟื้นสร้างรายได้ด้วยการเลี้ยงปลา

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่มรายได้

ลดรายจ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธ์ปลานิล

อาหารปลา

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

บ่อดิน

ควรมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพี่อความสะดวกในการตีอวนจับปลา หรือการจัดโดยการระบายน้ำออกหมด ขนาดของบ่อไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะจะดูแลยาก การให้อาหารไม่ทั่วถึง เมื่อเกิดปัญหาโรค-ปรสิค การลงยาจะสิ้นเปลืองมาก เมื่อน้ำเสียการถ่ายน้ำไม่สามารถทำได้ทันที ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเล็กเกินไปก็จะเสียพื้นที่คันบ่อมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นขนาดของบ่อที่เหมาะสมก็คือ 800-1,600 ตารางเมตร (0.5-1 ไร่)

 

อย่างไรก็ตามควรจะพิจารณาสภาพพื้นที่เป็นหลัก ว่าใช้บ่อขนาดใดจึงจะใช้เนื้อที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการขุดบ่อ ควรขูดผิวดินประมาณ 15-20 เซนติเมตร ควรราดน้ำและอัดดินให้แน่นเพื่อทำให้คันบ่อแข็งแรงขึ้น ระดับน้ำในบ่อควรอยู่ในระดับ80-100 ซ.ม. ดินบ่อควรสูงกว่าระดับน้ำอย่างน้อย 50 ซ.ม. เพื่อป้องกันปลาหนี เพื่อป้องกันการพังทลายของดินบ่อ คันบ่อต้องมีส่วนลาดเอียงอย่างน้อย 1 : 2(ด้านใน) ด้านนอกควรลาดเอียง 1: 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของดินด้วย ถ้าไม่ใช่ดินเหนียว ความลาดเอียงของดินบ่อควรมากกว่านี้ ความกว้างของสันดินบ่อกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ถ้ากว้างกว่านี้จะสะดวกต่อการทำงานมากขึ้น 

ผู้เลี้ยงปลาส่วนใหญ่มักไม่เพาะลูกปลาเอง จึงต้องลำเลียงปลามาจากฟาร์มเพาะ ถ้าเป็นไปได้ควรลำเลียงตอนกลางคืน เพราะอากาศไม่ร้อน ถ้าขนส่งโดยรถปรับอากาศก็ยิ่งดี

การปล่อยลูกปลา ควรปล่อยในตอนเช้าเมื่อเริ่มมีแดด เพราะน้ำจะยังไม่ร้อน และในบ่อเริ่มมีออกซิเจน ตอนเย็นสามารถปล่อยได้ เมื่อน้ำเริ่มเย็นลงไปจนถึงตอนดึก แต่ไม่ควรปล่อยระหว่างเที่ยงคืนถึงเช้า เพราะตอนนั้นเป็นช่วงที่ออกซิเจนต่ำที่สุด

ก่อนปล่อยลูกปลา ควรนำถุงลูกปลาไปลอยไว้ในบ่อที่จะปล่อยอย่างน้อย 20 นาที ก่อนปล่อยควรใช้มือทดสอบดูก่อนว่าอุณหภูมิของน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเท่ากันแล้วหรือยัง จากนั้นเปิดให้น้ำบ่อเข้าไปในถุงครึ่งต่อครึ่ง ปล่อยให้ลูกปลาปรับตัวสักอึดใจ แล้วรวบปากถุงจุ่มลงในบ่อแล้วจึงยกก้นถุงขึ้น อย่ายกถึงขึ้นเทเหนือน้ำ เพราะลูกปลาจะติดค้างอยู่ในถุง

อาหารนับเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงปลาดุกประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าอาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงหากมีสารอาหารต่างๆ ครบถ้วนและมีปริมาณเพียงพอ จะส่งผลให้ปลามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคต่างๆ อาหารที่ใช้เลี้ยงต้องมีสารอาหารครบถ้วนปริมาณเพียงพอ และจะต้องมีความสมดุลกันระหว่างสารอาหารแต่ละชนิดด้วย

 

ปลาดุกเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งเนื้อและผัก ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นพวกได้ดังนี้

1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลาและเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมตามแต่จะหามาได้ หรือเครื่องใน เช่น เครื่องในวัว ไก่ และสุกร ตลอดจนเลือดสัตว์และพวกแมลงต่างๆ เช่น ปลวก หนอน ตัวไหม และไส้เดือน เป็นต้น

2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด แป้งมัน เป็นตัน และผักต่างๆนอกจากนี้เพื่อเป็นการเพิ่มอาหารให้กับปลา ผู้เลี้ยงอาจจะใส่มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ สุกร แพะ ฯลฯ โดยสร้างคอกเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ใกล้กับบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งมูลสัตว์เหล่านี้จะเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ปลาดุกเป็นอย่างดี

 

โดยทั่วไปแล้วปลาดุกชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารประเภทพืชและแป้ง แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวจะทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน เช่น อาจทำให้ตัวอ้วนสั้น มีไขมันมากเกินไป ดังนั้นเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้สัดส่วนและน้ำหนักดี ควรจะให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารประเภทผักและแป้ง

 

ลักษณะของอาหาร

อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุกในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำและจมน้ำ และอาหารสด

 

1. อาหารสำเร็จรูป มีระดับโปรตีนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาที่จะให้ มีหลายยี่ห้อและราคาแตกต่างกันไป วิธีการให้อาหารสำเร็จรูปค่อนข้างง่าย เพียงแต่สาดอาหารลงในบ่อเลี้ยงให้ปลากินก็เสร็จแล้ว แต่การเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปนั้นจะต้องพิจารณาจากความคงทนในน้ำ ควรอยู่ในน้ำได้นานไม่ต่ำกว่า 15 นาที ส่วนประกอบของอาหารควรละเอียด มิฉะนั้นจะย่อยยาก และราคาต้องเหมาะสมด้วย

 

2. อาหารสด ได้แก่ ไส้ไก่ ไส้ปลา ปลาเป็ด หรือเศษอาหารจากโรงงาน อาหารเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ราคาถูก ควรนำมาใช้เสริมให้แก่ปลาด้วย ก่อนนำมาใช้ควรบดให้ละเอียดและผสมรำ การให้อาหารควรให้กินเป็นที่ และควรให้ที่เดิมทุกครั้ง อย่าสาดทั่วบ่อ เพราะจะทำให้น้ำเสียได้ง่ายขึ้น ติดโรคได้ง่าย การถ่ายน้ำบ่อยครั้งจะทำให้ปลาโตเร็วขึ้น เพราะการที่ปลาได้น้ำใหม่บ่อยๆ ทำให้ปลามีความกระปรี้กระเปร่าและกินอาหารได้มาก

 

เมื่อเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งน้ำในบ่อจะมีคุณภาพเสื่อมลง เนื่องจากสิ่งขับถ่ายออกมาจากตัวปลาและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในบ่อ จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำโดยระบายน้ำออกประมาณ 3/4 ของน้ำในบ่อ และเติมน้ำใหม่เข้ามาแทนที่ จำนวนครั้งของการถ่ายน้ำออกจากบ่อขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ให้ หากกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสมให้ปลากินได้หมด การถ่ายเทน้ำจะมีจำนวนน้อยครั้ง ทั้งนี้ต้องสังเกตการกินอาหารของปลาประกอบไปด้วย หากปลากินอาหารน้อยลงจากปกติหรือมีอาหารเหลือลอยอยู่ในบ่อมาก ก็ถึงเวลาที่จะต้องถ่ายเทน้ำเพื่อช่วยปลาไม่ให้ตาย เนื่องจากน้ำเสีย หรือในบ่อมีกลิ่นมาก สีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าวต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที หากจำเป็นไม่อาจถ่ายเทน้ำได้ในช่วงนี้ ต้องใช้เกลือแกงในอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร สาดไปทั่วบ่อหลังจากนั้น 3-4 วันจึงเปลี่ยนน้ำใหม่ โดยปกติแล้วการถ่ายเทน้ำในบ่อ เมื่อปลายังมีขนาดเล็กจะมีการถ่ายเทน้อยครั้ง และเมื่อปลาโตขึ้นจำนวนครั้งการถ่ายน้ำในแต่ละเดือนจะมีมากขึ้นตามไปด้วย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา