ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การสานแห

โดย : นายโกศล เพ็ญพงศ์ วันที่ : 2017-03-29-16:16:43

ที่อยู่ : 2. บ้านเลขที่ 50/1 หมู่ที่ 8 ตำบลท่าขึ้น

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

      สำหรับชาวบ้านตามชนบทแล้ว  แหคือเครื่องมือหาอาหารเพื่อการยังชีพ และหารายได้ ตราบใดที่แหล่งน้ำธรรมราชาติยังมีอยู่  นั้นหมายถึงที่นั้นย่อมมีปลาและอาหารธรรมชาติ ดังนั้นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับแหยังคงโยงใยกับชีวิตชาวบ้านของชนบท ทุกภาคตลอดไป เพราะวิถีชีวิตได้ถูกกำหนดและถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน แม้วัฒนธรรมหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป แต่แหยังผูกพันกับชาวบ้านในชนบท 

วัตถุประสงค์ ->

     ใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำ  เพื่อใช้จับปลามาประกอบอาหารและขายเพื่อสร้างรายได้

           ซึ่งการสานแหเป็นทักษะที่ถ่ายทอดให้กับผู้ที่สนใจ นำไปจับสัตว์น้ำหรือนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจอาชีพนี้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

         1.เอ็นสานแห

         2. ลูกแห

อุปกรณ์ ->

          

          1. ชนุน (กิม มีลักษณะเป็นไม่ไผ่แบนหนาประมาณ)

          2. ไม่ไผ่ หรือ ปาน (มีลักษณะการเหลาไม้ไผ่คล้าย

ไม้บรรทัดยาว 5-6 นิ้ว หนาประมาณ2-3 มิลลิเมตร

ความกว้างขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ)

          3. กรรไกร

          

กระบวนการ/ขั้นตอน->

            เริ่มทำการถักที่จับแหส่วนบน (เรียกว่าจอมแห เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานแห) และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง บางทีแขวนด้วยตะปูตามฝาผนังบ้าน ผนังข้างบ้าน หรือต้นเสากลางบ้านตามความเหมาะสม หรือความสะดวกของคนที่ต้องการสาน
วิธีการก่อจอมแห
       1. ตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอมเล็กจอมใหญ่ เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น

      2. ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปลายทั้งสองข้างประมาณข้างละ3ซม. วิธีถักคล้องดูตามรูป

      3. พับครึ่งจัดให้เท่าๆกันแล้วมัดไว้ให้แน่น

      4.  ถักเพิ่มเพื่อแยกตาแหให้เรียงรอบจอม ทั้งหมด16ตา

       ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อย ๆ ตามความยาวของขนาดแห
    

      1. ใช้ปาน(ไม่ไผ่)สอดเทียบกับตาแห           

      2. จากนั้นก็ขึงด้ายสานแหไว้

      3. ใช้ปลายกิมหรือชนุนเสยด้ายสานแหขึ้น                 

      4. จากนั้นก็ตวัดลงข้างล่างซึ่งจะเห็นเป็นห่วงแบบนี้          

      5. ใช้ปลายกิมเกี่ยวตาบนของตาแห

      6. จากนั้นก็ใช้ปลายกิมเกี่ยวเส้นด้ายสานแหผ่ากลางห่วง

      7. แล้วก็ดึงให้รอดออกไป

      8. ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขึงไว้แล้วก็ทำแบบนั้นเดิมไปเรื่อย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา