ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การผลิตยาเส้น

โดย : นางสุพรรษา รัตนภูมิ วันที่ : 2017-03-30-09:49:43

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 99/16 หมู่ที่ 6 ตำบลตลิ่งชัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             ยาเส้นพื้นเมือง  ที่มีชื่อสียงของชุมชนกลายมาตั้งแต่ในสมัยที่อำเภอ“ท่าศาลา” ยังใช้ชื่อว่าอำเภอ”กลาย” ยากลายเป็นผลผลิตที่ใช้ในการบริโภคทั้งระดับท้องถิ่นและส่งขายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  จิตตนา  หนูณะ  กล่าวว่า  ไม่มีหลักฐานที่ระบุแน่ชัดว่ายาเส้นเป็นพันธุ์ยาสูบที่มาจากไหน  หรือใครเป็นผู้นำมาปลูกเป็นคนแรก  อย่างไรก็ตามยากลายก็มีความสำคัญในฐานะพืชเศรษฐกิจของเมืองนครศรีธรรมราช  ในเอกสารที่พูดถึงการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้  การรวบรวมเมืองนครศรีธรรมราช  พัทลุง  สงขลา  เข้ามาอยู่ในมณฑลเดียวกัน เป็นมณฑลนครศรีธรรมราช  ในปี พ.ศ. 2439  ได้ระบุถึงยาสูบว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของนครศรีธรรมราช  “การค้าทางเรือเจริญขึ้น  ทำให้ท่าเรือต่าง ๆ คึกคักไปด้วยการค้า  สินค้าส่วนใหญ่เป็นของพื้นเมืองที่มีการแปรรูปโดยกรรมวิธีต่าง ๆ เป็นต้นว่ารังนก กุ้งแห้ง ผ้าพื้น สุกร ดีบุก หนัง เขาสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา  และสัมตรังกานู จากสงขลาและข้าวเปลือก ข้าวสาร  ไต้  ชัน  ยาสูบ  คราม  ดีบุก  และเรือมาจากนครศรีธรรมราช

วัตถุประสงค์ ->

เป็นพืชเศรษฐกิจของตำบลตลิ่งชัน  เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะในการปลูกต้นยาสูบ  การดูแลและขั้นตอนการผลิตทำให้มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์  มีราคาที่สูงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร นอกเหนือจากการทำสวน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.      พันธุ์ยาสูบ
2.      แผงตากยา  
3.      การฝานใบยาสูบ 
อุปกรณ์ในการฝานใบยาสูบ

  •  เขอ
  •  มีด
  •  ม้า (ม้านั่ง
  •  หินลับมีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.การบ่มใบยาสูบ  เมื่อต้านยาโตเต็มที่   สามารถเก็บใบยาสูบมาแปรรูปเป็นยาเส้นได้ ก็เริ่มเก็บใบยาสูบจากใบตีนยา – กลางยา – ยอดยา  มาบ่มสถานที่ที่บ่มใยบาสูบจะต้องบ่มบนฟาก  ด้านล่างอากาศต้องระบายได้ดี(ไม่อับ) ด้านข้างต้องทึบ จัดใบยาสูบให้มีลักษณะเหมือนร่องมัน บ่มไว้ 4-5 คืน สามารถนำไปฝานเป็นยาเส้นได้

2.การฝานใบยาสูบ  อุปกรณ์ในการฝานใบยาสูบ

ขั้นตอนในการฝานยา

    - การรูดใบยาสูบ เป็นการนำใบยาสูบที่บ่มแล้วมาดึงก้านใบออก

    - การม้วนใบยาสูบ  มีสองวิธีที่นิยมใช้  ได้แก่ ฝานแบบอุ้มส้น (ใช้มาแต่โบราณ)จะได้เส้นสวย เส้นนุ่มเสมอกัน และในปัจจุบันนิยมฝานแบบจับส้น ส่วนแบบด้ามแปะด้วยไม้ไผ่ไม่นิยมใช้

3.การตากเส้นยาสูบ

          อุปกรณ์ที่ใช้ในการตากเส้นยาสูบ ได้แก่ แผงไม้ไผ่ และราวตาก

          3.1 การตากแดด (แสงอาทิตย์)

               เมื่อฝานใบยาสูบเป็นเส้นแล้วก็จะตากเส้นใบยาสูบบนแผงตาก  โดยกระจายเส้นยาสูบให้บางเสมอกัน  ให้ได้แผงละ 2 ผับๆละ 100 กรัม เมื่อจัดบนแผงตากเสร็จแล้วนำไปวางตากแดดแล้วพลิกด้านล่างไว้ด้านบน เพื่อให้เส้นแห้งสนิทเสมอกัน

          3.2 การตากน้ำค้าง

               เมื่อตากแดด(แสงอาทิตย์)นุ่มไม่กรอบ   จนเส้นยาแห้งดีแล้ว  ในช่วงค่ำหรือช่วงใกล้สว่าง  จะเอาเส้นยาสูบที่แห้งสนิทแล้วมาตากน้ำค้างเพื่อให้เส้นยาสูบนุ่มไม่มกรอบ  หลังตากน้ำค้างประมาณ 1 ชั่วโมง ก็พับเส้นยาสูบเก็บในถุงพลาสติก รอจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา