ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปลาส้ม

โดย : นางบัวสา ทองทนงค์ วันที่ : 2017-03-19-16:48:50

ที่อยู่ : 92 หมู่ที่ 4 ตำบลสามเมือง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำปลาส้มเป็นภูมิปัญญาของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ซึ่งคนสมัยก่อนทำเพื่อเก็บไว้บริโภคในยามที่ขาดแคน หรือเพื่อยืดอายุการเก็บอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน ดิฉันได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อ แม่ ซึ่งในสมัยก่อนซึ่งมีปลาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาก บริโภคครั้งเดียวไม่หมด ที่เหลือจากการบริโภคสดก็นำมาแปรรูป และถือเป็นภูมิปัญญาที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาช้านาน ปัจจุบันมีการเลี้ยงปลามากขึ้น และปลาส้มเป็นอาหารที่นิยมรับประทานทั้งในภาคอีสาน และภาคอื่นๆและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น มีความหลากหลาย ทั้งวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสม มีคุณประโยชนที่หลากหลาย มีรสชาติที่อร่อย ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า หรือทอดนำไปบริโภคได้เลย

วัตถุประสงค์ ->

๑. สนับสนุนเป็นอาชีพเสริมแก่กลุ่ม/องค์กรและประชาชนผู้สนใจ

๒. ส่งเสริมการถนอมอาหารไว้รับประทานในครัวเรือน

๓. เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ปลาตะเพียน 10 กิโลกรัม
2. เกลือป่น 5 กำมือ
3. เกลือเสริมไอโอดีน 1 ขีด
4. ข้าวสุก 3.5 กิโลกรัม
5. แป้งข้าวเจ้า 0.5 กิโลกรัม
6. น้ำสะอาด

อุปกรณ์ ->

1.กะละมัง

          2.ถังทรงสูง หรือขวดโหล

          3.ถุงพลาสติกเพื่อบรรจุ

          4.กะละมังพลาสติก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.นำปลามาล้างให้สะอาด ตัดครีบ ควักไส้ออกให้หมด
2. ใช้แปรงสีฟันล้างในท้องปลาให้สะอาด เอาเลือดปลาออกให้หมด
3. ผสมแป้งข้าวเจ้า 250 กรัม  กับน้ำ 1 กะละมัง นำไป ล้างปลาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขจัดกลิ่นคาว
4. นำปลาที่ล้างสะอาดแล้วหมักกับเกลือป่น 4 กำมือ ใช้เวลาหมัก 1 ชั่วโมง
5. หลังจากนั้น ล้างปลาด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง และล้างด้วยแป้งข้าวเจ้า ผสมน้ำอีก 1 ครั้ง (อัตราส่วน แป้ง 250 กรัม ต่อ  น้ำ 1 กะละมัง)
6. นำเกลือป่น 1 กำมือ ข้าวสุก เกลือเสริมไอโอดีนและกระเทียมบด ผสมให้เข้ากัน แบ่งสักเล็กน้อยคลุกเคล้ากับปลาที่ล้างแล้ว ส่วนที่เหลือนำไปใส่ในท้องปลาแต่ละตัวให้เต็มท้อง
7. นำปลาไปหมักไว้ในถังที่มีฝาปิด ทิ้งไว้ 3-4 วัน
8. ตักใส่ถุงพลาสติกขาย  นำไปทอดเพื่อบริโภคหรือจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

ปลาตะเพียน ต้องล้างให้ความสะอาด ผ่าท้องควักไส้ ขอดเกล็ดออกให้หมด แล้วล้างท้องให้สะอาด ถ้าไม่สะอาดจะมีกลิ่นโคลน หรือกลิ่่นหัวอาหารที่ปลากิน ไม่นา่รับประทาน

เมื่อล้างสะอาดเรียบร้อยแล้ว ให้บั้งตามยาวของตัวปลา ประมาณ 3 ขีดค่ะ หรือบั้งถี่ๆตามแนวขวางตัวปลาก็ได้ แล้วใช้มีดหรือสาก ทุบตัวปลาให้อ่อน แล้วนำเกลือมาทาให้ทั่วตัวปลา ใส่เกลือเข้าไปในท้องปลาและในเหงือกของปลาที่เราทุบจนอ่อนแล้ว หาถาดหรือฝาหม้อมาปิด หมักไว้ 1 คืน เพื่อให้เนื้อปลานุ่ม เข้ากับเครื่องปรุง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา