ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงผึ้งโพรง

โดย : นายจรูญ มีคล้าย วันที่ : 2017-04-22-18:29:21

ที่อยู่ : 58/3 หมู่ 13 ตำบลเสาเภา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากในชุมชนมีสวนผลไม้ และสวนปาล์น้ำมันเป็นจำนวนมาก และจะมีผึ้งโพรง ไปทำรังแถวต้นไม้ หรือบ้านเรือนอยู่เสมอ  และมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมการเลี้ยงผึ้งโพรง จากนายไพรัช  เชาวลิต  ซึ่งเป็นประธานกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ม.5 ตำบลเสาเภา 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริมของครัวเรือน และชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. กระป๋องรมควัน 

2. หมวกคลุมศีรษะ 

3. มีด 

4. คอนผึ้ง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ทั้งหมด ๔ อัน ทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยม 

5. กล่องเลี้ยงผึ้ง ทำด้วยแผ่นไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีความยาว ๕๐ ซม. ความกว้าง ๔๑ ซม. ความสูง ๒๔ ซม. 

6. แผ่นฐานรวงคือ แผ่นไขผึ้ง ที่ถูกพิมพ์ให้เป็นรอยตารางทั้งหกเหลี่ยม ทั้งสองหน้า นำมาตรึงตรงกลางของคอน เพื่อที่จะให้ผึ้งงานสร้างหลอดรวง 

7.อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ค้อน ตะปู เลื่อย ลวด มีด ฯลฯ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำรังงผึ้ง

รังเลี้ยงผึ้ง หรือคอน ทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด 27x45x21 ซ.ม. ที่เกาะรวงผึ้งประกอบด้วย ไม้รูปสี่เหลี่ยม ขนาด 21x24x3 ซ.ม. ภายในขึงด้วยลวด 4-5 เส้น

การเลือกสถานที่วางรังผึ้ง

การเลือกสถานที่สำหรับตั้งรัง ควรจะอยู่ในที่ที่ร่มรื่น แสงสว่างสาดส่องรำไร อาจเป็นใต้ต้นไม้ก็ได้ ลมพัดไม่แรง มีแหล่งน้ำสะอาดอยู่ใกล้ ๆ มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ได้แก่ ดอกไม้ผลต่าง ๆ ดอกไม้ป่า ดอกวัชพืช และดอกพืชไร่ต่าง ๆ บริเวณที่ตั้งรังผึ้ง จะต้องไม่อยู่บริเวณที่มีการเปิดแสงไฟตลอดคืน เพราะจะทำให้ผึ้งออกมาเล่นแสงไฟ เป็นเหตุให้ผึ้งไม่ได้รับการพักผ่อน และมีอายุสั้น

การเลี้ยงผึ้งโดยธรรมชาติ
โดยการทำรังล่อไปวางไว้ในแหล่งที่มีผึ้งและเป็นที่ร่มรื่นใกล้แหล่งอาหาร ด้วยการปักเสาหลักสูงประมาณ 1 เมตร เพื่อวางรังล่อโดยทาฝารังด้านในด้วยไขผึ้ง หรือที่เรียกว่าเสน่ห์ผึ้งหลังจากมีผึ้งเข้ามาอาศัย จึงเคลื่อนย้ายไปยังลานเลี้ยงต่อไป

 

ข้อพึงระวัง ->

๑. สภาพความแข็งแรงของรัง ที่ใช้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อน ที่จะผลิตผึ้งนางพญา ถ้าหากมีความแข็งแรง และอุดมสมบูรณ์มาก อัตราการอยู่รอดสูงกว่ารังที่ไม่ค่อยแข็งแรง

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา