ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงผึ้งโพรง

โดย : นายไกรทอง จิตอารีย์ วันที่ : 2017-04-22-17:49:58

ที่อยู่ : 48 หมู่ 14 ตำบลเสาเภา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากในตำบลเสาเภา มีกลุ่ม OTOP คือกลุ่มเลี้ยงผึั้งโพรงไทย ม.5 ตำบลเสาเภา และได้เข้ารับการเรียนรู้การเลี้ยงฝึ้งโพรงตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2559 เนื่องจากในชุมชนมีสวนปาล์มและสวนผลไม้ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับผึ้งเพียงพอ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อประกอบเป็นอาชีพเสริมสำหรับครอบครัว และชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
-แผ่นฐานรวง
-เหล็กงัดรังผึ้ง
-กระป๋องรมควัน
-อุปกรณ์สลัดน้ำผึ้งออกจากรวง

อุปกรณ์ ->

-ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
-แผ่นฐานรวง
-เหล็กงัดรังผึ้ง
-กระป๋องรมควัน
-อุปกรณ์สลัดน้ำผึ้งออกจากรวง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำรังผึ้ง

ลังเลี้ยงผึ้ง หรือคอน ทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด 27x45x21 ซ.ม. ที่เกาะรวงผึ้งประกอบด้วย ไม้รูปสี่เหลี่ยม ขนาด 21x24x3 ซ.ม. ภายในขึงด้วยลวด 4-5 เส้น

วิธีดำเนินการ
1. สภาพพื้นที่ต้องมีแหล่งที่มีอาหารเพียงพอ เช่น สวนปาล์ม สวนมะพร้าวที่มีดอกออกตลอดปี รวมทั้งมีน้ำหวานจากไม้ผลที่ออกดอกตามฤดูกาลและจากวัชพืชต่างๆ
2. แหล่งของผึ้งที่จะนำมาเลี้ยงมาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้

-จากธรรมชาติ
โดยการทำรังล่อไปวางไว้ในแหล่งที่มีผึ้งและเป็นที่ร่มรื่นใกล้แหล่งอาหาร ด้วยการปักเสาหลักสูงประมาณ 1 เมตร เพื่อวางรังล่อโดยทาฝารังด้านในด้วยไขผึ้ง หรือที่เรียกว่าเสน่ห์ผึ้งหลังจากมีผึ้งเข้ามาอาศัย จึงเคลื่อนย้ายไปยังลานเลี้ยงต่อไป

จับผึ้งป่ามาเลี้ยง
1. จัดมาเลี้ยงในคอน โดยเลี้ยงในพื้นที่เดิม 2-3 วัน แล้วเคลื่อนย้ายไปสถานที่ต้องการใน เวลากลางคืน
2. การเพิ่มจำนวนของผึ้งในแต่ละรัง ต้องคัดเลือกนางพญาผึ้งให้มีการวางไข่ได้อย่างสม่ำเสมอมีการตัดแต่งรัง การรวมรัง และการขยายวงจรในการวางไข่
3. เพิ่มความแข็งแรงและความสมบูรณ์ให้กับรังด้วยการให้อาหารเสริมในช่วงที่ผึ้ง ขาดแคลนอาหาร บางครั้งจะต้องเคลื่อนย้ายรังไปยังแหล่งที่มีอาหารสมบูรณ์ เช่น สวนมะพร้าวหรือผลไม้ที่กำลังออกดอก
4. การเก็บน้ำผึ้งจากคอน ให้สังเกตดูที่ส่วนบนของคอน ถ้าพบว่ามีสีขาวขุ่นแสดงว่ามีน้ำผึ้งอยู่ภายใน ใช้มีดกรีดรวงผึ้งเป็นรูปตัวยูแล้วเลือกส่วนบนที่ติดกับสันคอนออก นำไปใส่ผ้ากรองที่มีถังรองรับ คอนผึ้งที่ถูกตัดน้ำ ผึ้งออก ให้นำกลับไปเลี้ยงตามเดิม หลังจากนั้นผึ้งก็จะสร้างรวงขึ้นมาใหม่ภายใน 1-2 เดือน

ข้อพึงระวัง ->

ฐานรอบ ๆ เสาของรังผึ้งควรสร้างให้มีพื้นที่สำหรับใส่น้ำเพื่อป้องกันไม่ให้มดเข้าไปในรังผึ้งได้

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา