ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลูกมะนาวในปล้องบ่อ

โดย : นายสงบ เสนาคง วันที่ : 2017-03-23-13:12:41

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 17/1 หมู่ที่ 2 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผมได้ไปศึกษาดูงานในพื้นที่ตำบลท่าศาลา ในเรื่องการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ให้มีขนาดทรงพุ่มเท่ากับการปลูกใน แปลงดิน พบว่าได้ผลเป็นอย่างดี ใช้พื้นที่น้อยและง่ายต่อการงดน้ำเพื่อบังคับให้ออกลูกนอกฤดู

 ดูและไม่ยาก ป้องกันโรคระบาดได้ง่าย ผมจึงได้นำมาปลูกทำให้ได้รับผลดีมาก จึงได้บอกต่อกับคนอื่น 

วัตถุประสงค์ ->

1. สามารถบังคับให้มะนาวออกลูกนอกฤดูหรือตลอดทั้งปีได้ง่าย
2. ไม่เปลืองแรงงานหรือเกิดค่าใช้จ่ายในการเตรียมแปลงหรือปรับพื้นที่
3. ง่ายต่อการดูแล และการให้น้ำมีประสิทธิภาพ
4. ป้องกันโรคบางชนิดได้ง่ายจากสภาพดินที่ไม่เหมาะสม
5. เหมาะสำหรับการปลูกไว้รับประทานเองหรือเพื่อส่งจำหน่าย
6. สามารถใช้เป็นไม้ประดับได้อีกทาง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. บ่อซีเมนต์
บ่อซีเมนต์ที่ขายในท้องตลาดมีหลายขนาด ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 80-120 เซนติเมตร สูง 40-60 เซนติเมตร แต่ที่

นิยมคือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร สูง 40-50 เซนติเมตร พร้อมฝาปิดบ่อ ทั้งนี้ อาจไม่ต้องใช้ฝาปิดบ่อก็ได้หากพื้นที่มีสภาพหน้าดินแน่น และแห้ง สามารถระบายน้ำดี

2. ดิน
เนื่องจากดินที่ใช้มีปริมาณมากกว่าการปลูกมะนาวในกระถาง อัตราส่วนการผสมจึงอาจแตกต่างกันได้ตามงบประมาณการลงทุน โดยใช้ดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายผสมกับมูลสัตว์ แกลบหรือผสมวัสดุอื่น เช่น ขี้เถ้า กากมะพร้าว เป็นต้น ในอัตราส่วนดินต่อวัสดุอื่น 2:1 หรือ 3:1 พร้อมผสมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปริมาณ 10 กิโลกรัม/ดิน 1 คิว

3. กิ่งพันธุ์มะนาวตอน

4. ไม้ไผ่ และเชือกฟาง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. จัดวางฝาปิดบ่อซีเมนต์ในระยะห่างระหว่างแถว และระหว่างต้นในระยะ 2-4 x 2-4 เมตร พร้อมนำบ่อซีเมนต์วางทับด้านบน 1 ไร่ จะได้ประมาณ 100-400 ต้น ตามระยะที่ใช้
2. นำดินที่ผสมแล้วใส่ในกระถาง ให้ระดับดินต่ำกว่าขอบบ่อประมาณ 10 เซนติเมตร ให้ใส่ดินประมาณ 2 ใน 3 ของบ่อ แล้วนำต้นมะนาวลงบ่อ แล้วจึงใส่ดินกลบทีหลังหรืออาจใส่ดินให้ได้ระดับก่อนค่อยขุดหลุมปลูกทีหลังก็ได้ โดยนำถุงพลาสติกหรือกระถางออกก่อนปลูกทุกครั้ง หลังจากนั้นกลบหน้าดินใหแน่นพอประมาณ พร้อมนำวัสดุอินทรีย์โรยกลบปากบ่อ เช่น แกลบ ขี้เถ้า ขุยมะพร้าว เศษใบไม้ ปุ๋ยหมัก และมูลโค เป็นต้น ทั้งนี้ ให้หลีกเลี่ยงการใส่ขี้เถ้าจำนวนมาก เนื่องจากขี้เถ้ามีสารอนินทรีย์ที่เป็นแร่มาก เมื่อละลายน้ำจะให้กรด อาจทำให้รากมะนาว และต้นมะนาวเหี่ยวตายได้ หรือดินมีสภาพเป็นกรดมาก
3. สำหรับต้นมะนาวขนาดเล็กให้ใช้ไม้ไผ่ปักข้างลำต้น พร้อมผูกเชือกรั้งให้ลำต้นตรง ส่วนต้นมะนาวขนาดใหญ่ไม่ต้องรั้งต้นด้วยไม้ก็ได้ หากแต่ต้นมีกิ่งสาขาแผ่กว้างให้ใช้ไม้ไผ่ปักค้ำทั้ง 4 ด้าน
4. เมื่อปลูกเสร็จให้รดน้ำให้ชุ่ม โดยสังเกตน้ำที่ซึมออกบนฝารองด้านล่าง และนำฟางข้าว แกลบหรือเศษใบไม้มากลบบริเวณโคนต้น และปากบ่อทั้งหมด เพื่อรักษาความชุ่มชื้นหน้าดิน

ข้อพึงระวัง ->

 โรคแคงเกอร์
โรคนี้สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าทำลายได้ทั้งใบอ่อน กิ่ง และผลมะนาว ทำให้เกิดเป็นแผลตกสะเก็ดนูนสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ ทั้งใบ กิ่งและผล

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา