ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การผลิตมังคุดนอกฤดูกาล

โดย : นายเลื่อน พรมวี วันที่ : 2017-03-28-16:30:33

ที่อยู่ : 16 หมู่ที่ 9 ตำบลสระเเก้ว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มังคุด เป็นพืชเศรษฐกิจภายในพื้นที่และค่อนข้างจะปลูกเป็นส่วนมาก ดังนั้นการที่มีการผลิตมังคุดนอกฤดูกาลจึงเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นและราคาสูงขึ้นตามปัจจัยที่ตลาดต้องการมากกว่าผลผลิตมังคุดตามฤดูกาลที่ปกติ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อส่งเสริมรายได้และอาชีพแก่บุคคลในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.ปุ๋ยเร่ง สูตร 8-24-24 / 9-24-24 / 12-24-12 ต้นละ 1 กิโลกรัม

2.กรรไกรตัดแต่ง

3.ไม้กวาดใบไม้หรือหญ้า

4.ปล้อง

5.เครื่องฉีดพ่น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิตมังคุดนอกฤดู

ขั้นตอนที่ 1 : ตัดแต่งกิ่ง(เดือนกุมภาพันธ์) – การเตรียมต้นมังคุดให้พร้อมในการออกดอกมีวิธีการ ดังนี้

1.      สังเกตดูใบของมังคุดจะต้องมีใบกว้างและหนาอยอู่ในระยะเพสลาดแก่

2.      กวาดหญ้าบริเวณใต้ทรงพุ่มออกไว้นอกบริเวณทรงพุ่ม

3.      ตัดแต่งกิ่งน้ำค้างภายในทรงพุ่มและปลายกิ่งให้สูงจากพื้นดิน 1.50 ถึง 2.00 เมตร

4.      เปิดยอดสุดออกเพื่อให้แสงเข้าภายในทรงพุ่มได้ ซึ่งจะทำให้ต้นมีความแข็งแรง ผลผลิตออกมามีผิวลายน้อย ผลผลิตจะโตกว่าต้นที่ไม่เปิดยอด แลมังคุดจะออกดอกก่อน

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ 2 : เปิดตาออก(เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม) –ตรวจดูความพร้อมของต้นและใบมังคุดว่ามีความพร้อมที่จะออกดอกหรือไม่ ซึ่งมังคุดต้นที่พร้อมจะออกดอกจะต้องมีลักษณะ ดังนี้

1.      ใบมังคุดใบหนาและเขียวกว้าง

2.      สีใบเหมือนกันทั่วต้นและมีปลายใบเหลือง

3.      ให้น้ำติดต่อกัน 3 วัน จึงใส่ปุ๋ย

4.      กวาดใบออกแล้วใส่ปุ๋ยเร่ง สูตร 8-24-24 / 9-24-24 / 12-24-12 ต้นละ 1 กิโลกรัม

5.      ให้ปุ๋ยทางใบ โดยการฉีดพ่นทุก 7-15 วัน / ครั้ง ให้ชุ่มทั้งรอบทรงพุ่ม

ขั้นตอนที่ 3 : บำรุงดอกและลูก ป้องกันเพลี้ยไฟไรแดง – ให้ตรวจดูต้นมังคุด ถ้าต้นพร้อมออกดอก            จะมีลักษณะ ดังนี้

1.      งดน้ำและปุ๋ย

2.      ใบร่วงใต้โคนถึง 70 เปอร์เซ็นต์ หรือยัง

3.      กิ่งมังคุดเหี่ยวถึงปล้องที่ 2 หรือยัง

4.      เมื่อปล้องที่ 2 เหี่ยวมองเห็นชัดเจนแล้ว ให้เราให้น้ำ 50 เปอร์เซ็นต์

5.      สังเกตการณ์แตกตาดอกว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ถ้าไม่ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ ให้เรางดน้ำต่อไปอีก

6.      เมื่อดอกออกถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ให้เราให้น้ำสม่ำเสมอ วันเว้น

7.      ให้เราสังเกตดูว่าดอกที่ออกมาว่ามียางหรือไม่ ถ้ายางออกรอบต้นเกิน 10 ดอก ให้เราใช้ยาเลย

8.      ให้สังเกตลูกหากลูกมีขนาดเท่ากับด้ามของมีดพร้า ให้ใส่ปุ๋ยบำรุง สูตร 13-13-21

สรุปตารางการผลิตมังคุดนอกฤดู

1.      เดือนธันวาคม-เดือนมกราคม เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิตนอกฤดู

2.      เดือนกุมภาพันธ์ ให้เราตัดต่อกิ่งของมังคุดใส่ปุ๋ยและให้น้ำมากประมาณ 60 % โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพควบคู่กับปุ๋ยเคมีที่มีเลขตัวหนาสูง เพื่อเร่งใบชุดที่ 1 ชักนำให้แตกใบอ่อนหลังเก็บเกี่ยว 2 อาทิตย์

3.      เดือนมีนาคม ให้ฉีดยาป้องกันหนอนกัดกินใบและเพลี้ยไฟไรแดง

4.      เดือนเมษายน ใบชุดที่ 2 มีลักษณะเป็นเพสลาด ในช่วงนี้ให้น้ำ ใส่ปุ๋ยเร่ง นับเวลาหลังเก็บเกี่ยว 14-16 สัปดาห์ หรือ 100 วันนั่นเอง จากนั้นให้งดน้ำ 9 สัปดาห์หรือ 2 เดือนครึ่ง

5.      เดือนมิถุนายน เมื่อเรางดให้น้ำ 9 สัปดาห์ จะสังเกตเห็นลักษณะของมังคุดที่แล้งน้ำจนกิ่งมังคุด   ปล้องที่ 2 เหี่ยว ถ้าจะเห็นให้ชัดเจนให้ดูที่ใบปลายสุดมีอาการปลายใบตก แล้วให้น้ำครั้งแรก ประมาณ 30-40 มิลลิเมตร พร้อมกับฉีดพ่นปุ๋ยเร่งให้ชุ่มทั้งต้น ถ้าหากมังคุดยังไม่ออกดอกให้น้ำอีกครั้ง ห่าง 7-10 วัน จำนวนน้ำที่ให้ประมาณ 17.5-20 มิลลิลิตร

6.      เดือนกรกฎาคมมังคุดจะออกดอก

7.      ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายนให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

8.      ประมาณต้นเดือนกันยายนใส่ปุ๋ยสูตรเสมอเพื่อบำรุงต้นและผล

9.      เดือนกันยายนให้ใส่ปุ๋ยที่มีตัวเลขหลังสูงเช่น 13-13-21 เพื่อบำรุงผลมังคุด

10.  เมื่อเข้าเดือนธันวาคม มกราคม ก็สามารถเก็บเกี่ยวมังคุดขายได้ ซึ่งรวมระยะเวลาตั้งแต่มังคุดเริ่มออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวัง

สำหรับการใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องวัดรอบทรงพุ่มของมังคุดด้วย คือถ้าทรงพุ่มมีขนาด 3 เมตร ให้เราใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม หรือเทียบได้คือ 3 : 1 ให้หว่านรอบทรงพุ่มห่างจากต้น 1 เมตร

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา